Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1545
Title: New Music for the Isan Phin Plucked Lute for the Boon Phawet Ceremony
การสร้างสรรค์ลายพิณอีสาน ชุดบุญผะเหวด
Authors: Weerayut Seekhunlio
วีรยุทธ สีคุณหลิ่ว
Sayam Chuangprakhon
สยาม จวงประโคน
Mahasarakham University. College of Music
Keywords: การสร้างสรรค์, พิณอีสาน, บุญผะเหวด
Creativity
Isan Phin Plucked Lute
Boon Phawet
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: New Music for the Isan Phin Plucked Lute for the Boon Phawet Ceremony is a qualitative research conducted to study: 1) The ideation and the process of composing the new music of Isan Phin Plucked Lute 2) Cultural context adhering in the Boon Phawet tradition and 3) To compose the new music for Isan Phin Plucked Lute utilizing anthropological methods. In the study, the data collection was conducted through interviews, observations, as well as information from relevant documents and research. The groups of informants were 1) a group of 9 knowledgeable people 2) a group of 5 modelled artists and 3) a group of ordinary 15 people. The research results were then presented by the descriptive analysis method. The results are as follows:              1. Ideation and the process of composing the new music of Isan Phin Plucked Lute is from 5 modeled artists selected by purposive sampling method. Each artist has a unique Phin signature. The modeled artists were inspired by their circumstances including their Phin inheritance in their family, community Phin masters, and Isan way of life. Their observation, involving the immersion of Phin melody, rhythm, and local form, along with their imagination and creativity, all of those are forged into their Phin signature that is conveyed to us via the improvisation.              2. Boon Phawet is the fourth monthly merit event of the Isan people to commemorate the great donation of Phra Wessandorn. With the belief that if anyone completes all the sermons of the Great Patriarch in one day, the merits will help that person to be reincarnated in the religion of Phra Sri Ariya Maitreya. Boon Phawet has important ceremonies, namely, the ceremony to invite Phra Upakut and Phawet into the city, praising the Buddhamon Sompoch, preaching Malai Muen Malai Saen, the Thousand Rice Pieces Ceremony, preaching the Sangkas, and the Thousand verses Sermon. Furthermore, there is the preaching of the story of Vessantara, anonymous alms parades, sermons celebration sermons. On that day, there is music to entertain the attendees all day.            3. For the composition of the new form of Isan Phin Plucked Lute for the Boon Phawet, the main idea was from the related documents, melody of the Isan Phin form, Lae sermon, and field data. The research conductor was inspired and has created 13 new Phin forms according to 13 Boon Phawet chapters. The pieces include Phin solo and Phins unison along with percussive instruments. The forms consist of 1) Unitary form, 2) Binary Form, and 3) Ternary Form. The music denotes scales of 5, 6, and 7 notes as well as 3 independent tuning styles. Apart from that, the Melodic Contour involves conjunctive, disjunctive, and repetition. The rhythm is Parlando - Rubato and 2/4 Tempo Guisto. Furthermore, the texture for music composition comprises 4 styles: 1) Polyphony, 2) Monophony, 3) Heterophony, and 4) Homophony. The techniques used in playing the harp consist of 1) Drone harmony, 2) Legato, 3) Tremolo, 4) Hammer-on, 5) Pull-off, and 6) Ostinato.
การสร้างสรรค์ลายพิณอีสาน ชุดบุญผะเหวด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและวิธีการสร้างสรรค์ลายพิณอีสาน 2) ศึกษาบริบททางวัฒนธรรมในประเพณีบุญผะเหวด และ 3) สร้างสรรค์ลายพิณอีสาน ชุดบุญผะเหวด โดยใช้วิธีการทางมานุษยดนตรีวิทยาในการศึกษา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต รวมทั้งข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ 1) กลุ่มผู้รู้ 9 คน 2) กลุ่มศิลปินต้นแบบ 5 คน  และกลุ่มบุคคลทั่วไป 15 คน จากนั้นนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า              1. แนวคิดและวิธีการสร้างสรรค์ลายพิณอีสาน โดยเลือกศิลปินต้นแบบ แบบเจาะจง ที่บรรเลงพิณมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จำนวน 5 คน ซึ่งศิลปินต้นแบบใช้วิธีการศึกษาจากคนในครอบครัว ศิลปินพื้นบ้าน การสังเกตวิถีชีวิตของคนอีสาน การฟังทำนองลำ ทำนองเพลง และทำนองลายพื้นบ้าน ประกอบกับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง รวมถึงการบรรเลงแบบด้นสด ผสมผสานเป็นทำนองลายพิณที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว              2. บุญผะเหวด เป็นงานบุญประจำเดือนสี่ของชาวอีสาน เพื่อรำลึกถึงการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ของพระเวสสันดร ด้วยความเชื่อว่าหากได้ฟังเทศน์มหาชาติครบทั้ง 13 กัณฑ์ จบภายในวันเดียวนั้น อานิสงส์จะดลบันดาลให้ไปเกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย โดยบุญผะเหวดมีพิธีสำคัญคือ พิธีอัญเชิญพระอุปคุต พิธีเชิญผะเหวดเข้าเมือง พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์สมโภช เทศน์มาลัยหมื่นมาลัย พิธีแห่ข้าวพันก้อน เทศน์สังกาสและพระคาถาพัน เทศน์เสียงเรื่องราวพระเวสสันดร แห่กัณฑ์หลอน เทศน์ฉลอง รวมทั้งมีดนตรีบรรเลงเพื่อสร้างความสนุกสนานให้กับผู้ที่มาร่วมงาน              3. การสร้างสรรค์ลายพิณอีสาน ชุดบุญผะเหวด ได้แนวคิดหลักจากการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ลายพิณอีสาน ทำนองเทศน์แหล่อีสาน และข้อมูลภาคสนาม และได้แรงบันดาลใจจากบุญผะเหวด 13 กัณฑ์ มีรูปแบบการบรรเลงเดี่ยวพิณ การบรรเลงพิณหลายตัว และใช้เครื่องประกอบจังหวะมาผสมวง รูปแบบของลาย ประกอบด้วย 1) เอกบท 2) ทวิบท และ 3) ตรีบท ในการสร้างสรรค์ใช้กลุ่มเสียง 5 เสียง 6 เสียง และ 7 เสียง ตั้งสายพิณ 3 รูปแบบ มีการเคลื่อนที่ทำนองแบบกระโดดข้ามขั้น แบบเรียงตามลำดับขั้น และมีการทำซ้ำ อัตราจังหวะใช้จังหวะอิสระและจังหวะ 2/4 เนื้อดนตรีมี 4 รูปแบบ คือ 1) ดนตรีหลากแนว 2) ดนตรีแนวเดียว 3) ดนตรีแปรแนว และ 4) ดนตรีประสานแนว เทคนิคที่ใช้ในการบรรเลงพิณ ประกอบด้วย 1) การทำเสียงประสาน 2) การดีดแบบรัวเสียง 3) การดีดแบบตบสาย 4) การดีดแบบเกี่ยวสาย 5) การดีดแบบลื่นไหล และ 6) การเดินเสียงเบสยืนพื้น
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1545
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61012060002.pdf23.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.