Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1627
Title: Blended Learning Activities by using Group Investigation (GI) to Enhance Computational Thinking Skills on Computing Science of Mathayomsuksa 1 Students
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบ สืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม (Group Investigation : GI) เพื่อส่งเสริม ทักษะการคิดเชิงคำนวณ ในรายวิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Authors: Kanchanok Thangnatee
กานต์ชนก ทางนที
Hemmin Thanapatmeemamee
เหมมิญช์ ธนปัทม์มีมณี
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน
การเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม
ทักษะการคิดเชิงคำนวณ
วิทยาการคำนวณ
Blended Learning Activities
Group Investigation
Computational Thinking Skills
Computing Science
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: In the study of “Blended Learning activities by using Group Investigation (GI) to enhance computational thinking skill on computing science of Mathayomsuksa 1 students.” has the 5 purposes of this study ware: 1) to develop blended learning for the Inquiry-Based Learning: Group Investigation (GI) to enhance computational thinking skill on computing science of Mathayomsuksa 1 students. with a required efficiency of 80/80, 2) to compare academic achievement of the students between before and after-learning with the use of the inquiry-based Learning: Group Investigation (GI) learning and normal-learning, 3) to compare to enhance computational thinking skill of the students between before and after-learning with the use of the inquiry-based Learning: Group Investigation (GI) learning and normal-learning, 4) to compare academic achievement after-learning with the use of the inquiry-based Learning: Group Investigation (GI) learning and normal-learning, 5) to examine students’ satisfaction with learning towards management for blended learning for the inquiry-based learning: Group Investigation (GI) learning and normal-learning. The instruments used in the study included: 1) a learning management plan for computing science learning subject groups; computational science course for Mathayomsuksa 1 students using a learning management model, blended learning for the inquiry-based learning: Group Investigation (GI). 2) Computational thinking skill test, 12 items. 3) an achievement test, 30 items. 4)The satisfaction questionnaire of students who studied with learning management in blended learning for the inquiry-based learning: Group Investigation (GI) to enhance computational thinking skill on computing science of Mathayomsuksa 1 students, using a 5-level estimation scale, 20 items, the statistics used for analyzing the collected data were percentage, mean, standard deviation, and t-test (Pair-Sample t-test). The results of the study ware as follows: 1. Blended learning activities by using for the inquiry-based learning: Group Investigation (GI) to enhance computational thinking skill on computing science of Mathayomsuksa 1 students, the efficiency (E1/E2) was 80.53/87.20 which met the specified criteria. 2. Comparison of academic achievement before and after school. Blended learning activities by using for the inquiry-based learning: Group Investigation (GI) have an achievement score They had a statistically significantly higher mean achievement score after studying at the .05 level than before studying with the normal method. 3. Comparison of computational thinking skills before and after school by using for the inquiry-based learning: Group Investigation (GI) research and normal-learning. The mean scores of computational thinking skills were statistically significantly higher than before at the .05 level. 4. Comparison of academic achievement after school blended learning activities by using for the inquiry-based learning: Group Investigation (GI) research and normal-learning. There was a statistically significantly higher mean achievement score after studying with the normal method at the .05 level. 5. The results of the blended learning activities by using for the inquiry-based learning: Group Investigation (GI) to enhance computational thinking skill on computing science of Mathayomsuksa 1 students, the students were satisfied with the development of the blended learning activities. by using for the inquiry-based learning: Group Investigation (GI). The average was 4.75 at the highest level of satisfaction. In summary, the blended learning activities by using for the inquiry-based learning: Group Investigation (GI) to enhance computational thinking skill on computing science of Mathayomsuksa 1 students that the researcher created, making students have academic achievement. and higher computational thinking skills and the students were satisfied with learning at the highest level. This should encourage and encourage teachers to apply this blended learning activity in teaching and learning. for students to achieve the objectives of the next course.
พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ ในรายวิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจุดมุ่งหมายคือ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม ระหว่างก่อนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม กับการเรียนการสอนแบบปกติ 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม กับการเรียนการสอนแบบปกติ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบวัดความสามารถทักษะการคิดเชิงคำนวณ ในรายวิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 12 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test (Pair-Sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ ในรายวิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.53/87.20 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม และการเรียนการสอนแบบปกติ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงคำนวณก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม และการเรียนการสอนแบบปกติ มีคะแนนทักษะการคิดเชิงคำนวณเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม และการเรียนการสอนแบบปกติ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าการเรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ ในรายวิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม เฉลี่ยเท่ากับ 4.75 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ ในรายวิชา วิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดเชิงคำนวณสูงขึ้น และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด ซึ่งควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูสามารถนำกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานนี้ไปใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามความมุ่งหมายของรายวิชาต่อไป
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1627
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010580001.pdf11.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.