Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1700
Title: The essence of the Northern danc by Chaweewan Phantu National Artist
นาฏยลักษณ์การฟ้อนอีสานของ ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ
Authors: Sutiwat Jaemsai
สุธิวัฒน์ แจ่มใส
Pattamawadee Chansuwan
ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: นาฏยลักษณ์
ฟ้อนอีสาน
ศิลปินแห่งชาติ
The essence
Thai Northern Dance
The National Artist
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:           Research on the identity dance of Thai Northern Dance by Chaweewan Phanthu, a national artist. This is qualitative research, and its objectives were 1) to study the development in the performing arts of Chaweewan Phanthu, the national artist and 2) to study the identity dance of Thai Northern Dance by Chaweewan Phanthu. The source that is studied is research papers and field data through surveys, observations, and interview. The tools used for data collection were the observation form and the interview form. The sample group included a group of knowledgeable people, a group of practitioners, and general people. Then present the results of data analysis by the descriptive analysis method.           The results showed that outstanding dance performance by Mo Lam Chaweewan Phanthu, a national artist was created from the wisdom accumulated from the master Mo Lam artists of the Northeastern region and did not modify according to the era, maintain the traditions of the traditional folk dance. That dance is the creation of the identity of Thai Northern dance based on the structure of Mo Lam's dance posture and the basic gestures of the people of Thai Northern that express their way of life, traditions, and daily play. Mo Lam Chaweewan Phanthu's dance is neat and soft but moves with the power hidden within. It is a symbol that represents the women of Thai Northern who have a style of Thai Northern dancing called "Dance like a heroine". The dancing posture shows skill which is known as high skill in body movement in different parts of the body and arranged to have a perfect relationship and balance. In addition, the definition of the Thai Northern Dance is "bow down" which is used in performances such as Lum Sing or Seng dance. The bending of the body back’s an arc to the starting point at the level of 60-80 degrees, the "wide dance" is used in the style of the dance. Level the hand from the starting point about 50 degrees, then use the arm part to move rhythmically from the starting point to the shoulder at about 90 degrees and up about 180 degrees above the head level. Full body parts, known as "dance to the fullest", will be used to support both types of performances, Seng and Forn. It can also be considered that this definition is the heart of the Thai Northern Dance.           It can be concluded that "bow low, wide dance, do not hold yourself back" by Chaweewan Phanthu, a national artist is a model of the basic identity of the dance. It makes Thai Northern Dance culture with the beauty of the local style and the ability to express one's identity clearly
          การวิจัยเรื่องนาฏยลักษณ์การฟ้อนอีสานของ ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ การวิจัย ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการในด้านศิลปะการแสดงของฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษานาฏยลักษณ์การฟ้อนอีสานของฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ โดยการศึกษาเอกสารงานวิจัย และข้อมูลภาคสนาม โดยการสำรวจ สังเกต และสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ บุคคลทั่วไป แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์           ผลการวิจัยพบว่า นาฏยลักษณ์การฟ้อนที่โดดเด่นของหมอลำฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ เกิดจากภูมิปัญญาที่สั่งสมมาจากศิลปินหมอลำชั้นครูของภาคอีสาน ไม่ดัดแปลงปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยคงรักษาขนบการลำ การฟ้อนที่เป็นแบบดั้งเดิมของท้องถิ่น นาฏยลักษณ์ดังกล่าวเป็นการสร้างอัตลักษณ์การฟ้อนอีสานที่มีรากฐานมาจากโครงสร้างท่าฟ้อนของหมอลำ และท่าทางพื้นฐานของคนอีสานที่แสดงออกในวิถีชีวิต ประเพณี และการละเล่นในชีวิตประจำวันมาผสมผสานกัน การฟ้อนของหมอลำฉวีวรรณ พันธุ ท่าฟ้อนมีความเรียบร้อยนุ่มนวล แต่เคลื่อนไหวด้วยพลังที่แฝงไว้ภายในเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงกุลสตรีอีสานได้อย่างเด่นชัด เป็นผู้มีลีลาท่าทางการฟ้อนอีสานที่เรียกว่า “ฟ้อนแบบนางเอก” ท่าฟ้อนแสดงให้เห็นถึงความชำนาญซึ่งเรียกได้ว่ามีทักษะสูงในการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีการจัดวางท่าทางให้มีความสัมพันธ์และสมดุลกันอย่างลงตัว นอกจากนี้คำนิยามของการฟ้อนอีสาน คือ “ก้มต่ำ” จะใช้ในการแสดงประเภทลำเซิ้ง หรือฟ้อนเซิ้ง การก้มของลำตัวให้บริเวณส่วนโค้งของหลังจากจุดตั้งต้นให้อยู่ในระดับ 60-80 องศา ส่วน “รำกว้าง” จะใช้ในลักษณะลีลาท่าทางของการฟ้อน ระดับของมือจากจุดตั้งต้นโดยประมาณ 50 องศา จากนั้นใช้ส่วนของแขนเคลื่อนไหวลีลาท่าทางจากจุดตั้งต้นถึงระดับไหล่ประมาณ 90 องศาและขึ้นสูงเหนือระดับศีรษะประมาณ 180 องศา “ไม่หวงตัว” คือ การใช้พลังในการเคลื่อนไหวสรีระร่างกายส่วนต่าง ๆ อย่างเต็มตัว หรือเรียกว่า “รำให้สุดตัว”จะใช้ประกอบการแสดงทั้ง 2 ประเภท คือ การเซิ้งและฟ้อน ยังนับได้ว่าคำนิยามนี้เป็นหัวใจสำคัญของการฟ้อนพื้นเมืองอีสาน           สรุปได้ว่า “ก้มต่ำ รำกว้าง ไม่หวงตัว” ของฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ คือแบบอย่างนาฏยลักษณ์พื้นฐานของการฟ้อน ที่จะทำให้วัฒนธรรมการฟ้อนอีสานมีความงามตามแบบเฉพาะของท้องถิ่น สามารถแสดงความเป็นตัวตนได้อย่างชัดเจน 
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1700
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010683005.pdf14.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.