Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1619
Title: The Development of an Instructional Model Based on Social Cognitive Theory to Enhance English Listening and Speaking Skills for Grade 6 Students in Small Size Schools
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีปัญญาสังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก
Authors: Sukanya Thaosiri
สุกัญญา เทาศิริ
Jiraporn Chano
จิระพร ชะโน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
ทฤษฎีปัญญาสังคม
English Listening Skill
English Speaking Skills
Social Cognitive Theory
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research aimed to 1) study the basic information and needs for the development of an instructional model based on social cognitive theory to enhance English listening and speaking skills for grade 6 students in small size schools, 2) develop the instructional model based on social cognitive theory to enhance English listening and speaking skills for grade 6 students in small size schools, 3) study the results of implementation of the instructional model based on social cognitive theory to enhance English listening and speaking skills for grade 6 students in small size schools. The instructional model was developed based on Joyce, Weil and Calhoun’s systematic approach. The research and development (R&D) process was used to develop the instructional model which was divided into three phases: 1) studying the basic information and needs, 2) developing the instructional model, 3) studying the results of implementation of the instructional model. The sample group was 8 students of Ratruamrangrat (Kamjad Upatham) School in the 2nd semester of the academic year 2019, selected by cluster random sampling. The research instruments consisted of a questionnaire for students, an interviewing form for teachers, a learning management manual, lesson plans, English listening tests, English speaking tests, English listening skill achievement tests, and English speaking skill achievement tests. The statistical analyses were mean, percentage, standard deviation, and the Wilcoxon Signed Rank Test. The results of the research were as follows: 1. The current situation of learning English indicated that the total level of students’ English listening and speaking skills enhancement was low. In aspects of problems and needs, teachers lacked confidence and techniques in teaching English for communication, and enhancing English listening and speaking skills because they had overloaded teaching and administrative tasks, and also some of them had not taken English as their major of their studies. Therefore, English teacher training courses, instructional materials and teaching aids were strongly required to support their teaching. 2. The instructional model based on social cognitive theory to enhance English listening and speaking skills for grade 6 students in small size schools consisted of 6 elements: 2.1 principles of the model were 1) social cognitive theory, and 2) learning strategies, 2.2 objectives of the model, 2.3 syntax of the learning with of 3 steps: 1) Pre-Stage, 2) While-Stage, and 3) Post-Stage, 2.4 social system, 2.5 principle of reaction, and 2.6 support system. Furthermore, the model was affirmed with connoisseurship from the experts in developing process. The trying out of model was found that learning process those provided in model had appropriate progression. 3. The results of implementation of the instructional model based on social cognitive theory to enhance English listening and speaking skills for grade 6 students in small size schools revealed the findings as follows: 3.1 The students had a significantly higher improvement of English listening and speaking skills both in overall and each individual aspect at the .05 level of significance.   3.2 The students’ learning achievement for both listening and speaking skills after learning through the developed model was significantly higher than that assessed before learning through the model at the .05 level of significance.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายคือ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีปัญญาสังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีปัญญาสังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีปัญญาสังคมเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก ผู้วิจัยใช้รูปแบบจอยส์ เวลล์ และคาลฮัล โดยได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีปัญญาสังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีปัญญาสังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราษฎร์ร่วมแรงรัฐ (กำจัดอุปถัมภ์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 8 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามนักเรียน แบบสัมภาษณ์ครู คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการฟังภาษาอังกฤษ แบบวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ด้านทักษะการฟัง และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ด้านทักษะการพูด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีปัญญาสังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า มีการส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ครูผู้สอนขาดความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเนื่องจากไม่ใช่สาขาที่เรียนมา ขาดเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษและมีภาระงานที่มากเกินไป ครูผู้สอนมีความต้องการในการพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และต้องการสื่อและเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน 2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีปัญญาสังคม เพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก ที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ 2.1 ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) ทฤษฎีปัญญาสังคม 2) แนวคิดกลวิธีในการจัดการเรียนรู้ 2.2 วัตถุประสงค์ 2.3 ขั้นตอนการเรียนรู้ ที่ประกอบด้วย 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนฝึก (Pre-Stage) ขั้นที่ 2 ขั้นระหว่างฝึก (While-Stage) ขั้นที่ 3 ขั้นหลังฝึก (Post-Stage) 2.4 ระบบสังคม 2.5 หลักการตอบสนอง และ 2.6 ระบบสนับสนุน ซึ่งได้รับการยืนยันและสนับสนุนจากการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และมีผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามที่กำหนดในรูปแบบ 3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีปัญญาสังคมเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก ปรากฏผล ดังนี้ 3.1 นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีปัญญาสังคมเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยรวมและรายด้านสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05      3.2 นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีปัญญาสังคมเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษด้านทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1619
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010563009.pdf13.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.