Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1626
Title: The Curriculum Development to Promote the Active Learning for Primary English Teachers
การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา
Authors: Nippita Kulchit
นิพพิทา กุลชิต
Prasart Nuangchalerm
ประสาท เนืองเฉลิม
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาหลักสูตร
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
Curriculum Development
Active Learning
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research was used research and development design. The purposes were: 1) to study the condition Active learning management and self-improvement needs of primary English teachers 2) to develop a curriculum of active learning to promoting for primary English teachers. 3) to study the effect of using the curriculum to promote active learning for primary English Teachers The research was conducted in 3 phases as follows, Phase 1, a study of basic data. There are two steps, which are : Step 1: Study of documents, textbooks and related research. Step 2: Study the condition of active learning management and the need for self-development. There are two methods: group conversations. Teacher of foreign language learning subject group (English) primary level Experts in learning management for learning foreign languages (English) 20 people and questionnaire for teachers of the foreign language learning subject group (English) at primary school from Kalasin Primary Educational Service Area Office 1. Phase 2, Curriculum Development to Promote Active Learning Management for Primary English Teachers. Phase 3, Study on the effect of using curriculum to promote Active Learning for Primary English Teachers. Research tools are: Semi-structured interview, opinion questionnaire, Draft course suitability assessment form, a test on the teacher's understanding about Active Learning, assessment from Teacher’s ability to design lesson plans for active learning, assessment from Teacher’s ability to organize active learning activities, and a teacher's satisfaction form towards the curriculum designed. The basic statistics used in this data analysis are: The basic statistics are percentage, Mean, Standard Deviation. The results of the research can be summarized as follows: 1. The primary English teachers have 6 characteristics of active learning management as follows: 1) Organize activities or challenging situations promote and develop thinking skills towards a wide range of higher order thinking. 2) Activities allow learners to interact between learners and teachers and learners who have more learners than competitors 3) learners learn together participate in activities shared responsibility Discipline at work and the division of responsibilities. 4) Provide opportunities for learners to participate in reading, speaking, listening, thinking, writing and discussing together. 5) Learners are involved in learning both creating a body of knowledge. creating interactions rather than competition. 6) The teacher is the facilitator of learning management for learners to act on their own.  In addition, the activities used in each content there must be variety such as games, music, media, simulations for children to practice real experiences and take action focus on happy learning (Play and Learn) And teachers also attach importance to metric-based assessments earning objectives by evaluating real-world conditions using a variety of tools and methods The type of tool you choose depends on the skill to be assessed. It was found that primary school English teachers had the highest level of self-development in active learning management. 2. Results of curriculum development to promote active learning management for primary English teachers. It was found that the curriculum outline promotes active learning management. For primary English Teachers, there are 6 components as follows: 1) Principles 2) Aim of curriculum 3) Content/subject scope of the curriculum 4) Guidelines for organizing experiences 5) Curriculum materials and documents 6) Assessing the use of the curriculum There was a high level of suitability (Considering each component, it was found that all components were at a high level. 3. The results of the study using the curriculum to promote active learning management primary English Teachers found 3.1 The English teachers at the primary level in all target schools had an excellent understanding of active learning management and higher than the specified 70% threshold. 3.2 The primary English teachers in the 3 target schools had a high level of an overall assessment of their ability to design active learning plans. When considering each school, it was found that the assessment results were at a high level in all 3 schools. 3.3 The primary English teachers in the 3 target schools had a high level of the overall assessment of their ability to manage active learning activities. The results of the school-by-school assessment showed that all schools had high averages. 3.4 The primary English teachers, of all 3 schools were satisfied with using courses to promote active learning for primary English teachers, when considering each aspect, it was found that the aspect with the highest mean of satisfaction was the lead process courses to use are at the highest level. followed by the content of the course at a high level; assemble the course period the atmosphere is at a high level and the speakers, knowledge gained at a high level.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ การวิจัยระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งมี 2 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 การศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและความต้องการพัฒนาตนเอง ที่มี 2 วิธี คือ การสนทนากลุ่ม ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับประถมศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) จำนวน 20 คน และการสอบถาม ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 จำนวน 158 คน การวิจัยระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา การวิจัยระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมินความเหมาะสมร่างหลักสูตร แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา พบว่า ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษามีสภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกใน 6 ลักษณะ ดังนี้ 1) กิจกรรมมีความหลากหลาย ท้าท้าย ส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดไปสู่การคิดขั้นสูง 2) กิจกรรมเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน มากกว่าการแข่งขัน 3) กิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ มีวินัยในการทำงาน 4) กิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติทั้งการอ่าน พูด ฟัง คิด เขียน และการอภิปรายร่วมกัน 5) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมและการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และ 6) ผู้สอนเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง นอกจากนี้กิจกรรมที่นำมาใช้ในแต่ละเนื้อหาต้องมีความหลากหลาย เช่น เกม เพลง สื่อ สถานการณ์จำลองให้เด็กได้ฝึกประสบการณ์จริง และลงมือปฏิบัติ เน้นการเรียนรู้อย่างมีความสุข และครูยังให้ความสำคัญกับการประเมินตามตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้โดยการประเมินสภาพจริงที่ใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ทั้งนี้เครื่องมือแต่ละชนิดที่จะเลือกมาใช้จะขึ้นอยู่กับทักษะที่ต้องการประเมินด้วยและพบว่าครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษามีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา พบว่า โครงร่างหลักสูตรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาที่มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการของหลักสูตร 2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระของหลักสูตร 4) แนวทางการจัดประสบการณ์ 5) สื่อและเอกสารประกอบหลักสูตร 6) การประเมินหลักสูตร มีความเหมาะอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกองค์ประกอบ 3. ผลการศึกษาการใช้หลักสูตรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา พบว่า 3.1 ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับดีเยี่ยม และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้ 3.2 ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 โรงเรียน มีผลการประเมินความสามารถในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายโรงเรียนพบว่ามีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทั้ง 3 โรงเรียน 3.3 ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 โรงเรียน มีผลการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายโรงเรียน พบว่า ทุกโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.4 ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 โรงเรียน มีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดคือ ด้านกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านเนื้อหาของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ด้านเอกสารประกอบหลักสูตร ระยะเวลา บรรยากาศ อยู่ในระดับมาก และด้านวิทยากรและความรู้ที่ได้รับอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1626
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010563001.pdf8.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.