Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1536
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Sukhontip Norasan | en |
dc.contributor | สุคนธ์ทิพย์ นรสาร | th |
dc.contributor.advisor | Choosak Nithikathkul | en |
dc.contributor.advisor | ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Medicine | en |
dc.date.accessioned | 2022-03-24T14:52:51Z | - |
dc.date.available | 2022-03-24T14:52:51Z | - |
dc.date.issued | 8/12/2021 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1536 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | This research and development used an integrated research model to develop a long-term care model for the prevention and control of helminth infections in the elderly with dependency in Sisaket Province. There were three research phases. Phase I was an analytical research to determine the prevalence and factors associated with helminth infection in the elderly with dependency. The sample consisted of 293 dependent elderly people in Sisaket Province. The data were collected using a questionnaire created by the researcher between January 2020 and February 2020. The data were analyzed using stepwise multiple regression analysis. Phase II was the development of a long-term care model for the prevention and control of helminth infections in dependent elderly, Silalad District, Sisaket Province through three cycles of Quality Management Process (PAOR), each cycle consisting of four steps: planning, action, observation, and reflection. The duration of the process was 36 weeks. The samples were 70 representatives from organizations, agencies, local people, and other stakeholdersin Silalat District Sisaket Province. The data were analyzed by collecting, categorizing, and analyzing the content. Phase III was a quasi-experimental research studying the effects of the developed model. The sample groups consisted of 69 persons for the experimental group in Silalad district and 79 persons for the comparison group in Rasi Salai district. The data were analyzed to compare the mean difference of scores within the group using paired t-test statistics and the mean difference of scores between groups using independent t-test at significance level of 0.05. - The results showed four variables related to helminth prevention behaviors among dependent elderly in Sisaket Province: knowledge factors, perception of benefit, social support, and self-efficacy with the variation of 16.23% (R2=0.1623) in helminth prevention behaviors The behavior modification model for helminth disease prevention and control among dependent elderly in Sisaket province was SISAKET model _6s consisting of 1) social & value 2) service system 3) structure and policy 4) social support 5) sanitation and 6) sustainable. After using the developed model, it was found that average knowledge score, social support, recognizing the benefits of the practice, perception of self-efficacy, satisfaction in being care, and preventive behaviors of helminths were statistically significantly higher than before the experiment at 0.05 level. Therefore, the developed model can be used to modify health behaviors to prevent helminthiasis in the elderly with dependency conditions. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยและพัฒนานี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลระยะยาวในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดศรีสะเกษ มีขั้นตอนการวิจัย 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงวิเคราะห์เพื่อหาความชุกและปัจจัยซึ่งมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอำเภอศิลาลาด จำนวน 293 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างเดือน มกราคม 2563 ถึง เดือน กุมภาพันธ์ 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Stepwise ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการดูแลระยะยาวในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ผ่านกระบวนการจัดการคุณภาพ (PAOR) จำนวน 3 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย ขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล ระยะเวลาดำเนินการจำนวน 36 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้แทนองค์กร หน่วยงาน ประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเขตอำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ รวมทั้งสิ้น 70 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษาผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มทดลองในเขตอำเภอศิลาลาดจำนวน 69 และกลุ่มเปรียบเทียบในเขตอำเภอราษีไศลจำนวน 79 คน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ paired t-test และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดศรีสะเกษ มี 4 ตัวแปร คือ ปัจจัยด้านความรู้ การรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้ความสามารถของตนเอง โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร้อยละ 16.23 (R2=0.1623) รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและควบคุมโรคหนอนพยาธิของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดศรีสะเกษ คือ SISAKET model _6s ประกอบด้วย 1) ด้านสังคมและคุณค่า (Social& Value) 2) ด้านการจัดบริการ (Service System) 3)ด้านโครงสร้างและแนวนโยบาย (Structure and Policy) 4) การดูแลสนับสนุน (Social Support) 5) การจัดการสิ่งแวดล้อม อาหาร และสุขวิทยาส่วนบุคคล (Sanitation) และ6)ความยั่งยืนในการดำเนินงาน (Sustainable) และหลังจากการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความรู้ การสนับสนุนสังคม การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตัว การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติตัว ความพึงพอใจในการได้รับการดูแล และพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิ สูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคหนอนพยาธิในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้ตามวัตถุประสงค์ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การพัฒนารูปแบบ, การดูแลระยะยาว, โรคหนอนพยาธิ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง | th |
dc.subject | model development | en |
dc.subject | long-term care | en |
dc.subject | helminth disease | en |
dc.subject | dependency elderly | en |
dc.subject.classification | Medicine | en |
dc.title | Development of a long-term care model for the prevention and control of helminth infections in the elderly with dependency in Sisaket Province | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการดูแลระยะยาวในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดศรีสะเกษ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Medicine |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61011560005.pdf | 6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.