Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1701
Title: The Creative Performing Arts of Country Bandsin King's Music Festival
การสร้างสรรค์ นาฏกรรมประกอบวงดนตรีลูกทุ่ง ในงานมหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชัน
Authors: Surasak Huiprakhon
สุรศักดิ์ ฮุยประโคน
Ourarom Chantamala
อุรารมย์ จันทมาลา
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: การสร้างสรรค์
นาฏกรรม
วงดนตรีลูกทุ่ง
งานมหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชัน
Creative
Performing Arts
Country Bands
King is Music Festival
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:          The research of The Creative Performing Arts of Country Bands in King's Music Festival. The objective of this research were: 1) To study the history of Country Bands at the King's Music Festival. 2) To investigate the creativities of performing arts of country bands at the King’s Music Festival. This research was qualitative research. that those researchers were studying data from research papers and field data. The researchers were selected by using a specific selection method using in-depth interviews from the sample population. The sample group was the expert 3 people, operating 12 people and general 20 people all count 35 people. The instrument of this research were; the survey questionnaire, the non-participant observation questionnaire, the structured and unstructured interviews. the research findings were presented by descriptive analysis.          The results of the study found that the management of the creative performing arts of country bands in King's Music Festival by the Buriram municipality and Buriram provincial administrative organization. The creative performing arts of country bands in King's Music Festival was held from 2006 until the present. the format of a festival is 13-15 times had separately in 2 types were; type A the country bands which receive a national prize, type B the newly country bands and non-experienced in national contest field. This festival was held every year from 1st-5th of December at Buriram Castle's multipurpose courtyard, Chang Arena. According to the researchers found that the creative performing arts of country bands in King's Music Festival had 9 parts of the procedure were; the concept, the song selected, the singing and musician selected, the dancer selected, the dance create, the costume, the props, the light, and the practicing. The country bands had a process to create dance in similarity that dance from the interpretation of the music content in which non-interpretation and dance supplementary or using gestures all music content. This research was using the choreography to act as the main structure and resulted from capturing the main points of the music content to create the choreography through dancing, setting up booths, or making images that convey as clearly as possible.           To summarize this research, the creative performing arts of country bands in King's Music Festival he creative performing arts was the contest certification area of the Chingcha Sa Wan Contest. This festival showed changes in the country bands began from this contest in the King’s music festival which underneath risk of losing reflected the change of tourism format in globalization. In addition, this festival was driving the economic mechanism of Buriram province. As a result, Buriram province has to take action by finding traditions, exhibitions, festivals, and more activities for touring society. the stimulating the economy tourism and supporting the growth of the city of Buriram Province. It is also a platform for creating value, disseminating, and creating various types of local cultural resources to bring them back to life.
การวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์นาฏกรรมประกอบวงดนตรีลูกทุ่งในงานมหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชัน มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของงานมหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชัน 2. เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์นาฏกรรมประกอบวงดนตรีลูกทุ่งในงานมหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชัน  เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยและข้อมูลภาคสนาม โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจงด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชากรกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้รู้ 3 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ 12 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป 20 คน รวมทั้งสิ้น 35 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสำรวจ แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างและนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า การจัดงานมหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชันชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ร่วมกับจังหวัดบุรีรัมย์และองค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งการจัดงานครั้งที่ 13-15 ปี พ.ศ. 2560-2562 มีการแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้     1. ประเภท ก วงที่เคยได้รับรางวัลระดับประเทศ 2. ประเภท ข วงดนตรีลูกทุ่งหน้าใหม่ ยังไม่มีประสบการณ์ในการแข่งขันเวทีระดับประเทศ จัดขึ้นในวันที่ 1-5 ธันวาคมของทุกปี ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ Buriram Castle สนามช้างอารีน่า โดยพบว่าการสร้างสรรค์นาฏกรรมประกอบวงดนตรีลูกทุ่งในงานมหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชัน มีกระบวนการ 9 ขั้นตอนดังนี้ การสร้างแนวคิด (Concept) การคัดเลือกบทเพลง (Song) การคัดเลือกนักร้องและนักดนตรี (Singer and Musician) การคัดเลือกแดนเซอร์ (Dancer) กระบวนการสร้างสรรค์ท่าเต้น (Dance Create) การออกแบบเครื่องแต่งกาย (Costume) อุปกรณ์การแสดง (Props) แสง สี (Light) และการฝึกซ้อมการแสดง (Practice)  เพื่อการสร้างสรรค์นาฏกรรมประกอบวงดนตรีลูกทุ่งในงานมหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชัน โดยวงดนตรีลูกทุ่งมีกระบวนการสร้างสรรค์ท่าเต้นในรูปแบบที่เหมือนกัน คือ การเต้นจากการตีความหมายของเนื้อหาเพลง โดยไม่ตีความแล้วเต้นประกอบต่อคำร้องในวรรคนั้น ๆ หรือใช้ท่าเต้นล้วน ๆ ทั้งบทเพลง  แต่เพียงแค่ใช้ท่าเต้นดำเนินเป็นโครงสร้างหลักและเกิดจากการจับประเด็นสำคัญของเนื้อหาเพลงมาสร้างสรรค์ท่าเต้น ผ่านการเต้น ตั้งซุ้มหรือทำภาพที่สื่อถึงให้ชัดเจนที่สุด โดยสรุป การสร้างสรรค์นาฏกรรมประกอบวงดนตรีลูกทุ่งในงานมหกรรมดนตรีเทิดไท้คีตราชันเป็นพื้นที่รองรับของการแข่งขันรายการชิงช้าสวรรค์คอนเทสต์ ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของวงดนตรีลูกทุ่งซึ่งเกิดจากการประกวดบนเวทีแห่งนี้ ภายใต้ภาวะความเสี่ยงสูญหาย สะท้อนให้เห็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการท่องเที่ยวให้ทันต่อสภาพโลกาภิวัตน์ ตลอดจนเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงส่งผลให้จังหวัดบุรีรัมย์ต้องดำเนินการจัดหาประเพณี พิธีกรรม มหกรรม เทศกาล กิจกรรมที่รองรับสังคมสำหรับการท่องเที่ยวในแต่ละเดือน เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและรองรับกับการเจริญเติบโตของเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ และยังเป็นเวทีที่สร้างคุณค่า เผยแพร่ สร้างสรรค์ทรัพยากรวัฒนธรรมท้องถิ่นประเภทต่าง ๆ ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1701
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010683006.pdf14.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.