Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1698
Title: Chuichai Nangmanee : performance technique of Boonnak Thantaranon
ฉุยฉายนางมณี : กลวิธีการแสดงของบุนนาค ทรรทรานนท์                
Authors: Kanthida Pungpo
กานท์ธิดา พึ่งโพธิ์
Ourarom Chantamala
อุรารมย์ จันทมาลา
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: ฉุยฉายนางมณี
กลวิธีการแสดง
Chuichai Nangmanee
Performance techniques
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:       This research aims to 1) to study the history and works in the field of broadcast performance and the important role of Ajarn Boonnak Thantaranon 2) to study the dance techniques and the outside theatrical dance (กระบวนท่ารำละครนอก - the Lakorn Nork), the story of Kaew Nama, the Chuichai Nangmanee series by Ajarn Boonnak Thantaranon, from research papers and field data. The sample group included 2 people of experts in Thai dance, a group of 5 students who received the role of a dance drama from Ajarn Boonnak Thantaranon, a group of 5 practitioners and 10 general informants, in a total of 22 people. Tools used in the research consists of structured and unstructured surveys, observations, and interviews. Then present the research results by descriptive analysis.       The results showed that 1) Ajarn Boonnak Thantaranon is an artist who specializes in Thai dance, gifted with theatrical arts. When the experience has been accumulated to become the identity of the performance, it is a unique trick of himself. He is an artist who has a beautiful dancing style. He is also the one who preserves and inherits the ancient dance movements until the present 2) Ajarn Boonnak Thantaranon invented the dance moves that show off the beauty of Nangmanee. There will be a dance style that is different from other Chuichai sets, more than showing off and showing satisfaction that can transform body transfigure beautifully. There was also the idea of inventing gestures to mimic the horse gesture, mixed into the show by striking the chorus in the beautiful Thai dance postures.
       การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติและผลงานด้านการถ่ายทอด ผลงานด้านการแสดง และบทบาทสำคัญ ของอาจารย์บุนนาค ทรรทรานนท์ และเพื่อศึกษากลวิธีการรำและกระบวนท่ารำละครนอก เรื่องแก้วหน้าม้า ชุด ฉุยฉายนางมณี ของอาจารย์บุนนาค ทรรทรานนท์ จากเอกสารงานวิจัยและข้อมูลภาคสนามจากลุ่มตัวอย่างได้แก่กลุ่ม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางด้านนาฏศิลป์ไทย จำนวน 2 คน กลุ่มศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดบทบาทละครรำจากอาจารย์ บุนนาค ทรรทรานนท์ จำนวน 5 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 5 คน และกลุ่มทั่วไป 10 คน รวมทั้งสิ้น 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วยแบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ ที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง และนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์        ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์บุนนาค ทรรทรานนท์ เป็นศิลปินที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนาฏศิลป์ไทย เป็นผู้มีพรสวรรค์ด้านศิลปะการแสดงละคร เมื่อเกิดการสั่งสมประสบการณ์จนกลายมาเป็นอัตลักษณ์ทางการแสดงนับเป็นกลเม็ดเฉพาะตัวของอาจารย์บุนนาค ทรรทรานนท์ ท่านเป็นศิลปินผู้หนึ่งที่มีลีลากระบวนท่ารำที่งดงาม และเป็นผู้อนุรักษ์สืบทอดดกระบวนท่ารำโบราณจนมาถึงปัจจุบัน อาจารย์บุนนาค ทรรทรานนท์ได้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้น เป็นการแสดงกระบวนท่ารำที่เป็นการรำอวดความงามของตัวนางมณี จะมีลีลาท่ารำที่แตกต่างไปจากฉุยฉายชุดอื่นๆ ท่ารำที่นอกเหนือจากการรำอวดโฉม และการแสดงความพึงใจที่สามารถแปลงกายให้ออกมาอย่างสวยงาม แล้วยังมีการคิดประดิษฐ์ท่าทางการเลียนแบบกริยาของม้า เข้ามาผสมผสานกับการแสดง โดยการตีบทในท่ารำของนาฏศิลป์ไทยอย่างสวยงาม และยังได้รับความยินยอมจากผู้ชม จนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนในอดีตว่าเป็น “นางเอก รองนางเอกของกรมศิลปากร”  และสามารถนำมาถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนากลวิธีในการแสดงเพื่อให้เกิดสุนทรียภาพสวยงาม และเป็นมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชาติสืบไป
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1698
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010683001.pdf7.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.