Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1642
Title: Learning Management for Cooperative Integrated Reading and Composition to Promote Creative Writing Ability of Grade 5 Students
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Authors: Jaruwan Sungkachan
จารุวรรณ สังฆะจารย์
Atthapon Intasena
อัฐพล อินต๊ะเสนา
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์
กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เทคนิค CIRC
Ability of Creative Writing
cooperative skills
CIRC technique
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were : 1) To develop the lesson plan by learning using the CIRC cooperative technique for the creative writing ability of Prathom 5 management with an efficiency of 80/80; 2) To compare creative writing ability by using the CIRC cooperative technique of Prathom 5 before and after class; 3) To compare the achievement in creative writing ability by learning using the CIRC cooperative technique of Prathom 5 during, before and after class; 4) To study the students’ opinions about learning using the CIRC cooperative technique The sample used in the study were the Prathom 5/1 of Tessaban 4 Chalermphrakiat School during the second semester of the academic year 2021. Fifteen students were cluster randomly sampling. The tools used in the research consisted of lesson plan for learning using the CIRC cooperative technique, a test of creative writing ability and a questionnaires inquiring students opinions towards learning the CIRC cooperative technique. The collected data were analyzed by mean and standard deviation, t-test dependent analysis. The research findings were as follows. 1. Lesson plan for learning using the CIRC cooperative technique was found to have efficiency at 83.32/83.47 reaching the criteria of 80/80 2. The creative writing ability of students after using the CIRC cooperative technique was significantly higher than before at the .05 level. 3. The learning achievement in creative writing after using the CIRC cooperative technique was significantly higher than before at the .05 level. 4. The opinions of students towards learning the CIRC cooperative technique were highly positive.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถที่มีต่อการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ที่จัดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ที่จัดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาล ๔ เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 15 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถทุกห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC แบบวัดความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t–test dependent)              ผลการวิจัยพบว่า             1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพ 83.32/83.47 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้             2. ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05             3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05             4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1642
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010552017.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.