Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1648
Title: The development of learning activity of enhancing performance-skill in Dramatic arts on standard Thai dance on Davie’s theory with TikTok application  for Mathayomsuksa 1 students
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์  เรื่องรำวงมาตรฐาน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ร่วมกับ แอปพลิเคชัน TikTok สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  
Authors: Sasina Niyomsuk
ศศิณา นิยมสุข
Titiworada Polyiem
ฐิติวรดา พลเยี่ยม
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์, รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์, แอพพลิเคชั่น TikTok
Performance-skill in Darmatic arts. Davies' Instrcational Model for Psychomotor Domain. Application TikTok
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The aims of this research were 1) to develop Thai standard dancing skills learning activity based on Davies' concept with TikTok application of mathayomsuksa 1 students with 80/80 criteria 2) to compare the performing skills on Thai standard dancing based on Davies' concept with TikTok application of mathayomsuksa 1 students with 80% criteria 3) to study the students' satisfaction with the learning activities of performing skills on Thai standard dancing based on Davies' concept with  TikTok application. The sample used in the research were 35 students from mathayomsuksa 1/13 of Sarakham Pittayakhom School in second semester of 2021 academic year. They were selected by Cluster Random Sampling. The research instruments were (1) Dramatic arts skills Learning Management Plan (2) Dramatic arts skills assessment (3) Student satisfaction questionnaire. The statistics used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation and test the hypothesis using t-test (Dependent Sample). The research has found that               1) The efficiency of the developing activities on Thai standard dancing based on Davies' concept with TikTok application of mathayomsuksa 1 was 83.07/84.52.               2) The result the comparison between the performing skills on Thai standard dancing based on Davies' concept with TikTok application. the students in mathayomsuksa 1 students and 80 percent criteria was 84.52 percent. It is higher than the 80 percent criteria at the .01 level.               3) The Student’s satisfaction  with the learning activities of performing skills on Thai standard dancing based on Davies' concept with TikTok application. was highest level 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐาน ตามแนวคิดของเดวีส์ ร่วมกับ แอพพิเคชั่นTikTok ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐาน ตามแนวคิดของเดวีส์ ร่วมกับ แอพพิเคชั่นTikTok ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐาน ตามแนวคิดของเดวีส์ ร่วมกับ แอพพิเคชั่นTikTok ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/13 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ (2) แบบประเมินทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test  (Dependent  Sample) ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐาน ตามแนวคิดของเดวีส์ ร่วมกับ แอพพิเคชั่นTikTok ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.07/84.52 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด การเปรียบทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐาน ตามแนวคิดของเดวีส์ ร่วมกับ แอพพิเคชั่นTikTok ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 หลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 84.52 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐาน ตามแนวคิดของเดวีส์ ร่วมกับ แอพพิเคชั่นTikTok อยู่ในระดับมากที่สุด   
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1648
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010552033.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.