Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/169
Title:  The Effects of Inductive Learning Activity on Mathematical Concepts and Mathematical Reasoning Ability of Relation on Pythagoras Theorem of Mathayomsuksa 2 Students
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Authors: Uraiwan Comemuang
อุไรวรรณ คำเมือง
Nongluk Viriyapong
นงลักษณ์ วิริยะพงษ์
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย / มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ / ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
Inductive learning activity / Mathematical concepts / Mathematical reasoning ability
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This purposes of this research were 1) develop  the inductive lesson plan which encourage the mathematical concept and mathematical reasoning ability of Pythagoras theorem of Mathayomsuksa 2 students based on 75/75 criteria, 2) to study the effectiveness index of learning activity of Pythagoras theorem of Mathayomsuksa 2, 3) to compare the mathematical concept of Pythagoras theorem of Mathayomsuksa 2 after learning by inductive model with 70 percent criteria, 4) to compare the mathematical reasoning ability Pythagoras theorem of Mathayomsuksa 2 after learning by inductive activity with 70 percent criteria. The subjects of this study were 40 students (1 classes) in the 2nd semester of academic year 2018 at Buriram Pittayakom school, Buriram, the secondary educational office area 32. They samples were randomly selected by using cluster random sampling. Students in each classroom were divided into proficient group, intermediate group and low-level group. The instruments used for collecting data were 1) 18 lesson plans of the mathematics learning activity base on Pythagoras theorem of Mathayomsuksa 2 2) the achievement test were 20 four-alternative items of mathematics, it has difficulty (p) from 0.4 to 0.625 the discrimination (B) in each item is from 0.25 to 0.8 the reliability at 0.928 3) 5 items of the subjective exam writing of the mathematical concept Pythagoras theorem of Mathayomsuksa 2, it has difficulty (p) from 0.425 to 0.6 the discrimination (B) in each item is from 0.55 to 0.7 the reliability at 0.832   4) 5 items of the subjective exam writing of mathematic reasoning ability Pythagoras theorem of Mathayomsuksa 2, it has difficulty (p) from 0.35 to 0.525 the discrimination (B) in each item is from 0.45 to 0.7 the reliability at 0.844. statistics used in the research include: a percentage, a mean, a standard deviation and t – test for one sample. The research findings were as follows; 1. The inductive lesson plan which encourage the mathematical concept and mathematical reasoning ability of Pythagoras theorem of Mathayomsuksa 2 students found that its efficiency were 80.41/77.63. It was in the setting criteria 75/75. 2. The effectiveness index of learning activity of Pythagoras theorem of Mathayomsuksa 2 found that there were 0.6175. it showed that students had learning progress were 61.75. 3. The mathematical concept of Pythagoras theorem of Mathayomsuksa 2 after learning by inductive model was statistically higher 70 percent criterion at 0.5 level. 4. The mathematical reasoning ability Pythagoras theorem of Mathayomsuksa 2 after learning by inductive model was statistically higher 70 percent criterion at 0.5 level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย กับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) โดยแต่ละห้องเรียนจัดการเรียนรู้แบบคละความสามารถ กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน คละกันไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบอุปนัย รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 18 แผน 2) แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.4 ถึง 0.625 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.8 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.928 3) แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อัตนัยแบบเขียนตอบ จำนวน 5 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.425 ถึง 0.6 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.55 ถึง 0.7 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.832 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อัตนัยแบบเขียนตอบ จำนวน 5 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.525 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.450 ถึง 0.7 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.844 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t – test for one sample ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.41/77.63 เป็นไปตามที่กำหนดไว้คือ 75/75 2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบอุปนัย เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 0.6175 ซึ่งมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 61.75 3. มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัสของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/169
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010283006.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.