Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1674
Title: The development of science creativity thinking test for high school students of northeastern Princess Chulabhorn Science High Schools
การพัฒนาแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Authors: Watcharaporn Saenna
วัชราภรณ์ แสนนา
Songsak Phusee - orn
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
ความคิดริเริ่ม
ความคิดยืดหยุ่น
จินตนาการทางวิทยาศาสตร์
เกณฑ์ปกติ
Creativity science
Originally
Flexibility
Imagination science
Normalized T-score
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of the research was to create a scientific creativity measure for students at the upper secondary level. The development of a scientific creativity measurement model for high school students to examine the quality of the Science Creativity Scale for highschool students. Establishing a benchmark for science creativity scores for high school students and the study science creativity level of students in the senior high school of Northeastern Princess Chulabhorn Science High schools. The population of this research was students at the end of the 2021 academic year of Princess Chulabhorn Science High School, Northeastern Region, namely Princess Chulabhorn Science High School Mukdahan, Princess Chulabhorn Science High School Loei, and Princess Chulabhorn Science High School Buriram. The study divided the samples into 3 sections for data collection: The first test was a sample of 96 people to determine the appropriate time to complete the scientific creativity measurement, then keep and analyze the result to improve the test. The second test consisted of 96 samples for the Index of difficulty (P), discrimination (r), and Reliability of the whole scientific creativity scale and the third test group. A sample of 360 students was applied to create the Norms of the science creativity scale for high school students and to study science creativity. The results of this research were as follows: 1) The Creativity Thinking Test Set In Science for High School Students consists of 8 questions. The measure covers 3 areas, namely the initiative aspect. Originality, Flexible thinking, and Imagination Science Optimal measurement time at 7 minutes. The results of verification of creative thinking for high school students. Found that the Index of Congruence (IOC) was between 0.60 - 0.8 2) The Index difficulty (P) was from 0.387 to  0.677, the discrimination (r) was from 0.208 to 0.448, and the confidence (α) was categorized into the conceptual aspects: Origination, flexibility, and imagination science were 0.747, 0.704, and 0.786 respectively. 3) The normalized T-score of Science creativity for upper secondary school students had 5 levels of creativity: very high,high, moderate, low, and very low. 4) The study science creativity level of students in the upper secondary level of northeastern Princess Chulabhorn Science High Schools from 360 students.the result found that the students' science creativity was at a low, moderate, high,very low, and very high level were 30.56, 29.45, 26.94, 8.61 and 4.44 percentage respectively.
การสร้างแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สร้างเกณฑ์ปกติของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรของงานวิจัยในครั้งนี้คือนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยมุกดาหาร โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยเลย และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 3 ครั้ง ดังนี้ การทดสอบครั้งที่ 1 ตัวอย่างจำนวน 96 คน เพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และทำการปรับปรุงแบบทดสอบ การทดสอบครั้งที่ 2 ตัวอย่างจำนวน 96 คน  เพื่อหาค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่น (α) ของแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ทั้งฉบับ และการทดสอบครั้งที่ 3 ตัวอย่างจำนวน 360 คน เพื่อนำมาสร้างเกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และนำมาศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยข้อคำถาม 8 ข้อ ใช้วัดครอบคลุม 3 ด้านคือ ด้านความคิดริเริ่ม (Originality) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) และจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ (Imagination Science) มีระยะเวลาในการทำแบบวัดที่เหมาะสมที่ข้อละ 7 นาที  ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้านความตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60 - 0.80 2) ค่าความยากง่าย (P) ตั้งแต่  0.387 ถึง 0.677  อำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.208 ถึง 0.448 และค่าความเชื่อมั่น (α) แบ่งออกเป็น  ด้านความคิดริเริ่ม ความคิดยืดหยุ่น และด้านจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ เท่ากับ 0.747 , 0.704 และ 0.786 ตามลำดับ 3) เกณฑ์ปกติของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีระดับความคิดสร้างสรรค์ 5 ระดับได้แก่ ระดับสูงมาก , ระดับสูง , ระดับปานกลาง , ระดับต่ำ และ ระดับต่ำมาก และ 4) ระดับความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 360 คน พบว่านักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับต่ำ ระดับปานกลาง ระดับสูง ระดับต่ำมาก และระดับสูงมาก ร้อยละ 30.56, 29.45, 26.94, 8.61 และ 4.44  ตามลำดับ
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1674
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010585007.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.