Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1569
Title: Suvarnabhumi Local History and Cultural Capital for Tourism Promotion.
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุวรรณภูมิกับทุนทางวัฒนธรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยว
Authors: Parin Rosjan
ปริญ รสจันทร์
Taveesinp Subwattana 
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ทุนทางวัฒนธรรม
การท่องเที่ยว
ข้อเสนอเชิงนโยบาย
สุวรรณภูมิ
Local History
Cultural Capital
Tourism Policy Proposals
Suvarnabhumi
Issue Date:  1
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to present a model and guidelines of promoting tourism to serve local people. The objectives of this research are to study the history of Suvarnabhumi for tourism support, to study the tourism behavior of tourists traveling in Suvarnabhumi and to make proposals to promote tourism in Suvarnabhumi by using a qualitative research method. The results show that the history of Suvarnabhumi that is suitable for tourism which consists of 1) the development history of the city for historical tourism as a sightseeing tour or to inherit urban legends; 2) a French explorer's travel history for a historical tour as a tracer; and 3) the important family line of Suvarnabhumi for historical tourism in the form of a museum. Regarding the tourism behavior of tourists visiting Suvarnabhumi, it was found that the tourists of Suvarnabhumi had a preference for sightseeing in the city. There are festivals that are popular with tourists such as Bun Bang Fai, Bun Khun Lan and Chinese Opera. Tourists of Suvarnabhumi tend to travel in groups by using a private vehicle. Most of the tourists are round trip tourists or overnight which no more than 1 night, but they are ready to stay longer if there is a significant festival by requiring high-security accommodation at a price of about 200-500 baht. Preparation of proposals to promote tourism in the city of Suvarnabhumi found that 1) what needs to be developed in the field of tourism resources at Suvarnabhumi is the preparation of knowledge labels to be installed in Important places to replace the lack of staff in tourist attractions, 2) what needs to be developed in terms of the characteristics of local people is knowledge about the history of important places and legal knowledge, 3) what needs to be developed in government policy is to establish a guideline that puts local tourists in the first place by giving the stories of local people as the center of tourism. In conclusion, this research found that forms and guidelines for tourism promotion to serve local people can also be done. Presentation of local history content that has space for all groups of people in society through the history of the development of the city. For a historical tour in the form of visiting buildings or continuing urban legends a French explorer's travel history for a historical tour in a trace-style and the story of the significant family line of Suvarnabhumi for historical tourism in the form of a museum which these stories are consistent with the needs of tourists in the area, and it will create confidence for the people of Suvarnabhumi as the owner of the story of adaptation to internal factors and external factors which will create love and pride until becoming a collective consciousness that drives Suvarnabhumi into the future. Therefore, it is the heart of the proposal to promote tourism in Suvarnabhumi until it can be said that the theme and approach to tourism based on the content of local history is to promote tourism that truly serves the local people.
การวิจัยนี้มุ่งนำเสนอรูปแบบ และแนวทางของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อรับใช้คนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์เมืองสุวรรณภูมิสำหรับรองรับการท่องเที่ยว และศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้เดินทางมาท่องเที่ยวในสุวรรณภูมิ ตลอดจนเพื่อจัดทำข้อเสนอในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสุวรรณภูมิ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)   ผลการวิจัยพบว่า ประวัติศาสตร์เมืองสุวรรณภูมิที่มีความเหมาะสมสำหรับรองรับการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1) ประวัติศาสตร์พัฒนาการของเมือง สำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในรูปแบบการท่องเที่ยวแบบเยือนอาคารสถานที่หรือการสืบสานตำนานเมือง  2) ประวัติศาสตร์การเดินทางของนักสำรวจชาวฝรั่งเศสสำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในรูปแบบการตามรอย และ 3) สายตระกูลสำคัญของเมืองสุวรรณภูมิสำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้เดินทางมาท่องเที่ยวในสุวรรณภูมิ พบว่า นักท่องเที่ยวของสุวรรณภูมิมีความนิยมการท่องเที่ยวแบบชมสถานที่สำคัญภายในเมือง และมีเทศกาลที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวได้แก่ บุญบั้งไฟ บุญคูณลาน และงานงิ้ว นักท่องเที่ยวต้องการกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม นักท่องเที่ยวของสุวรรณภูมิมีพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวเป็นกลุ่ม โดยใช้ยานพาหนะส่วนตัว นักท่องเที่ยวส่วนมากเป็นนักท่องเที่ยวแบบไปกลับ หรือแบบค้างคืนไม่เกิน 1 คืน แต่มีความพร้อมที่จะพักอาศัยนานขึ้นหากมีเทศกาลสำคัญ โดยต้องการที่พักที่มีความปลอดภัยสูงในราคาประมาณ 200 – 500 บาท การจัดทำข้อเสนอแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสุวรรณภูมิ พบว่า 1) สิ่งที่ต้องพัฒนาด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวสุวรรณภูมิคือการจัดทำป้ายความรู้ไปติดตั้งในสถานที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อทดแทนการขาดเจ้าหน้าที่ในแหล่งท่องเที่ยว  2) สิ่งที่ต้องพัฒนาด้านคุณลักษณะของคนในท้องถิ่น คือความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของสถานที่สำคัญ และความรู้ทางด้านกฎหมาย 3) สิ่งที่ต้องพัฒนาด้านนโยบายภาครัฐ คือการกำหนดแนวทางที่ให้ความสำคัญต่อนักท่องเที่ยวภายในท้องถิ่นเป็นอันดับแรก โดยให้เรื่องราวของคนในท้องถิ่นเป็นแกนกลางของการท่องเที่ยว โดยสรุปแล้วงานวิจัยนี้ค้นพบว่า รูปแบบและแนวทางของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อรับใช้คนท้องถิ่นสามารถทำได้ด้วย การนำเสนอเนื้อหาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีพื้นที่สำหรับคนทุกกลุ่มในสังคม ผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์พัฒนาการของเมือง สำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในรูปแบบการเยี่ยมชมอาคารสถานที่หรือการสืบสานตำนานเมือง ประวัติศาสตร์การเดินทางของนักสำรวจชาวฝรั่งเศสสำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในรูปแบบการตามรอย และเรื่องราวของสายตระกูลสำคัญของเมืองสุวรรณภูมิสำหรับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้มีความสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวในพื้นที่ และย่อมสร้างความมั่นใจให้แก่ชาวสุวรรณภูมิในฐานะเจ้าของเรื่องราวของการปรับตัวต่อปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก อันจะสร้างความรัก และความภาคภูมิใจจนกลายเป็นสำนึกร่วมที่ผลักดันสุวรรณภูมิไปสู่อนาคต จึงเป็นหัวใจสำคัญของข้อเสนอแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสุวรรณภูมิ จนกล่าวได้ว่า รูปแบบและแนวทางท่องเที่ยวบนเนื้อหาของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่รับใช้คนในท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1569
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59012160010.pdf5.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.