Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1621
Title: The Development of the Program to Enhance the Learning Management Competency of Pre-service Teachers by using the TPACK Concept Framework
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้กรอบแนวคิดทีแพค
Authors: Piyaphat Nithitakkharanon
ปิยาพัชญ์ นิธิศอัครานนท์
Prasart Nuangchalerm
ประสาท เนืองเฉลิม
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้
สมรรถนะ
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
ทีแพค
Learning Management
Competency
Pre-Service Teacher
TPACK
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to study the elements and level of learning management competency of the pre-service teachers. 2) to develop a program to enhance learning management competency of the pre-service teachers by using the TPACK conceptual framework. 3) to study the result of the implementation of the program to enhance learning management competency for the pre-service teachers by using the TPACK conceptual framework. The program has been conducted through the research and development process, and it was divided into 3 phases. Phase 1: the study of the current situation and level of learning management competency of the pre-service teachers. Phase 2: the development of the program to enhance learning management competency of the pre-service teachers by using the TPACK conceptual framework. Lastly, phase 3, the implementation of the program to enhance learning management competency of the pre-service teachers by using the TPACK conceptual framework. The sample group consisted of 18 pre-service teachers from Faculty of Education, Ubon Ratchathani Rajabhat University, academic year 2021. The pre-service teachers were chosen by using purposive sampling. The tools which were used for data collection were interview forms, questionnaires, tests, and assessment forms. The data was analyzed by using basic statistics, such as frequency, percentage, mean, and standard deviation. The research results showed that: 1. The result of the study of the elements and level of learning management competency of the pre-service teachers from all 4 elements which were 1) knowledge and ability in learning design 2) learning management that mainly focuses on learners 3) development of innovative media and technology for learning management and 4) measuring and evaluating learning outcomes, in overall, was in a moderate level. The methods for enhancing competencies are self-study, field trips, workshops, and joining professional learning communities (PLC). 2. The results of the development of the program to enhance learning management competency of the pre-service teachers by using the TPACK conceptual framework were the five components: 1) program principles 2) program aims 3) program content and activities 4) format and activities used in the program and 5) measurement and evaluation. 3. The results of the implementation of the program to enhance learning management competency for the pre-service teachers by using the TPACK conceptual framework were as follows: 1) After the implementation, the pre-service teachers had scores on the knowledge test about learning management competency by using the TPAC conceptual framework higher than before being developed with a statistical significance of 0.05 level. The learning management competency level after joining the development program was at the highest level, which was higher than before joining the development program at the moderate level. 2) The result of the satisfaction assessment of the program participants, in overall, was at the highest level with all aspects.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและระดับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้กรอบแนวคิดทีแพค 3) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้กรอบแนวคิดทีแพค โดยได้ดำเนินการพัฒนารูปแบบด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและระดับสมรรถนะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ระยะที่ 2 การพัฒนาการโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้กรอบแนวคิดทีแพค และระยะที่ 3 การนำโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้กรอบแนวคิดทีแพคไปใช้ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและระดับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทั้งหมด 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีวิธีการเสริมสร้างสมรรถนะ คือ การศึกษาด้วยตนเอง (Self-Study Method) การศึกษาดูงาน (Field Trip) การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และการร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) 2. ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้กรอบแนวคิดทีแพค ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของโปรแกรม 2) จุดมุ่งหมายของโปรแกรม 3) เนื้อหาและกิจกรรมของโปรแกรม 4) รูปแบบและกิจกรรมที่ใช้ในโปรแกรม และ 5) การวัดและประเมินผล 3. ผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้กรอบแนวคิดทีแพคไปใช้ ปรากฏผลดังนี้ 1) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีคะแนนการทดสอบความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้กรอบแนวคิดทีแพค มีคะแนนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีระดับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ หลังการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาที่อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโปรแกรม โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1621
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010563002.pdf20.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.