Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1645
Title: The Study of The Effect of Unplugged Coding Leaning Activity on Computational Thinking Skill of Grade 3 Students
การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Authors: Piyatida Naubol
ปิยธิดา ณ อุบล
Ritthikrai Chai-ngam
ฤทธิไกร ไชยงาม
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การเขียนโค้ดดิ้งโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์
การคิดเชิงคำนวณ
Learning activity
Unplugged Coding
Computational thinking
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this study were 1) to study the effect of unplugged coding learning activity on computational thinking skill of Pratomsuksa 3 students with an efficiency of 70/70, 2) To compare computational thinking skill of Pratomsuksa 3 students before and after participating in unplugged coding learning activity, and 3) To study the satisfaction of Pratomsuksa 3 students of learning activity with unplugged coding approach. The sample group of this research were 43 students in Pratomsuksa 3/7, Anubanmahasarakham School in the second semester of the 2021 academic year, obtained by Simple random sampling method. The research instruments included 1) a learning management plan for Pratomsuksa 3 students with unplugged coding activity which consisted of 12 sub-learning plan of 12 leaning hours, 2) a multiple-choice test for computational thinking skill consisted of 20 items with 4 possible answers for each 3) a satisfaction questionnaire of unplugged coding learning activity with 10 items. The statistics used in data analysis were percentage, standard deviation (S.D.),   the formula E1/E2 (Efficiency) and The Wilcoxon Test.           The findings revealed that           1. The efficiency of learning management plan with unplugged coding learning activity for Pratomsuksa 3 students was 75.69/72.91, reaching the established criteria of 70/70           2. Students who participated in unplugged coding learning activity has a higher level of computational thinking skill, at .05 of a significantly statistic level.           3. The satisfaction of students who participated in unplugged coding learning activity to enhance computational thinking skill was at the highest level. 
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/7 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 43 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding จำนวน 12 แผน รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดการคิดเชิงคำนวณ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และสถิติวิลคอกซัน (The Wilcoxon Test)           ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้           1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.69/72.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 70/70           2. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding มีการคิดเชิงคำนวณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05           3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Unplugged Coding ที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1645
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010552023.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.