Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1620
Title: Developing a Training Program to Enhance Creativity and Innovation for Rajabhat University Students
การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการสร้างสรรค์และนวัตกรรม สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ
Authors: Tharathep Tameruk
ธราเทพ เตมีรักษ์
Araya Piyakun
อารยา ปิยะกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์
จิตใจเชิงสร้างสรรค์
การสร้างนวัตกรรม
Creative
Creativity
Creativity Affective
Implementing Innovation
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this study were 1) to study components and indicators of creativity and innovation; 2) to develop a training program to enhance creativity and innovation; 3) to study the effects of the training program. The first phase was to examine the components and indicators of creativity and innovation. The sample of the first phase included 5 experts for in-depth interviews. The tool was the interview form. There were 1,200 undergraduate Rajabhat university students for confirmatory factor analysis, and the tool was creative and innovative questionnaires. The second phase was the development of the training program. 39 undergraduate Rajabhat university students were involved as the samples. The tool was the training program. The third phase was to investigate the effects of the training program with 30 undergraduate Rajabhat university students. The tools were the training program and creativity and innovation evaluation form. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and confirmatory factor analysis. The research results were as follows: 1. Components and indicators for creativity and innovation consisted of 4 factors; 1) creativity cognitive 2) creativity affective 3) social interaction and 4) implementing innovation. There were 24 indicators in total.   2. The training program to enhance creativity and innovation for Rajabhat university students consisted of 14 activities. The level of training program was in the highest level. 3. The average scores of the subjects after participating in the training program were higher than that before participating the program with a statistical significance at .01 level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การสร้างสรรค์และนวัตกรรม 2) พัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการสร้างสรรค์และนวัตกรรม 3) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมฝึกอบรม ซึ่งตัวอย่างในการศึกษาระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ให้การสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อกำหนดองค์ประกอบ โดยเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 1,200 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรม ตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษา จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมฝึกอบรม ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้โปรแกรมฝึกอบรม ตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือ ได้แก่ โปรแกรมฝึกอบรม และแบบวัดการสร้างสรรค์และนวัตกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การสร้างสรรค์และนวัตกรรมมีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัญญาสร้างสรรค์ 2) จิตใจเชิงสร้างสรรค์ 3) ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และ 4) การสร้างนวัตกรรม รวมทั้งหมด 24 ตัวบ่งชี้ 2. โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างการสร้างสรรค์และนวัตกรรม มีจำนวน 14 กิจกรรม มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด   3. ผลการใช้โปรแกรมพบว่า นักศึกษามีการสร้างสรรค์และนวัตกรรมหลังเข้าร่วมกิจกรรมตามโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1620
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010567001.pdf9.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.