Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1567
Title: The Museum of Phra Ajaan Mun Bhuridatta : Semiology and Displaying Memories in The Place of Enlightened Monk.
พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต : สัญคติและการแสดงวัตถุแห่งความทรงจำในอริยสงฆ์สถาน
Authors: Paradon Kenwisad
ภราดร เคนวิเศษ
Peera Phanlukthao
พีระ พันลูกท้าว
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: เจดีย์พิพิธภัณฑ์
อริยสงฆ์สถาน
ความทรงจำทางสังคม
วีรบุรุษทางวัฒนธรรม
The Chedi Museum
The Place of Enlightened Monk
Social memory space
Culture Hero
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research of "The Museum of Phra Ajaan Mun Bhuridatta: Semiology and Displaying Memories in The Place of Enlightened Monk” has 3 aims (1) to study the factors in the construction of the Chedi Museum of Phra Ajaan Mun Bhurridatta (2) to study the method of creating the memory space through the Place of Enlightened Monk in the present (3) to study the composition of the Chedi Museum Phra Ajahn Mun Phuridatta analysis the symbolic meaning, semiology in social memory space. The methodology of this research was a qualitative study. The results of this research are found: the factors in the construction of the Chedi Museum of Phra Ajaan Mun Bhurridatta were caused by social dynamics. When the Dhammayut publishes monks’ disciplinary laws in the Northeast of Thailand. Local monks have to change their way of life to the new reform of laws that were enacted by King Mongkut But at the same time, A group of local monks with Phra Ajaan Mun Bhuridatta who was the leader. They created the “Tudung” practice for their student. After that, Tudung practice was accepted by the Dhammayut administrative hierarchy. That phenomenon has created a myth of a social hero. The community builds a memorial after Phra Ajaan Mun passes away. The memorial was sacred space of people where collect phenomenon and memory of history. That is an important factor for cultural tourism in the Sakon Nakhon Province. The government and the community create a concerted community center for the development of the tourism economy in Sakon Nakhon province. As for the construction of the Chedi Museum Phra Ajaan Mun Phuridatta was initiated by a student of Phra Ajaan Mun. They wanted to build the Chedi Museum for celebration because the United Nations Agency has recognized Phra Ajaan Mun as an "important figure” in promoting world peace. The Thai state establishes the Chedi to the representative of enlightened monk The Chedi Museum was the origin concept about worshiping relics and sculpture creating of Phra Arjaan Mun The result of symbols has become a pattern in practice that continue to the present day. The results of this research can be used as a model to study cultural representation in communities or national cultural representations, and it can be used as a model to comprehend the communities that want to create a social space for collective activities. This is a community action that can be found in Thailand and other countries around the world.
งานวิจัยเรื่อง "พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต : สัญคติและการจัดแสดงวัตถุแห่งความทรงจำในอริยสงฆ์สถาน" มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (2) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างพื้นที่ความทรงจำของผู้คนที่มีต่ออริยสงฆ์สถานในสังคมปัจจุบัน (3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต วิเคราะห์ความหมายเชิงสัญลักษณ์ และความหมายที่เป็นสัญคติบนพื้นที่ความทรงจำทางสังคม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีสาเหตุมาจากพลวัตทางสังคมเมื่อครั้งธรรมยุติกนิกายเผยแพร่มายังภาคอีสาน ส่งผลให้พระสงฆ์พื้นถิ่นอีสานต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เป็นไปตามกฎระเบียบของสงฆ์ที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงตราไว้โดยเคร่งครัด แต่ช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน พระสงฆ์คนพื้นถิ่นอีสานกลุ่มหนึ่ง โดยมีพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้สร้างแนวทางปฏิบัติตามแบบวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อการดำรงอยู่ของพระสงฆ์พื้นถิ่นภายใต้แรงกดดันจากส่วนกลาง เหตุการณ์ครั้งนั้นนำมาซึ่งการเกิดตำนานวีรบุรุษทางสังคม โดยหลังจากพระอาจารย์มั่นได้ละสังขาร ชุมชนได้ร่วมกันสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อการรำลึก กำเนิดเป็นพื้นที่ความทรงจำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสกลนคร โดยภาครัฐร่วมกับชุมชนร่วมกันสร้างให้เป็นศูนย์รวมของผู้คน และเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในจังหวัด ในส่วนของการสถาปนาเจดีย์พิพิธภัณฑ์ริเริ่มมาจากคณะพระลูกศิษย์ในวัยชราภาพ ต้องการสร้างอนุสรณ์แด่พระอาจารย์มั่นในฐานะบูรพาจารย์ผู้เป็นที่เคารพ ประกอบกับวาระโอกาสที่องค์การสหประชาชาติได้ยกย่องให้พระอาจารย์มั่นเป็นบุคคลสำคัญในการส่งเสริมสันติภาพโลก ถือเป็นการสถาปนาเจดีย์ในสังคมไทยภายใต้นิยามตัวแทนของอริยสงฆ์ การแสดงออกทางสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์มั่น มุ่งเน้นการตีความจากปฏิปทาของพระอาจารย์มั่นประกอบกับปรัชญาทางพุทธศาสนานำมาผสานเข้าด้วยกัน ก่อเกิดแนวคิดธาตุบูชาอริยสงฆ์และการสร้างประติมากรรมรูปหล่อพระอาจารย์มั่นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่พิธีกรรมที่มีความเฉพาะตัว และเป็นแบบแผนในการปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ผลการวิจัยเรื่องนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษากระบวนการสร้างภาพตัวแทนทางวัฒนธรรมในชุมชน หรือวัฒนธรรมตัวแทนของชาติ และช่วยทำความเข้าใจชุมชนที่ต้องการสร้างพื้นที่ทางสังคมขึ้นมาเพื่อจัดกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นปฏิบัติการทางชุมชนที่สามารถพบได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1567
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010661002.pdf6.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.