Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1538
Title: The Development of Prevention and Control Model of Soil Transmitted Helminthiasis at Thai-Cambodia Border School in PhuSing District, Sisaket Province, Thailand
การพัฒนารูปแบบเพื่อป้องกันและควบคุมโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดินในเด็กนักเรียนโรงเรียนชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอภูสิงห์ จังหวัศรีสะเกษ
Authors: Pacharamon Soncharoen
พชรมน สอนเจริญ
Choosak Nithikathkul
ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: การพัฒนารูปแบบ, นักเรียนชายแดน, การป้องกันและควบคุมโรค, พยาธิติดต่อผ่านดิน
Model development
Pupils in border area
Prevention and Control of disease
Soil-transmitted helminths
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research and development for mixed-method research study aimed to construct model for preventing and controlling soil-transmitted helminths among students in Thai-Cambodian border schools. The objectives were relevant to three research phases: 1) The study of the helminth infection situation and influent factors, 2) The model development, and 3) The evaluation of the model's effectiveness. In phase I, the population and sample were gained by systematic sampling size allocation. They consisted of 15.95% of parents who infected following with 300 students. 2 groups were divided under no statistical significant difference into each of the expected factors for comparison. In the second phase, the comparison group conduct the preliminary model while the experimental group did the properly constructed one. The research instruments included secondary data from the Sisaket Provincial Public Health Office's reports from 2015 to 2019, questionnaires were constructed and verified by five experts with reliability range between 0.80-0.95 among 7 related-infection factors, laboratory investigations of infection through standard simple smear method, and the formalin-ethyl acetate concentration technique (FECT),  group discussion, in-depth interview, preliminary serial activity package, and proper serial activity one under school base as derivation. The activities lasted two times in each of 16 weeks with 30-45 minutes per session. The third phase was the 2 models evaluation as comparison inside each group and between the two ones. Content analysis, descriptive statistics and multiple logistics were applied. The results were as follows; 1) The prevalence of hookworm was highest at 74% among the school children under 5 factors, related to soil-transmitted helminth disease. They were perception ordering sequential influency from maximum to minimum as expectation, severity, attitudes, knowledge, and benefits recognition. 2) The suitable model was SKEPA under 5 success conditions. It, sequentially, comprised  Severity, Knowledge, Expectation, Practice, and Attitude. The 5 simultaneous-content and time success conditions were students, teachers, health-promoting hospitals, parents/family, and community. 3) The results of the model evaluation found that between the two groups No statistically significant difference was found. (p>0.05) in all aspects of pretest scores. Both groups had scores within each group after the trial. statistically significantly higher than before the experiment (p<0.001) and after the experiment in all aspects. The score of the experimental group was statistically higher than the score of the comparison group (p<0.001). The general recommendations include social determinants of health status. Expansion into other specific contexts and recommendations for further research on parasites and the application of geographic information systems The innovation is to consider the highly predictive element as the origin and the last two in the model.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคหนอนพยาธิติดต่อทางดินในเด็กนักเรียนโรงเรียนชายแดนไทย-กัมพูชานี้ มีวัตถุประสงค์และ3 ระยะของการวิจัยที่สอดคล้องกัน คือ1)การศึกษาสถานการณ์และปัจจัยที่มีอิทธิพล 2)การพัฒนารูปแบบ3)การทดสอบประสิทธิผล ระยะที่1 กลุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มอย่างมีระบบ คือ ผู้ปกครองร้อยละ 15.95 ที่เป็นผู้ติดเชื้อ นักเรียน 300 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบและกลุ่มทดลอง ระยะที่2 การพัฒนารูปแบบเบื้องต้นกับกลุ่มเปรียบเทียบและรูปแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มทดลอง เครื่องมือในการวิจัยคือ ข้อมูลทุติยภูมิของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ปี พ.ศ. 2558-2562 , แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิ ที่ผ่านผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ภายใต้พิสัยของค่าความเชื่อมั่น r=0.80-0.95 การตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน simple smear และ formalin-ethyl acetate concentration technique (FECT) การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก ชุดกิจกรรมเบื้องต้นและชุดที่เหมาะสมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กิจกรรมมี 16 สัปดาห์ๆละ 2 ครั้งๆละ 30-45 นาที และระยะที่ 3 การประเมินผลโดยเปรียบเทียบผลภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม จัดกระทำข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้สถิติพื้นฐานและ Mutiple logistic regression ผลการวิจัย พบว่า1) ความชุกของพยาธิปากขอมากที่สุดร้อยละ74 ในเด็กนักเรียน โดยพบปัจจัย ที่มีอิทธิพลจากมากไปน้อย ในการป้องกันและควบคุมโรค เรียงตามลำดับ คือ ความคาดหวังการปฏิบัติ ความรุนแรง เจตคติ ความรู้ และประโยชน์ของการปฏิบัติ 2) รูปแบบที่เหมาะสม มีองค์ประกอบหลักเป็นลำดับขั้นตอนคือ SKEPA ประกอบด้วย ความรุนแรง (Severity) ความรู้(Knowledge) ความคาดหวังของการปฏิบัติ (Expectation) การปฏิบัติตน(Practice) เจตคติ(Attitude) และ5 ส่วน ของเงื่อนไขความสำเร็จ ที่กระทำพร้อมกันในด้านเนื้อหาและเวลา คือ นักเรียน ครู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้ปกครองและชุมชน 3) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ระหว่างสองกลุ่ม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)ในทุกรายด้านของคะแนนก่อนการทดลอง ทั้งสองกลุ่มมีคะแนนภายในกลุ่มทุกรายด้านหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และหลังการทดลองคะแนนในทุกรายด้าน ของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนของกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ข้อเสนอแนะทั่วไป มีปัจจัยทางสังคมด้านการกำหนดภาวะสุขภาพ การขยายผลไปสู่บริบทเฉพาะอื่นๆ และข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปด้านปรสิตและการประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ นวัตกรรมคือการพิจารณาองค์ประกอบที่มีอำนาจการทำนายสูงเป็นตัวตั้งต้นและสองตัวสุดท้ายในรูปแบบ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1538
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011562007.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.