Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1685
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Sunaimet Sripraya (Sasanasiri) | en |
dc.contributor | สุนัยเมธ ศรีประย่า (สาสนสิริ) | th |
dc.contributor.advisor | Somkhit Suk-erb | en |
dc.contributor.advisor | สมคิด สุขเอิบ | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science | en |
dc.date.accessioned | 2022-06-23T15:35:32Z | - |
dc.date.available | 2022-06-23T15:35:32Z | - |
dc.date.issued | 18/5/2022 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1685 | - |
dc.description | Master of Arts (M.A.) | en |
dc.description | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) | th |
dc.description.abstract | A study on the development of the Phra That Tourist Route for Cultural Tourism of Khon Kaen Province The researcher defined research areas specifically in Khon Kaen Province, consisting of 3 districts, comprising Muang District, Nam Phong District and Kranuan District. which is a cultural area with important Phra That Chedi of Khon Kaen Province connected in the same path Makes it easy to travel to pay respect and have historical relics of Buddhism that are linked to Phra That Phanom. Nakhon Phanom Province Starting at Mueang Khon Kaen District, consisting of 1) Phra That Nakhon Doem, Wat That Phra Aram Luang, 2) Phra Mahathat Ratchamatchima Chaloem Phrakiat. 3) Phra Mahathat Kaen Nakhon Anusorn Sathuchon (9-storey chedi), Wat Nong Wang, Phra Aram Luang 4) Phra Maha Chedi Si Trai Lokthat Wat Thung Setthi Later, in the Nam Phong district, consisted of 1) Phra That Kham Kaen, Jetiyaphum Temple 2) Phra Thutangka Chedi. Wat Tham Pha Daeng Pha Nimit and in the area of Kranuan District is Phra Maha Chedi Si Wichitkan Wat Pa Chanmanee (Phu Kratae), a total of 7 places with history Location and environment The form and structure of Phra That Chedi leading to the cultural tourism route of Phra That Chedi in Khon Kaen Province Able to summarize the history of the 7 relics, namely the history and cause of the creation of the relics This is to enshrine the relics of the Lord Buddha. and the relics of the Arahants, the disciples of the Lord Buddha, as well as the relics of the masters which was built to be a place for people to worship and wish to enter Nirvana in the future The oldest relic is Phra That Kham Kaen, which is over 2000 years old and has been registered as an ancient by the Fine Arts Department to restore and care for. As for the other relics that were built in the latter era, they all have the same purpose. is to commemorate the virtues of Lord Buddha who attained enlightenment and preached religion in order to anchor the minds of Buddhists Which in the belief of Thai people believe that what they worship and desire is an invisible power hoping for safety and well-being in life, therefore praying for worship therefore became a faith until the present The results of research on current conditions and problems in tourism management of Wat Phra That Chedi Temple The tourism management of the temples within Mueang Khon Kaen District is similar, which is that the temple has a good overall physical management condition, is peaceful, cool, shady, clean, suitable for practicing dharma. and make merit, keep the precepts, develop the mind and pray keep the toilet clean Efficient organization of various stores Parking places can accommodate Buddhists sufficiently. by modifying to fit the context There is enough rest for the service users. And public relations began to spread throughout the country. As for the outer temples such as Wat Tham Pha Daeng Pha Nimit It is a temple on the periphery that is well managed. Whether it is a physical appearance that is physically surrounded by the temple with more than 100 rai of beautiful nature and has a culture of austerity, peace and order according to the teachings of Phra Sai Wat Pa There are enough accommodation buildings including parking spaces and a large enough budget to manage. There are personnel who are very knowledgeable, constantly turning and taking care of the temple. There will be only Wat Pa Chanmanee (Phu Kratae) in the distance, making it impossible for tourists and Buddhists to reach. As a result, the management possibilities are limited. | en |
dc.description.abstract | การศึกษาการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสายพระธาตุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงทางวัฒนธรรม ของจังหวัดขอนแก่น ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่การวิจัยแบบเจาะจงในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 3 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอน้ำพองและอำเภอกระนวน ซึ่งเป็นพื้นทางวัฒนธรรมที่มีพระธาตุเจดีย์ที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่นเชื่อมต่อไปในเส้นทางเดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการเดินทางไปกราบสักการะและมีพระธาตุที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาที่เชื่อมโยงไปยังพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยเริ่มที่อำเภอเมืองขอนแก่น ประกอบด้วย 1) พระธาตุนครเดิม วัดธาตุ พระอารามหลวง 2) พระมหาธาตุราชมัชฌิมาเฉลิมพระเกียรติ วัดกลาง 3) พระมหาธาตุแก่นครอนุสรณ์สาธุชน(เจดีย์ 9 ชั้น) วัดหนองแวง พระอารามหลวง 4) พระมหาเจดีย์ศรีไตรโลกธาตุ วัดทุ่งเศรษฐี ต่อมาในพื้นที่อำเภอน้ำพอง ประกอบด้วย 1) พระธาตุขามแก่น วัดเจติยภูมิ 2) พระธุตังคเจดีย์ วัดถ้ำผาแดงผานิมิต และในพื้นที่อำเภอกระนวน คือ พระมหาเจดีย์ศรีวิจิตรการ วัดป่าจันทรมณี (ภูกระแต) รวมทั้งสิ้น 7 สถานที่ ซึ่งมีประวัติความเป็นมา ที่ตั้งและสภาพแวดล้อม รูปแบบและโครงสร้างของพระธาตุเจดีย์อันนำไปสู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมสายพระธาตุจังหวัดขอนแก่น สามารถสรุปความเป็นมาขององค์พระธาตุทั้ง 7 แห่งคือประวัติความเป็นมาและมูลเหตุของการสร้างพระธาตุ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและอัฐิธาตุของพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้าตลอดจนอัฐิธาตุของเกจิอาจารย์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ให้ผู้คนได้สักการะกราบไหว้ปรารถนาปวารณาตนเข้าสู่พระนิพพานในอนาคตกาลเบื้องหน้า โดยพระธาตุที่เก่าแก่ที่สุดคือพระธาตุขามแก่นที่มีอายุมากกว่า 2000 ปีและได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณจากกรมศิลปากรเข้ามาบูรณะและให้การดูแล ส่วนพระธาตุองค์อื่นที่สร้างขึ้นมาในยุคหลังก็ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้และประกาศศาสนาเพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ซึ่งในความเชื่อของคนไทยเชื่อว่าสิ่งที่บูชาและปรารถนาเป็นอำนาจที่มองไม่เห็นหวังความปลอดภัยและความผาสุกในชีวิตจึงทำการอ้อนวอนบูชา จึงเกิดเป็นความศรัทธามาจวบจนปัจจุบัน ผลการวิจัยสภาพปัจจุบันและปัญหาบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยววัดพระธาตุเจดีย์ สภาพการจัดการท่องเที่ยวของวัดที่อยู่ภายในตัวอำเภอเมืองขอนแก่นนั้นมีสภาพที่ใกล้เคียงกันคือวัดมีสภาพการจัดการด้านกายภาพโดยภาพรวมดี มีความสงบ ร่มเย็น ร่มรื่น สะอาด ควรแก่การประพฤติปฏิบัติธรรม และทำบุญรักษาศีลเจริญจิตภาวนา รักษาความสะอาดห้องสุขา การจัดระเบียบร้านค้าต่าง ๆ มีประสิทธิภาพ สถานที่จอดรถสามารถรองรับพุทธศาสนิกชนได้อย่างเพียงพอโดยปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบท ที่พักผ่อนมีพอต่อผู้ใช้บริการ และการประชาสัมพันธ์เริ่มมีแพร่หลายทั้งในประเทศ ส่วนวัดที่อยู่ภายรอบนอกอย่างวัดถ้ำผาแดงผานิมิต ถือเป็นวัดที่อยู่รอบนอกที่มีการบริหารจัดการได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางกายภาพที่มีกายภาพห้อมล้อมวัดด้วยธรรมชาติอันงดงามมากกว่า 100 ไร่และมีวัฒนธรรมการปฏิบัติอย่างสมถะ สงบ เรียบร้อย ตามปฏิปทาของพระสายวัดป่า มีอาคารที่พักมากเพียงพอรวมไปถึงสถานที่จอดรถและงบประมาณที่มากมายเพียงพอต่อการบริหารจัดการ มีบุคลากรที่มากด้วยความรู้เข้ามาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันดูแลวัดอย่างไม่ขาดสาย จะมีเพียงแต่วัดป่าจันทรมณี (ภูกระแต) ที่อยู่ห่างไกลทำให้นักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนไปไม่ถึง ส่งผลให้การบริหารจัดการเป็นไปได้อย่างจำกัด | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การพัฒนา | th |
dc.subject | เส้นทางท่องเที่ยว | th |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงทางวัฒนธรรม | th |
dc.subject | Development | en |
dc.subject | Tourist Route | en |
dc.subject | Cultural Tourism | en |
dc.subject.classification | Social Sciences | en |
dc.title | A study on the development of the Phra That Tourist Route for Cultural Tourism of Khon Kaen Province | en |
dc.title | แนวทางการบริหารจัดการเส้นทางสายพระธาตุเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม จังหวัดขอนแก่น | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62012151004.pdf | 5.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.