Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1724
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorThanapon Namlaien
dc.contributorธนพล นามลัยth
dc.contributor.advisorNongluk Viriyapongen
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ วิริยะพงษ์th
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Scienceen
dc.date.accessioned2022-09-19T10:38:26Z-
dc.date.available2022-09-19T10:38:26Z-
dc.date.issued24/7/2022
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1724-
dc.descriptionMaster of Science (M.Sc.)en
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)th
dc.description.abstractThis purposes of this research were 1) to develop lesson plans learning activities by using student team-achievement division technique (STAD) with KWDL technique on linear equations of one variable of Mathayomsuksa 1 students based on 75/75 criteria, 2) to compare the mathematics learning achievement on linear equations of one variable of Mathayomsuksa 1 students after learning management based on student team-achievement division technique (STAD) with KWDL technique with 75 percent criteria, 3) to compare the ability to solve mathematical problems on linear equations of one variable of Mathayomsuksa 1 students after learning management based on student team-achievement division technique (STAD) with KWDL technique with 70 percent criteria, and 4) to compare the ability to mathematical connection on linear equations of one variable of Mathayomsuksa 1 students after learning management based on student team-achievement division technique (STAD) with KWDL technique with 70 percent criteria. The sample group was Mathayomsuksa 1/10 students in Nangrong school, Nangrong, Buriram, enrolled in semester 2, 2021, selected amount 40 people from 1 class by cluster random sampling. Students in classroom were divided into proficient group, with mixed ability. The instruments used for collecting data were 1) lesson plans learning activities by using student team-achievement division technique (STAD) with KWDL technique on linear equations of one variable of Mathayomsuksa 1 students amount 16 plans 2) the achievement test of mathematics, on linear equations of one variable, of multiple-choice amount 20 items, it has difficulty (p) from 0.30 to 0.78 the discrimination (r) from 0.31 to 0.58 the reliability at 0.73 3) A test of mathematical problem solving and connection abilities on linear equations of one variable. It is a 5 subjective test, it has difficulty (p) from 0.59 to 0.66 the discrimination (r) from 0.41 to 0.55 the reliability at 0.87. Data were analysed by using percentage, mean and standard deviation. The t – test for one sample were used for the hypothesis testing. The research findings were as follows; 1. Lesson plans learning activities by using student team-achievement division technique (STAD) with KWDL technique on linear equations of one variable of Mathayomsuksa 1 students, found that its efficiency were 87.76/78.88 . It was in the setting criteria 75/75. 2. The mathematics learning achievement on linear equations of one variable of Mathayomsuksa 1 students after learning management based on student team-achievement division technique (STAD) with KWDL technique was statistically higher 75 percent criterion at 0.05 level. 3. The ability to solve mathematical problems on linear equations of one variable of Mathayomsuksa 1 students after learning management based on student team-achievement division technique (STAD) with KWDL technique was statistically higher 70 percent criterion at 0.05 level. 4. The ability to mathematical connection on linear equations of one variable of Mathayomsuksa 1 students after learning management based on student team-achievement division technique (STAD) with KWDL technique was statistically higher 70 percent criterion at 0.05 level.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/10 โรงเรียนนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งมีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถทางด้านการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL จำนวน 15 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นข้อสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.78 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.58 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.73 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว เป็นข้อสอบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.59 ถึง 0.66 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.41 ถึง 0.55 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สูตร t – test for one sample ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.76/78.88 เป็นไปตามที่กำหนดไว้คือ 75/75 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDLth
dc.subjectความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์th
dc.subjectความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์th
dc.subjectLearning management based on student team-achievement division technique (STAD) with KWDL techniqueen
dc.subjectMathematical problems abilityen
dc.subjectMathematical connection abilityen
dc.subject.classificationMathematicsen
dc.titleEffect of Learning Activity Management using Student Team-Achievement Division Technique (STAD) with KWDL Technique on Mathematical Problem Solving and Connection Abilities on Linear Equation of One Variable of Mathayomsuksa 1 Studentsen
dc.titleผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010285010.pdf7.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.