Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1719
Title: Development of Learning Management Model on Constructivist Theory with DLIT Media to Promote Problem-Solving Ability in Mathematics on Probability for Mathayomsuksa 5 Students
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Charoenchai Wansri
เจริญชัย วันศรี
Maliwan Phattarachaleekul
มะลิวัลย์ ภัทรชาลีกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
สื่อ DLIT
ความสามารถในการแก้ปัญหา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความคงทนในการเรียนรู้
Constructivist Theory
DLIT Media
Problem Solving Capabilities
Academic Achievement
Learning Permanence
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:            Development of constructivist theoretical learning activities in conjunction with DLIT media that promotes the ability to solve mathematical problems in probability  This research is objective. 1) To develop constructivist theoretical learning activities in conjunction with DLIT media that promote mathematical problem solving skills on probability for Mathayomsuksa 5 Students effective according to the 75/75 criteria. 2) To determine the effectiveness index of learning activities during pre-school and post-study according to the concept of constructivist theory in conjunction with DLIT media that promotes mathematical problem solving skills on probability for Mathayomsuksa 5 Students. 3) To compare academic achievement based on constructivist theory with DLIT media that promotes mathematical problem solving skills, probability for Mathayomsuksa 5 Students with a 75 percent threshold. 4) To compare problem solving skills The probability of Mathayomsuksa 5 Students using constructivist theory learning management model in conjunction with DLIT media with a 75 percent threshold. 5) To study the permanence of learning management on probability for Mathayomsuksa 5 Students using constructivist theoretical learning management model in conjunction with DLIT media. The samples used in the research were 5th grade students at Bueng Malu Wittaya School, Kantralak District, Sisaket Province. , semester 2, 2021, 1 classroom, 37 students, obtained from cluster random sampling, the tools used in this research include 1) Constructivist theory learning management plan in conjunction with DLIT media that promotes mathematical problem solving skills. Additional Mathematics Courses on Probability, for Mathayomsuksa 5 Students, 16 Plans 2) Academic Achievement Test Additional mathematics courses on probability in for Mathayomsuksa 5 Students are 30 four-choice , the confidence of the whole test (rtt) is 0.702 3),the mathematical problem solving skills test, subjective probability, 4 questions, the confidence value of the whole test (rtt) is 0.764, the statistics used in the analysis of the data include percentage, average, deviation of one sample t-test, and t-test (dependent sample).         The findings appear as follows:         1. Organizing constructivist theoretical learning activities in conjunction with DLIT media that promote mathematical problem solving skills. The probability for Mathayomsuksa 5 Students an effective (E1/ E2) is 82.29/80.90.         2. Constructivist Theoretical Mathematical Learning Activity Effectiveness Index in conjunction with DLIT media that promotes the ability to solve mathematical problems, the probability for fifth graders is 0.6166, indicating that after organizing the learning activity, it is 61.66 percent.         3. Students who have been organizing constructivist theoretical learning activities in conjunction with DLIT media that promote their ability to solve mathematical problems. Achievement in mathematics on probability was statistically significantly higher than the 75 percent threshold at .05.         4. Students who have been organizing constructivist theoretical learning activities in conjunction with DLIT media that promote their ability to solve mathematical problems. Mathematical problem solving skills on probability are statistically significantly higher than the 75 percent threshold of .05.     5. Learning permanence about probability for Mathayomsuksa 5 Students after managing theoretical learning of constructivist in conjunction with DLIT media that promotes the ability to solve mathematical problems. After taking the post-study test The average score was 24.27 points, then spaced out for 14 days and tested, with an average score of 23.95, which did not differ       
           การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2)  เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กับเกณฑ์ร้อยละ 75 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการแก้ปัญหา เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT กับเกณฑ์ร้อยละ 75 5) เพื่อศึกษาความคงทนในการจัดการเรียนรู้ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบึงมะลูวิทยา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 37 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่องความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 16 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rtt) เท่ากับ 0.702 3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น แบบอัตนัย จำนวน 4 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rtt) เท่ากับ 0.764 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน one sample t-test และ t-test (dependent sample)         ผลการวิจัยปรากฏดังนี้         1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 82.29/80.90         2. ดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมความสามารถทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6166 แสดงว่าหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้ว คิดเป็นร้อยละ 61.66         3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05         4. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05         5. ความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรูตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับสื่อ DLIT ที่ส่งเสริมความสามารถทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.27 คะแนน จากนั้นเว้นระยะไป 14 วันแล้วทำการทดสอบ ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.95 คะแนน ซึ่งไม่แตกต่างกัน
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1719
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010285001.pdf5.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.