Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1608
Title: | High Efficient Dryer for Andrographis Paniculata using PTFE with Revolutionary Air เครื่องอบฟ้าทะลายโจรประสิทธิภาพสูงด้วยพีทีเอฟอีร่วมกับอากาศหมุนเวียน |
Authors: | Patsakorn Tangdee ภาสกร ทางดี Chonlatee Photong ชลธี โพธิ์ทอง Mahasarakham University. The Faculty of Engineering |
Keywords: | เครื่องอบสมุนไพรฟ้าทะลายโจร พีทีเอฟอี สมุนไพรฟ้าทะลายโจร Dryer for Andrographis Paniculata PTFE Andrographis paniculata |
Issue Date: | 22 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This thesis presents an experimental drying of herbs called Andrographis paniculata to compare the efficiency of a drying machine of an Andrographis paniculata which can be divided into a dryer that uses a glass and a dryer that uses PTFE, and to compare the performance between the herb dryers with air circulation system and without air circulation system of the two dryers. From the experimental results by analyzing the temperature and humidity values, the initial weight before drying of Andrographis paniculata weighs 50 grams. Drying test was carried out using a glass drying machine without air circulation. The experiment was carried out for 1 and 3 hours. The final weight of drying the Andrographis paniculate are 42 and 41 grams respectively. Plus, Andrographis paniculata drying was tested using a glass drying machine with air circulation system for 1, 3 and 6 hours. The final weight of drying the Andrographis paniculate are 38, 34 and 10 grams respectively. And the drying test was carried out by using PTTFE without air circulation system for 1 and 3 hours. The final weight of drying the Andrographis paniculate are 44 and 41 grams respectively. Plus, the Andrographis paniculata drying test by using PTFE drying machine with air circulation system was tested for 1, 3 and 6 hours. The final weight drying the Andrographis paniculate are 34, 24 and 5 grams respectively. From the experiment, it was concluded that the Andrographis paniculata dryer using PTFE with air circulation system was suitable for drying the Andrographis paniculata after drying for 6 hours. The maximum temperature was 50-55 °C. The final weight is 5 grams, which is the standard moisture content, and is in the range of 8-10 % dry basis. The results were analyzed by taking 1.0053 grams of dried Andrographis paniculata for TLC testing using HPTLC for andrography determination at the Faculty of Pharmacy Laboratory Mahasarakham University, the result is 1.0717 W/W, which meets the standard. วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการทดลองการอบแห้งสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องอบแห้งสมุนไพรฟ้าทะลายโจรโดยแบ่งออกเป็นเครื่องอบแห้งสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่ใช้กระจกและเครื่องอบแห้งสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่ใช้พีทีเอฟอี รวมไปถึงการเปรียบเทียบการทำงานระหว่างเครื่องอบแห้งสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่มีระบบหมุนเวียนอากาศและไม่มีระบบหมุนเวียนอากาศของเครื่องอบแห้งทั้งสองแบบ จากผลการทดลองโดยการวิเคราะห์ค่าอุณหภูมิและค่าความชื้น โดยน้ำหนักเริ่มต้นก่อนการเข้าอบของสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีน้ำหนัก 50 กรัม ทดสอบอบโดยใช้เครื่องอบแห้งสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่ใช้กระจกแบบไม่มีระบบหมุนเวียนอากาศโดยทำการทดลองเป็นเวลา 1 และ 3 ชั่วโมง หลังจากการอบน้ำหนักสุดท้าย 42 และ 41 กรัม และทดสอบอบโดยใช้เครื่องอบแห้งสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่ใช้กระจกแบบมีระบบหมุนเวียนอากาศโดยทำการทดลองเป็นเวลา 1, 3 และ 6 ชั่วโมง หลังจากการอบน้ำหนักสุดท้าย 38, 34 และ 10 กรัม และทดสอบอบโดยใช้เครื่องอบแห้งสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่ใช้พีทีเอฟอีแบบไม่มีระบบหมุนเวียนอากาศโดยทำการทดลองเป็นเวลา 1 และ 3 ชั่วโมง หลังจากการอบน้ำหนักสุดท้าย 44 และ 41 กรัม และทดสอบอบโดยใช้เครื่องอบแห้งสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่ใช้พีทีเอฟอีแบบมีระบบหมุนเวียนอากาศโดยทำการทดลองเป็นเวลา 1, 3 และ 6 ชั่วโมง หลังจากการอบน้ำหนักสุดท้าย 34, 24 และ 5 กรัม จากการทดลองสรุปได้ว่าเครื่องอบแห้งสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่ใช้พีทีเอฟอีและระบบหมุนเวียนอากาศเหมาะสมต่อการอบแห้งสมุนไพรฟ้าทะลายโจรโดยหลังจากทำการอบเป็นเวลา 6 ชั่วโมง ค่าอุณหภูมิสูงสุด 50-55 องศาเซลเซียส น้ำหนักสุดท้าย 5 กรัม ซึ่งเป็นค่าความชื้นมาตรฐานคืออยู่ในช่วง 8-10 % มาตรฐานแห้ง และทำการวิเคราะห์ผลโดยนำฟ้าทะลายโจรอบแห้งน้ำหนัก 1.0053 กรัม ไปทดสอบด้วยวิธี TLC โดยใช้เครื่อง HPTLC เพื่อวัดค่าแอนโดรกราโฟไลต์ที่ห้องปฏิบัติการคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผลที่ได้คือ 1.0717 W/W ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน |
Description: | Master of Engineering (M.Eng.) วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1608 |
Appears in Collections: | The Faculty of Engineering |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63010381008.pdf | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.