Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1537
Title: Health Promotion of Preventive Behavior Against Leptospirosis by Environmental Hygiene Management to Reduce Household Rodent Population Among the Population at Risk in SI SA KET Province
การสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิสโดยการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อลดประชากรหนูในครัวเรือนของประชาชนกลุ่มเสี่ยง จังหวัดศรีสะเกษ
Authors: Thawatchai Toemjai
ธวัชชัย เติมใจ
Choosak Nithikathkul
ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: พฤติกรรมการป้องกันโรค
โรคเลปโตสไปโรซิส
การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม
หนูในครัวเรือน
Preventive Health Behavior
Leptospirosis
Environmental Hygiene Management
Household Rodent
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Leptospirosis is a major public health problem worldwide, including Si Sa Ket province, Thailand. The purposes of this mixed methods research were to study the situation of leptospirosis, the factors affecting mortality of leptospirosis cases, the factors affecting leptospirosis preventive behaviors, the prevalence survey of household rodent population, and the effects of the promotion program of preventive health behavior against leptospirosis was performed by environmental hygiene management among the population at risk. The data was collected from April, 2020 to March, 2021 as both quantitative and qualitative data. The study consisted of 2 phases as follows: Phase 1, the study of situation of leptospirosis and the factors affecting mortality of leptospirosis cases. Data on human leptospirosis cases in Si Sa Ket province during 2010-2019. The factors affecting leptospirosis preventive behaviors. The subjects were aged 18-65 years of 350 respondents. Phase 2, the prevalence survey of household rodent population. A total of 100 live traps (1 live trap/household) were set randomly in household and surrounding of housing areas for 7 consecutive nights. The baited with paddy rice and banana. The effects of the promotion program of preventive health behavior against leptospirosis was performed by environmental hygiene management, based on the protection motivation theory by Rogers (1986) and the social support theory by House (1981) in two villages of Si Sa Ket province. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, and standard deviation. Factors affecting for mortality of leptospirosis cases were analyzed by Multiple Logistic Regression. Factors affecting leptospirosis preventive behaviors were analyzed by Stepwise Multiple Regression. Statistics were compared using Paired t-test, Independent t-test and Repeated Measurement. The qualitative data were analyzed by Content Analysis. The results revealed that from 2010 to 2019, Si Sa Ket province there occurred 3,988 cases of leptospirosis. Average annual incidence rate was 27.15 per 100,000 population. Phu Sing district showed the highest incidence (63.76 per 100,000 population). There were 86 deaths, with case fatality rate 2.16%. The highest incidence occurred during rainy season from August to October. Ratio of male to female cases was 2.97: 1. Most cases of leptospirosis were aged 35-54 years (45.20%), and agricultural workers (78.30%). Significant factors affecting mortality of leptospirosis cases were agricultural workers (Adjusted OR=2.51, 95% CI: 1.15-5.49) and the duration of seeking for medical care >3 days after onset (Adjusted OR=2.45, 95% CI: 1.30-4.61). Factors affecting leptospirosis preventive behaviors, the respondents had the knowledge (M=10.78, SD=1.60), perceived severity (M=2.91, SD=0.60), perceived probability (M=2.98, SD=0.64), self-efficacy expectations (M=3.18, SD=0.63), responses-efficacy expectations (M=3.16, SD=0.71), social support (M=3.19, SD=0.52), and preventive behaviors (M=3.29, SD=0.49) regarding leptospirosis were mostly shown a moderate level. Significant factors affecting leptospirosis preventive behaviors were history of leptospirosis illness (β=0.312), social support (β=0.240), perceived probability (β=0.238), household members with a history of leptospirosis illness (β=0.158), perceived severity (β=0.114), self-efficacy expectations (β=0.094) and knowledge (β=0.088) regarding leptospirosis. All of these factors could together predict the preventive behaviors against leptospirosis up to 42.8% (Adjusted R2=0.428, p=0.041). The prevalence survey of household rodent population showed that 222 rodents were trapped. The success rate of trapping was 60%. The types of rodents were Rattus rattus (32.88%), Rattus exulans (32.88%),  Rattus norvegicus (24.78%), Mus musculus (5.41%), and Bandicoot rats (4.05%). The effects of the promotion program of preventive health behavior against leptospirosis was performed by environmental hygiene management which showed that after the experiment, knowledge (p<0.001), perception (p<0.001), social support (p<0.001), and preventive behaviors against leptospirosis (p<0.001) the scores changes were significantly higher than those before the experiment and in the comparison group. The changing in household rodent population was observed lower than before the experiment and in the comparison group with statistical significance (p<0.001). The analysis of variance in the experimental and the comparison group showed that knowledge, perception and social support were different with statistical significance (p<0.05). The preventive health behavior against leptospirosis and the household rodent population in the experimental group were different with statistical significance (p<0.05), but the difference was not observed in the comparison group. The promotion of health behavior to increase perception and awareness for improving preventive health behavior against leptospirosis, including environmental hygiene management such as elimination of rodents and their breeding, and empowerment with social support are important to promote control and prevention of leptospirosis among the population at risk as well.
โรคเลปโตสไปโรซิสเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดศรีสะเกษ การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซิส ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส ความชุกของประชากรหนูในครัวเรือน และผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง จัดเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในระหว่างเดือนเมษายน 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2564 ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์โรคเลปโตสไปโรซิสและปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส การวิเคราะห์ข้อมูลจากการรวบรวมข้อมูลจำนวนผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2553-2562 และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยง อายุ 18-65 ปี จำนวน 350 คน ระยะที่ 2 การสำรวจความชุกของประชากรหนูในครัวเรือน โดยการวางกับดัก (Live Trap) ในพื้นที่บริเวณครัวเรือนที่คาดว่าหนูชุกชุมครัวเรือนละ 1 กับดัก จำนวน 100 หลังคาเรือน เป็นเวลา 7 คืนต่อเนื่องกัน เหยื่อที่ใช้ ได้แก่ ข้าวเปลือก กล้วยน้ำว้า และผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคของ Rogers (1986) ร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมของ House (1981) ในพื้นที่สองหมู่บ้านของจังหวัดศรีสะเกษ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิสโดยใช้สถิติ Multiple Logistic Regression วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิสโดยใช้สถิติ Stepwise Multiple Regression และวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Paired t-test, Independent t-test และ Repeated Measurement และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปี พ.ศ. 2553-2562 จังหวัดศรีสะเกษได้รับรายงานผู้ป่วยโรคเลปโตสไปโรซิส รวมทั้งสิ้น 3,988 ราย ค่าเฉลี่ยอัตราป่วยคือ 27.15/ประชากรแสนคน อำเภอภูสิงห์มีค่าเฉลี่ยอัตราป่วยสูงสุดคือ 63.76/ประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิตทั้งจังหวัด 86 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 2.16 โดยมีรายงานผู้ป่วยสูงสุดในฤดูฝนช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม อัตราส่วนผู้ป่วยเพศชายต่อเพศหญิงคือ 2.97:1 พบมากในกลุ่มอายุ 35-54 ปี ร้อยละ 45.2 และอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 78.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ อาชีพเกษตรกรรม (ORadj=2.51, 95% CI: 1.15-5.49) และระยะเวลาที่ผู้ป่วยมารับการรักษาหลังเริ่มแสดงอาการมากกว่า 3 วัน (ORadj=2.45, 95% CI: 1.30-4.61) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิสอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.29, SD=0.49) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ประวัติการเคยป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส (β=0.312) แรงสนับสนุนทางสังคม (β=0.240) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค (β=0.238) สมาชิกในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคเลปโตสไปโรซิส (β=0.158) การรับรู้ความรุนแรงของโรค (β=0.114) ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค (β=0.094) และความรู้เกี่ยวกับโรคเลปโตสไปโรซิส (β=0.088) โดยทั้ง 7 ปัจจัยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิสได้ร้อยละ 42.8 (Adjusted R2 = 0.428, p=0.041) การสำรวจความชุกของประชากรหนูในครัวเรือน พบว่า ดักหนูได้ทั้งหมด 60 กรง จำนวน 222 ตัว คิดเป็นค่า Percent Trap Success เท่ากับ ร้อยละ 60.0 หนูที่ดักได้เป็นหนูท้องขาวหรือหนูดำ (Rattus rattus) จำนวน 73 ตัว คิดเป็นร้อยละ 32.88 หนูจี๊ด (Rattus exulans) จำนวน 73 ตัว คิดเป็นร้อยละ 32.88 หนูบ้านหรือหนูท่อ (Rattus norvegicus) จำนวน 55 ตัว คิดเป็นร้อยละ 24.78 หนูหริ่งบ้าน (Mus musculus) จำนวน 12 ตัว คิดเป็นร้อยละ 5.41 และหนูพุก (Bandicoot rats) จำนวน 9 ตัว คิดเป็นร้อยละ 4.05 ตามลำดับ ประสิทธิผลของการทดลองใช้โปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้ การรับรู้ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคสูงกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนจำนวนประชากรหนูในครัวเรือน พบว่า น้อยกว่าก่อนการทดลองและหมู่บ้านเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ด้านผลวิเคราะห์ความแปรปรวนของคะแนนความรู้ การรับรู้ และแรงสนับสนุนทางสังคม ของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบในแต่ละช่วงการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนพฤติกรรมการป้องกันโรคและจำนวนประชากรหนูในครัวเรือน ในกลุ่มทดลอง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) แต่ในกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า ไม่แตกต่างกัน การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพโดยเพิ่มการรับรู้ ความตระหนักให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิส อีกทั้งการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อกำจัดหนูและแหล่งเพาะพันธุ์และการเสริมพลังด้วยแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรค เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการควบคุมและป้องกันโรคเลปโตสไปโรซิสของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้เป็นอย่างดี
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1537
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011562005.pdf7.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.