Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1703
Title: A model of fish conservation in community water resources in the South Northeast by Buddhist way
รูปแบบการอนุรักษ์ปลาบริเวณแหล่งน้ำชุมเขตอีสานใต้โดยวิถีพุทธ
Authors: Thing Tonglo (Mahissaro)
ติ่ง ทองหล่อ (มหิสสฺโร)
Somkhit  Suk-erb
สมคิด สุขเอิบ
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: รูปแบบ
การอนุรักษ์ปลา
แหล่งน้ำชุมชน
อีสานใต้
วิถีพุทธ
A model
Fish Conservation
Community Water
South Northeast
Buddhist way
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: A model of fish conservation in community water resources in the South Northeast by Buddhist way It aims to study the history and current conditions of fish conservation in the natural water resources of the community in the southeastern region. and a model of fish conservation in natural water resources by Buddhist ways of the community in the southeastern region Conducted research in 3 provinces, namely Surin, Sisaket and Ubon Ratchathani. The study was conducted from people and related persons living in 7 community water source villages. The sample group that provided information was a group of 16 knowledge workers, 36 practitioners and 27 general informants, a total of 79 people. choose specific Data collection was done using in-depth interviews, observations, group discussions. and workshop The information obtained is classified into categories. according to the issues studied Analyze the data for the purposes of research. and then present the research results by descriptive and analytical method. The results of the research revealed that the conservation of fish in community water sources in the South Isan region by Buddhist way was initiated by the government to increase the number of fish in the natural water sources that were dwindling. or replace the number of fish that die from water pollution and was born from the need of the community to see patterns of conservation of local fish species from other places and the water source has an ecosystem suitable for the conservation of fish species By bringing in the abbot, community leaders, government agencies and politicians to support and help. Current conditions in fish conservation in community water resources in the South East water resources are allocated To designate a fish conservation area, known as a clear "sanctuary area". The living area allows villagers to catch fish freely. There are social measures or community regulations to establish rules of conduct. and impose penalties on violators using religious beliefs, traditions, rituals and beliefs of the villagers There is widespread publicity. Forming an organization group from the community in the village Community participation is managed. The main operational problems are the shortage of fish food, illegal fishing in the sanctuary zone. Some places do not have a raft or a pavilion for feeding the fish. cause inconvenience The fish die during certain seasons and the shore is flooded for a long time. including annual traditions area of ​​forgiveness causing the fish to flee to somewhere else Appropriate model for arranging species conservation areas in the southeastern region in a Buddhist way Strong abbots and community leaders are required. have a leadership personality Use good management principles Monks and villagers cooperate, support and participate in every step of the operation. Government officials and politicians came to support. Help to conserve fish species To be in accordance with academic principles and operational processes with a form, sequence, and in accordance with an efficient management system   In summary, fish conservation in the southeastern region by Buddhist method caused by government initiatives and community needs to increase the number of dwindling fish or replace the number of fish that die from water pollution by the leadership of the abbot and community leaders government agency and politicians to support and help It has developed into a model for organizing fish conservation areas with the participation of the community. The results of this research can be used as a guideline for appropriately organizing fish conservation areas in community water bodies in the South Isan area in a Buddhist way. efficiency and sustainable effectiveness
รูปแบบการอนุรักษ์ปลาบริเวณแหล่งน้ำชุมชนเขตอีสานใต้โดยวิถีพุทธ มีความมุ่งหมายศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบันปัญหาของการอนุรักษ์ปลาบริเวณแหล่งน้ำธรรมชาติของชุมชนในเขตอีสานใต้ และรูปแบบการอนุรักษ์ปลาบริเวณแหล่งน้ำธรรมชาติโดยวิถีพุทธของชุมชนในเขตอีสานใต้ ทำการวิจัยในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด คือ สุรินทร์ ศรีษะเกษ  และอุบลราชธานี  โดยศึกษาจากประชาชนและผู้เกี่ยวข้องที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแหล่งน้ำชุมชนนั้น จำนวน 7 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูล ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ จำนวน 16 คน  ผู้ปฏิบัติจำนวน 36 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไปจำนวน 27 คน รวม 79 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง   การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ นำข้อมูลที่ได้มาจำแนกออกเป็นหมวดหมู่  ตามประเด็นที่ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายของการวิจัย แล้วนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย  พบว่า  การอนุรักษ์ปลาบริเวณแหล่งน้ำชุมชนในเขตอีสานใต้โดยวิถีพุทธ เกิดจากการ ริเริ่มของทางราชการที่ต้องการเพิ่มจำนวนปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ลดน้อยลง  หรือทดแทนจำนวนปลาที่ตายไปจากการเกิดมลพิษทางน้ำ และเกิดจากความต้องการของชุมชนที่ได้เห็นรูปแบบการอนุรักษ์พันธุ์ปลาท้องถิ่นจากที่อื่น และแหล่งน้ำมีระบบนิเวศที่เหมาะสมในการอนุรักษ์พันธุ์ปลา โดยการนำของเจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน มีหน่วยงานภาครัฐและนักการเมืองเข้ามาให้การสนับสนุนช่วยเหลือ  สภาพปัจจุบันในการอนุรักษ์ปลาบริเวณแหล่งน้ำชุมชนในเขตอีสานใต้ มีการจัดสรรแหล่งน้ำ เพื่อกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา เรียกว่า “เขตอภัยทาน”  ที่ชัดเจน พื้นที่ใช้สอยชาวบ้านสามารถจับสัตว์น้ำได้โดยอิสระ มีมาตรการทางสังคมหรือระเบียบชุมชนเพื่อกำหนดระเบียบปฏิบัติ  และกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืน  ใช้ความศรัทธาทางศาสนา  ประเพณี พิธีกรรม    และความเชื่อของชาวบ้าน  มีการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง จัดตั้งกลุ่มองค์กรจากชุมชนในหมู่บ้าน มีการจัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน  สำหรับปัญหาในการดำเนินงานที่สำคัญ  คือ  การขาดแคลน อาหารปลา  การลักลอบจับปลาในเขตอภัยทาน บางแห่งไม่มีแพหรือศาลาสำหรับลงไปให้อาหารปลา  ทำให้เกิดความไม่สะดวก  ปลาตายในบางช่วงฤดูกาลและมีน้ำท่วมฝั่งเป็นเวลานาน  รวมทั้งประเพณีประจำปี  บริเวณเขตอภัยทาน  ทำให้ปลาหนีไปอยู่ที่อื่น รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดเขตอนุรักษ์พันธุ์ในเขตอีสานใต้โดยวิถีพุทธ  ต้องมีเจ้าอาวาสและผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง  มีบุคลิกภาพความเป็นผู้นำ  ใช้หลักการบริหารจัดการที่ดี  พระสงฆ์และชาวบ้านให้ความร่วมมือ  สนับสนุน  และเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน เจ้าหน้าที่ของรัฐและนักการเมืองเข้ามาให้การสนับสนุน  ช่วยเหลือการอนุรักษ์พันธุ์ปลา ให้เป็นไปตามหลักวิชาการและกระบวนการดำเนินงานที่มีรูปแบบ  ลำดับขั้นตอน และเป็นไปตามระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ   โดยสรุป  การอนุรักษ์ปลาในเขตอีสานใต้โดยวิธีพุทธ  เกิดจากการริเริ่มของทางราชการ และความต้องการของชุมชนที่ต้องการเพิ่มจำนวนปลาที่ลดน้อยลง  หรือทดแทนจำนวนปลาที่ตายไปจากการเกิดมลพิษทางน้ำ  โดยการนำของเจ้าอาวาสและผู้นำชุมชน  หน่วยงานภาครัฐ และนักการเมืองให้การสนับสนุนช่วยเหลือ ได้พัฒนามาเป็นรูปแบบการจัดเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดเขตอนุรักษ์ปลาบริเวณแหล่งน้ำชุมชนในเขตอีสานใต้โดยวิถีพุทธได้อย่างเหมาะสม  มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืนต่อไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1703
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63012160006.pdf10.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.