Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1571
Title: Isan Phin : Creating new innovations to develop creative economy  products
พิณอีสาน  :  การสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Authors: Wirasak Chaiphong
วิระศักดิ์ ชัยผง
Somkhit  Suk-erb
สมคิด สุขเอิบ
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: พิณอีสาน
การสร้างนวัตกรรม
พัฒนาผลิตภัณฑ์
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
Isan Phin
Creating Innovations
Product Development
Creative Economy
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Phin is a popular instrument from ancient times to the present. The objectives of this study were to 1) study the History of the Isan Phin. 2) study current conditions and problems of Isan Phin production patterns. 3) create new innovations to develop creative economy products. It was a qualitative study; written documents and fieldwork data were gathered.  The research tools included an interview form, an observation form, and group discussion form.  The fieldwork data were collected through interviews, observations, and a group discussions from 8 key-informants, 8 casual informants, and 54 general informants. Data from documents and fieldwork were analyzed and presented by means of descriptive analysis. The results are as follows. 1) The Isan Phin has an unclear history, but it maintains a close relationship between musical instruments between cultures. An ancient craftsman made it simple to compare the sound to match the sound system used to play along with the Khaen melody. When Morlam Ploen originated in the Northeast, the harp was played as the main instrument. Artists developed a harp band, so they were mixed with the band and improved the sound amplification system is widely popular. Later, the artist developed a harp band, so it was mixed with the band and improved the sound amplification system. It is widely popular. 2) Current conditions and problems, Isan Phin has become more popular, raw materials are scarce as the wood used for making is not available for replacement and some hardwoods are restricted trees. The Phin that is being produced today is made of several pieces of wood that have been put together to create a beautiful pattern and color. 3) The creation of new innovations in Phin making by selecting the strengths of craftsmen in the 3 research areas to create new designs by applying suitable tools. The newly made harp retains its unique shape, pattern, and additional coloring techniques. Improving sound quality to meet the demands of buyers. In conclusion, this research can be used as a guideline for the development of similar instruments.
พิณเป็นเครื่องดนตรีที่ได้ความนิยมตั้งแต่สมัยโบราณถึงปัจจุบัน งานวิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของพิณอีสาน 2) สภาพปัจจุบันและปัญหารูปแบบการผลิตพิณอีสาน 3) การสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลทั้งข้อมูลเอกสารและข้อมูลภาคสนาม  เครื่องมือที่ใช่ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสนทนากลุ่มข้อมูลภาคสนามได้จาก การสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มผู้รู้  จำนวน 8 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน  8  คน  และประชาชนทั่วไปจำนวน 54  คน วิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นที่กำหนดไว้ในกรอบการวิจัย นำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า 1) พิณอีสานมีประวัติความเป็นมาไม่ชัดเจนแต่คงความสัมพันธ์ดนตรีประเภทเครื่องระหว่างวัฒนธรรมใกล้เคียง  ช่างสมัยโบราณทำขึ้นอย่างเรียบง่ายเทียบเสียงให้ตรงกับระบบเสียงแคนเพลงที่ใช้บรรเลงเลียบแบบทำนองแคน เมื่อหมอลำเพลินเกิดขึ้นในภาคอีสานพิณถูกนำมาเล่นเป็นเครื่องดนตรีหลัก ศิลปินได้พัฒนาวงดนตรีพิณจึงถูกนำผสมวงและปรับปรุงระบบขยายเสียงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย 2)  สภาพปัจจุบันและปัญหา พิณอีสานได้รับความนิยมมากขึ้นวัตถุดิบคือไม้ที่ใช้ทำเริ่มขาดแคลนเนื่องจากไม่มีการปลูกทดแทนและไม้เนื้อแข็งบางชนิดเป็นต้นไม้หวงห้าม พิณที่ผลิตขึ้นในปัจจุบันทำมากจากไม้หลายชิ้นประกอบเข้าด้วยกันตกแต่งลวดลายและสีสันให้งดงาม 3) การสร้างนวัตกรรมใหม่ในการทำพิณเกิดจากการคัดเลือกจุดเด่นของช่างฝีมือในพื้นที่วิจัยทั้ง 3 แห่งนำมาออกแบบสร้างสรรค์ใหม่โดยประยุกต์เครื่องมือที่เหมาะสม พิณที่ทำขึ้นใหม่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ด้านรูปทรง ลวดลาย สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาเทคนิคการลงสี การปรับปรุงคุณภาพเสียง เพื่อให้เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อ โดยสรุปงานวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องดนตรีคล้ายคลึงกันได้
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1571
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61012151001.pdf10.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.