Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1684
Title: | Symbols for decorating Buddhist places to promote cultural tourism : a case study of Wat Pa Sikunaram, Ban Cheet Subdistrict, Ku Kaew District, Udon Thani Province คติสัญลักษณ์ในการตกแต่งพุทธสถานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาวัดป่าศรีคุณาราม ตำบลบ้านจีต อำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี |
Authors: | Kawinrat Suwannaphakdee กวินรัตน์ สุวรรณภักดี Sithisak Jupadaeng สิทธิศักดิ์ จำปาแดง Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Keywords: | คติสัญลักษณ์ การตกแต่งพุทธสถาน การส่งเสริม ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม วัดป่าศรีคุณาราม Symbols Decorating Buddhist places Promote Cultural tourism Wat Pa Sikunaram |
Issue Date: | 18 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The objectives of this study were to 1) History and development of local Buddhist sites at Wat Pa Sikunaram; 2) Symbols and elements in the decoration of the Buddhist place and 3) Guidelines for promoting cultural tourism of Wat Pa Srikunaram. The researcher used a qualitative research methodology to study the data from the documents and the field. 60 respondents comprising 1) Key Informants 10 people 2) Casual Informants 10 3) General Informants 40 people; Data from documents and fieldwork were analyzed and presented by means of descriptive analysis. The results are as follows. 1) Wat Pa Si Khun Naram, affiliated with the Faculty of Dhammayut, has a guideline for calmness and introspection according to the style of Luang Pu Man Phurithatto. When he was still alive, he advised his disciples to go on a pilgrimage to the temple as the main travel guide in the forests. But any place that considers it, therefore stays and treats; Villagers were invited to stay permanently and built a permanent temple. After his death, the believers built a museum building to present the history and preserve the relics. Attabikhan utensils are displayed for interested parties to learn. Since then, when the disciples of Phra Thera Achan have continued to create Established in 1951, the temple has continued to evolve. 2) The symbols used to decorate Buddhist places are contemporary works, consisting of a cloister, a pavilion, relics, a Mekong arch. The architecture draws on religious stories and local traditions through its distinctive paintings, sculptures and ornamental arrangements. 3)
Guidelines for promoting cultural tourism of Wat Pa Srikunaram; should consider the importance of architecture decorated with symbolism, giving meaning and keeping it always beautiful. Temples should regularly invite people to participate in activities and flower decorations around the relics and other areas should be taken care of as a resting place for visitors. In conclusion, this research can be used as a data for the development of temples to become tourist attractions. งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ไว้เพื่อศึกษา 1) ประวัติพัฒนาการการพุทธสถานท้องถิ่นวัดป่าศรีคุณาราม 2) คติสัญลักษณ์และองค์ประกอบในการประดับตกแต่งพุทธสถาน 3) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของวัดป่าศรีคุณาราม ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 60 คน ซึ่งประกอบไปด้วย 1) กลุ่มผู้รู้ (Key Informants) จำนวน 10 คน 2) ผู้ปฏิบัติ (Casual Informants) จำนวน 10 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 40 คน วิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็นที่กำหนดไว้ในกรอบการวิจัย นำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า 1) วัดป่าศรีคุณนารามสังกัดคณะธรรมยุตมีแนวทางการปฏิบัติด้านสมถะและวิปัสสนาตามตามแบบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สมัยที่ท่านยังมีชีวิตแนะนำให้พระผู้เป็นศิษย์ถือธุดงค์เข้าวัดเป็นหลักท่องเที่ยวไปตามป่าเขา แต่สถานที่ใดพิจารณาจึงพักปฏิบัติต่อ ชาวบ้านเมื่อเกิดศรัทธานิมนต์ให้อยู่ประจำจึงสร้างวัดที่ถาวร ภายหลังท่านได้มรณภาพลงผู้เกิดศรัทธาจึงได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์นำเสนอประวัติและเป็นที่เก็บรักษาอัฐิธาตุ อัฐบริขารเครื่องใช้จัดแสดงให้ผู้สนใจได้เรียนรู้ นับจากนั้นมาเมื่อลูกศิษย์ของพระเถระอาจารย์ก็นิยมสร้างกันต่อเนื่องมา วัดก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2494 วัดได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง 2) คติสัญลักษณ์ที่ใช้ประดับตกแต่งพุทธสถานเป็นงานร่วมสมัย ประกอบไปด้วย กุฏิ ศาลาการเปรียญ พระธาตุ ซุ้มประตู้โขง สถาปัตยกรรมดังกล่าวได้นำเอาเรื่องราวทางศาสนาและประเพณีท้องถิ่นโดยวิธการเขียนภาพจิตรกรรม ประติมากรรม และการจัดส่วนไม้ประดับที่โดดเด่น 3) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววัดควรพิจารณาให้ความสำคัญในด้านสถาปัตยกรรมที่ถูกประดับตกแต่งด้วยคติสัญลักษณ์โดยให้ความหมายและดูแลให้สวยงามเสมอ วัดควรมีการเชิญชวนให้ประชาชนเข้ากิจกรรมอย่างสม่ำเสมอและควรมีการดูแลไม้ดอกไม้ประดับรอบบริเวณพระธาตุและบริเวณอื่นเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนแก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม โดยสรุปงานวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการพัฒนาวัดเพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้ |
Description: | Master of Arts (M.A.) ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1684 |
Appears in Collections: | Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59012180005.pdf | 9.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.