Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1704
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Nattapong Chaisaengpratheep | en |
dc.contributor | ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป | th |
dc.contributor.advisor | Charin Phakpraphai | en |
dc.contributor.advisor | จรินทร์ ฟักปะไพ | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Tourism and Hotel Management | en |
dc.date.accessioned | 2022-07-12T14:58:42Z | - |
dc.date.available | 2022-07-12T14:58:42Z | - |
dc.date.issued | 26/10/2021 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1704 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | This mixed-method research aims to: 1. investigate the context of religious tourism in Thailand; 2. investigate the religious tourism management of Wat Phra That Phanom Woramahawihan, and 3. investigate stakeholder participation. in surroundings of Wat Phra That Phanom Woramahawihan 4. investigate tourists' happiness with their visit to Wat Phra That Phanom Woramahawihan. 5. investigate tourists' motivations for visiting Wat Phra That Phanom Woramahawihan, Nakhon Phanom Province, and 6. determine the religious tourism management model of Wat Phra That Phanom Woramahawihan, Nakhon Phanom Province. Key informants interviewed included a monk, a layman, government officials, and stakeholders. The sample consisted of 384 participants based on the Khazanie (1996) formula selected by accidental sampling. Focused on tourists’ satisfaction and motivation, which were analyzed with descriptive statistics including number, percentage, mean and standard deviation, the exploratory factor analysis (EFA) was analyzed by Principal Component Analysis and extraction of the components by Varimax, as well as Content Analysis. The study's findings revealed that religious tourism in Thailand may be classified into two types: 1. classification based on tourism activities and 2. classification based on tourism patterns or routes. The results of the research revealed that religious tourism in Thailand can be divided into two types, namely 1. classification according to tourism activities and 2. classification according to tourism patterns or routes. Religious tourism management found that Wat Phra That Phanom still lacking a strategic plan and written travel plans. There is an annual action plan organized as a government organization. and divided into departments Top-down planning and distribute the power to the deputy abbot and laymen and the temple has adopted the principle of discipline The Sangha Act of 1962, and morals, Furthermore, the priest adopted job-center and employee-center leadership, teamwork with organizational management and personnel management. To attain the aims, administrative control, and personnel control, and organizational culture, are used. The majority of government authorities had no clear plans for religious tourism. It's basically a department that helps Wat Phra That Phanom's work. There is also support for the designation of Phra That Phanom as a UNESCO World Heritage Site. They agree on the benefits of religious tourism in bringing wealth to the local area, Nakhon Phanom Province, and nearby regions. The community's engagement in the people's sector discovered that the local community was less involved in decision-making and evaluation. Nonetheless, they participated in receiving benefits and implementation. Problems and hurdles in community involvement discovered that the process of decision-making and evaluation did not arise from ideas provided by the community itself. It also suffers from a lack of publicity. as well as sending delegates to meetings. Benefit Inadequate integration of membership or a specific club. Furthermore, the community is eager to contribute to the growth of religious tourism at Wat Phra That Phanom. In terms of satisfaction and motivation, it was discovered that the majority of the visitors were female, aged 20-39 years, married, and had a bachelor's degree. They work for the corporation and earn between 15,000-30,000 baht a month. The overall degree of satisfaction among tourists is high and the most pleased with the attraction. There were five components of satisfaction with a total variance of 70.416%. Tourists were the most driven in terms of status and reputation with a total variance of 65.015%, there were four main motivation components. The first factor is physical, religion, and reputation had the greatest proportion of variation. The religious tourism management model of Wat Phra That Phanom consists of 1. Administration 2. Income 3. Buddhism 4. Tourists 5. Integration and 6. Sangha Network. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยผสมผสานครั้งนี้ เพื่อ 1. ศึกษาบริบทการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในประเทศไทย 2. ศึกษาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร 3. ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยรอบวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร 4. ศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการมาเยี่ยมชมวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร 5. ศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวในการมาเยี่ยมชมวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร และ 6. กำหนดรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม ทั้งนี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พระสงฆ์ คณะกรรมการวัด (ฆราวาส) เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้มีส่วนได้เสีย และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการบังเอิญกับนักท่องเที่ยวจำนวน 384 คนโดยใช้สูตรของ Khazanie (1996) สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ด้วยวิธีสกัดองค์ประกอบหลัก และหมุนแกนองค์ประกอบตั้งฉากด้วยวิธี (Varimax) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า การท่องเที่ยวเชิงศาสนาในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. การแบ่งตามกิจกรรมของการท่องเที่ยว และ2. การแบ่งตามรูปแบบ หรือ เส้นทางการท่องเที่ยว ด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนา พบว่า วัดพระธาตุพนมฯ ยังขาดการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ และแผนการท่องเที่ยวเป็นลายลักษณ์อักษร มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan) จัดองค์การแบบราชการ และแบ่งเป็นแผนก บริหารงานแบบบนลงล่าง และกระจายอำนาจไปยังรองเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัด (ฆราวาส) อีกทั้งวัดได้นำหลักพระธรรมวินัย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ปี 2505 และศีลธรรม นอกจากนี้ยังนำหลักภาวะผู้นำแบบที่มุ่งเน้นงาน และภาวะผู้นำแบบมุ่งความสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม ควบคู่ในการบริหารจัดการองค์การ และการบริหารงานบุคคล วัดใช้การควบคุมเชิงบริหาร และการควบคุมโดยบุคลากรและวัฒนธรรมภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุผลเป้าหมายที่กำหนดไว้ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ส่วนใหญ่มิได้มีการกำหนดแผนงานการท่องเที่ยวเชิงศาสนาโดยตรง เป็นเพียงฝ่ายสนับสนุนงานทางวัดพระธาตุพนมฯ และมีความเห็นสนับสนุนการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกขององค์พระธาตุพนม และเห็นประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ซึ่งนำความเจริญมาสู่ท้องถิ่น และจังหวัดนครพนม และจังหวัดใกล้เคียงด้วย การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในชุมชน พบว่า ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการประเมินผลน้อย แต่มีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์และร่วมดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า กระบวนการการมีส่วนร่วมตัดสินใจ และประเมินผล ไม่ได้เกิดจากข้อเสนอที่เกิดขึ้นจากชุมชนเอง อีกทั้งยังขาดการประชาสัมพันธ์ และการใช้ตัวแทนเข้าร่วมประชุม ด้านการรับผลประโยชน์ ขาดการรวมกลุ่มเป็นสมาชิก หรือชมรมที่แน่ชัด แต่ชุมชนมีความสนใจอย่างมากที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาที่วัดพระธาตุฯ ด้านความพึงพอใจ และแรงจูงใจ พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-39 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัท รายได้ 15,000-30,000 บาท นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก และพึงพอใจมากที่สุดด้านสิ่งดึงดูดใจ และมีองค์ประกอบความพึงพอใจ 5 ด้าน โดยมีองค์ประกอบย่อย 29 ข้อ มีค่าความแปรปรวนรวมร้อยละ 70.416 โดยองค์ประกอบที่ 1 สิ่งอำนวยความสะดวก มีร้อยละความแปรปรวนมากที่สุด ด้านแรงจูงใจ นักท่องเที่ยวมีแรงจูงใจมากที่สุดด้านสถานภาพและชื่อเสียง และมีองค์ประกอบแรงจูงใจหลัก 4 ด้าน มีองค์ประกอบย่อย 17 ข้อ มีค่าความแปรปรวนรวมร้อยละ 65.015 โดยองค์ประกอบที่ 1 กายภาพ ศาสนา ชื่อเสียง มีร้อยละความแปรปรวนมากที่สุด รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดพระธาตุพนมฯ ประกอบด้วย 1. การบริหาร 2. รายได้ 3. หลักพุทธธรรม 4. นักท่องเที่ยว 5. การบูรณาการ และ6. เครือข่ายพระสงฆ์ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนา | th |
dc.subject | การมีส่วนร่วมของชุมชน | th |
dc.subject | ความพึงพอใจ | th |
dc.subject | แรงจูงใจ | th |
dc.subject | วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร | th |
dc.subject | Religious Tourism Management | en |
dc.subject | Community Participation | en |
dc.subject | Satisfaction | en |
dc.subject | Motivation | en |
dc.subject | Wat Phra That Phanom Woramahawihan | en |
dc.subject.classification | Business | en |
dc.title | The Religious Tourism Management Model of Wat Phra That Phanom Woramahawihan in Nakhon Phanom Province | en |
dc.title | รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Tourism and Hotel Management |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61011060004.pdf | 8.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.