Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1622
Title: Development indicator features elementary MATHEMATIC teacher 
การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ในระดับประถมศึกษา
Authors: Orachon Sitthisorn
อรชร สิทธิสอน
Prasert Ruannakarn
ประเสริฐ เรือนนะการ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: คณิตศาสตร์
การพัฒนาตัวบ่งชี้ครูคณิตศาสตร์
ประถมศึกษา
Mathematic
The Development of mathematic teacher indicators
Primary
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:     The purpose of this research were 1) to develop character indicators of mathematic teacher  in elementary school Lower Northeast Elementary School 2) to survey the sub-indicators of mathematics teachers in elementary school Lower Northeast Elementary School 3) to Confirmatory Factor Analysis of the character indicators of math teachers in elementary school Lower Northeast Elementary School. The sample consists of 1,200 Mathhematic Studies Teachers in the research was mathematics teachers at the primary level. Lower Northeast Elementary School, Academic Year 2017,  600 Mathhematic Studies Teachers used the   Exploratory Factor Analysis (EFA) and 600 Mathhematic Studies Teachers used the Confirmatory Factor Analysis (CFA) by multistage random sampling . The research instruments were 1) Structured interview  2) The questionnaire on the development of character indicators of mathematic teacher  in elementary school is a  rating scale, 60 items. The content validity (IOC) is 0.80 to 1.00,The  discrimination was 0.405 to 0.824 and the reliability was 0.965, for data analysis by basic statistical analysis Exploratory Factor Analysis (EFA) and Confirmatory Factor Analysis (CFA) using a computer program.      The findings the development of indicators indicating the characteristics of math teachers in elementary school by studying documents and research related to mathematics teacher characteristics. In order to create a conceptual framework for the development of indicators indicating characteristics of math teachers in elementary school, the researcher brought these indicators through the analytical process by using interview techniques and let the experts verify the consistency of the content It turns out that the indicators were all 6 components of 60 indicators, namely academic aspect, curriculum aspect, teaching aspect, measurement and evaluation aspect. human relations and attitude.       The findings sub-indicator survey development indicator features elementary mathematic teacher composed of 4 in the 52 indicators aspects of Knowledge and Understanding for teaching mathematic, Process and curriculum development, Morals and ethics to student and others and Human relation. The factor loading is sorted descending by the weight of the sort from high to low is Morals and ethics to student and others (0.953), Process and curriculum development (0.851), Understanding for teaching mathematic (0.826) and  Morals and ethics to student and others (0.695)      The second confirmatory factor analysis check the consistency of development indicator features elementary mathematic teacher by the hypothetical model based on empirical data. The chi-square value of  1582.099, df to 970, The p-values was 0.0625 which is not statistically significant at the .05 level of integration index (GFI)of 0.950, The index measures the harmonious adjustment then (AGFI) was 0.923, Comparative Fit Index (CFI)  = 0.942, square root of the average quadratic of waste in the form of standardscore (SRMR) was 0.054, and the square root the average quadratic deviation  estimated (RMSEA) is 0.045, indicating that the model has validity.
         การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง2) เพื่อสำรวจตัวบ่งชี้ย่อยคุณลักษณะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1,200 คน ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) จำนวน 600 คน และใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) จำนวน 600 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 60 ข้อ ค่าความตรงของแบบสอบถาม (IOC) เท่ากับ 0.60 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ ตั้งแต่ 0.405 ถึง 0.824  และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.965 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) และองค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป       ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาโดยทำการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ เพื่อนํามาสร้างกรอบแนวคิดการพัฒนาตัวบ่งชี้บ่งชี้คุณลักษณะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาผู้วิจัยได้นําตัวบ่งชี้เหล่านี้มาผ่านกระบวนวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์และให้ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหา ปรากฎว่าทำให้ได้ตัวบ่งชี้ทั้ง 6 องค์ประกอบ 60 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านหลักสูตร ด้านการสอน ด้านการวัดและประเมินผล ด้านมนุษยสัมพันธ์และด้านเจตคติ       ผลการสำรวจตัวบ่งชี้ย่อยคุณลักษณะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาประกอบด้วย 4 ด้าน 52 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจด้านการสอน, ด้านกระบวนการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร, ด้านคุณธรรมจริยธรรมต่อด้านนักเรียนและผู้อื่น และด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรมต่อนักเรียนและผู้อื่น (0.953), ด้านการจัดทำและพัฒนาหลักสูตร  (0.851), ด้านความรู้ความเข้าใจด้านการสอนคณิตศาสตร์ (0.826) และด้านมนุษยสัมพันธ์ (0.695)       ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง จากการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อยู่ในเกณฑ์กำหนด ค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 1582.099 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 970 ค่าความน่าจะเป็น(P-Value) เท่ากับ 0.0625 ค่าดัชนีวัดระดับ ความกลมกลืน GFI = 0.950 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับค่าแล้ว AGFI = 0.923 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ CFI  = 0.942 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปของคะแนนมาตรฐาน SRMR = 0.054 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ RMSEA= 0.045
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1622
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010584007.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.