Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1579
Title: Developing of Learning Model Based on Trisikkha Principles with Contemplative Education to Enhance the Characteristics of Good Citizenship for Vocational Certificate Students
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาร่วมกับแนวคิด จิตตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Authors: Kittipat Srichai
กิตติพัฒน์  ศรีชัย
Montree Wongsaphan
มนตรี วงษ์สะพาน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
ไตรสิกขา
จิตตปัญญาศึกษา
คุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดี
Developing of Learning Model
Trisikkha
Contemplative Education
Characteristics of Good Citizenship
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were : 1) to study the basic data of development the learning management model based on the Trisikkha principles and the concept of contemplative education; 2) to develop the learning management model based on the Trisikkha principles and the concept of contemplative education 3) to study the results of learning management with the Trisikkha Plus model of learning management. to promote the attributes of good citizenship For students of vocational certificates in the 2nd semester 2, Academic Year 2020, Buriram Polytechnical College. The sample group consisted of 29 students chosen by the Cluster Random Sampling technique. The instruments used in this research were 1) Good Citizenship Characteristics Assessment Form 2) Academic achievement test and 3) Student satisfaction questionnaire with Trisikkha Plus learning management. The statistics employed in the data analysis were percentage, mean, standard deviation. Discriminant, Reliability and t-test. The research results were as follows: 1. The results of the study of problems and needs in teaching and learning management of civic and moral subjects of teachers with a learning management model based on the Trisikkha principles together with the concept of intellectual education found that teachers focused on providing content knowledge to students. by the method of teaching a lecture which lacks diversity in the learning process for students Emphasis on teaching completion within hours of learning management. Vocational institute in the city center Thus causing noise while the teacher arranges learning for the students. Characteristics of being a good citizen Students lack the behavior of good citizenship and lack of responsibility for their duties. Lack of morals that should be treated with oneself and a school.  2. The results of the development learning management model based on the Trisikkha principles and the concept characteristics of good citizens for the vocational certificate students revealed that concepts, textbooks, documentaries and researches that concerned with this research and were taken for supporting the development of the learning management model which consisted of the learning management based on the Trisikkha principles and the concept of contemplative education revealed the elements of learning management as follow 1) principles 2) objectives 3) learning management method 4) social system 5) principles of reaction and 6)support system and the 5 steps of the model being 1) preparing step 2) concentration step 3) intellectual step 4) thinking reflection step and 5) evaluation step. To call the model as “The learning management model of Trisikkha Plus”. There is a high level of suitability assessment. 3. Learning management results of the Trisikkha Plus learning management model for enhancing the characteristics of good citizens for the vocational certificate students which applied to the sample group revealed that  1) Students who learned with the developed Trisikkha Plus learning management model had the total characteristics of good citizens at the much level. 2) The students’ academic achievement through the developed model was significantly higher than that assessed before learning at the .05 level of statistical significance. and 3) The total of students’ satisfaction on the Trisikkha Plus learning management model was at the much level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาพลัส เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์ โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดี 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาพลัส สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรมของครูผู้สอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา พบว่า ครูมุ่งเน้นให้ความรู้เนื้อหาแก่นักเรียนโดยวิธีการสอนแบบการบรรยาย ซึ่งขาดความหลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ต่อนักเรียน เน้นให้มีการสอนเสร็จภายในชั่วโมงของการจัดการเรียนรู้ สถาบันอาชีวศึกษาอยู่ใจกลางเมือง จึงทำให้มีเสียงรบกวนขณะที่ครูผู้สอนทำการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน  ด้านคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดี นักเรียนขาดพฤติกรรมของความเป็นพลเมืองดีและขาดวามรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง ขาดศีลธรรมที่ควรปฏิบัติต่อตนเองและสถานศึกษา 2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาร่วมกับแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ พบว่า แนวคิด ตำรา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาใช้สนับสนุน การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาและการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา ได้องค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6)ระบบสนับสนุน และรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นสมาธิ ขั้นที่ 3 ขั้นปัญญา ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนความคิด และขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล เรียกรูปแบบนี้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาพลัส มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาพลัส เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดี สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่า 1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาพลัสที่พัฒนาขึ้นมีคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองดี โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) นักเรียนที่ได้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาพลัสที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขาพลัส โดยรวมอยู่ในระดับมาก
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1579
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010563002.pdf5.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.