Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1638
Title: Development of the Mathematical Problem Solving Ability Using Applied Cooperative Learning (TAI) and Polya's Problem-Solving Process for Grade 9 Students
การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยการประยุกต์การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Authors: Lalita Yapatang
ลลิตา ยะปะตัง
Titiworada Polyiem
ฐิติวรดา พลเยี่ยม
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI; กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา; ความสามาถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
Team assisted individualization problem-solving processes; Polya's Problem-Solving Process; Mathematical problem-solving ability
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of the study were 1) to investigate the effectiveness of the applied cooperative learning (TAI) and Polya's problem-solving process on grade 9 students’ mathematical problem-solving ability, 2) to compare grade 9 students’ learning achievement before and after learning in the applied cooperative learning (TAI) and Polya's problem-solving process, and 3) to study the students’ satisfaction toward learning in the applied cooperative learning (TAI) and Polya's problem-solving process. The participants were 18 grade 9 students in a Thai secondary school selected by the stratified random sampling method. The instruments were 1) An applied cooperative learning (TAI) and Polya's problem-solving process learning management, 2) a mathematical problem-solving test, 3) a learning achievement test, and 4) a satisfaction questionnaire. The data were analyzed using percentage, mean score, standard deviation, one-sample t-test, paired-samples t-test, and effectiveness test with the criteria of 70. The results of the study indicate that : 1. the learning management designed in toward the applied cooperative learning (TAI) and Polya's problem-solving process was effective in developing students’ mathematic problem-solving ability 2. Students’ learning achievement of surface area and volume in posttest was higher than in pretest, and 3. students were satisfied learning in the learning management designed in toward the applied cooperative learning (TAI) and Polya's problem-solving process.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการประยุกต์การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการประยุกต์การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนยางวิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา 2) แบบทดสอบวัดความสามาถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดความพึงพอใจ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแบบ One-Samples t-test และแบบ Paired-Samples t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้โดยการประยุกต์การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้โดยการประยุกต์การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการประยุกต์การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1638
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010552008.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.