Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1738
Title: Developing Wot Skills by Harrow's Approach to Learning Management of Prathomsuksa 5 Students
การพัฒนาทักษะการเป่าโหวดตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ของแฮร์โรว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Authors: Kitti Srilasak
กิตติ ศรีลาศักดิ์
Thatchai Chittranun
ธัชชัย จิตรนันท์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาทักษะการเป่าโหวด
การจัดการเรียนรู้ของแฮร์โรว์
Developing Wot Skills
Harrow's Approach to Learning Management
Issue Date:  8
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims 1) to improve Wot skills by Harrow's approach to learning management of Prathomsuksa 5 students with efficiency according to the 80/80 criteria and 2 ) To assess the development of Wot skills before and after the Harrow conceptual learning activities. The target group used in this research are total of 22 people in Prathomsuksa 5 at Ban Non-Sa-nga School. The instruments used in this study were a learning management plan based on Harrow's concept, practice skills assessment form before and after class, practice skills assessment form to measure learning achievement. The statistic used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, determination of the effectiveness of learning activities, and finding the relative development score.   The research findings revealed that: 1. Developing Wot skills according to Harrow's learning management guidelines of Prathomsuksa 5 students whose performance met the criteria 82.52/84.73 which was higher than the specified criteria.  2. Students develop Wot skills after learning management according to Harrow's concept with relative development scores the overall average was 77.89, which is very high. Considering individually, most of the students were at a very high level with 12 people, followed by 10 at a high level. In conclusion, the learning activities for Isan folk music according to Harrow's concept promote Wot skills of Prathomsuksa 5 students are teaching activities that encourage students to fully practice their practical skills. From the least complex to the more complex of 5 steps. Allowing students to practice patience, and perseverance, helping each other make unity among the group, and increased self-esteem when able to practice Wot skills. Importantly, it results in students being able to practice Wot skills to achieve their goals that is, the singing of the song “Pong Lang pattern”, “Toey Khong pattern” and “Knok sai bin kharm toong pattern” be accurate, complete, and proficient.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาทักษะการเป่าโหวดตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ของแฮร์โรว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อประเมินพัฒนาการของทักษะการเป่าโหวดระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านโนนสง่า จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ แบบประเมินทักษะปฏิบัติก่อนเรียน และหลังเรียน แบบประเมินทักษะปฏิบัติวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ และการหาค่าคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. การพัฒนาทักษะการเป่าโหวดตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ของแฮร์โรว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 82.52/84.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนมีพัฒนาการทักษะการเป่าโหวดภายหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของแฮร์โรว์ ด้วยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 77.89 ซึ่งอยู่ในระดับสูงมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงมาก จำนวน 12 คน รองลงมาอยู่ในระดับสูง จำนวน 10 คน โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านอีสานตามแนวคิดของแฮร์โรว์ที่ส่งเสริมทักษะการเป่าโหวดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะปฏิบัติอย่างเต็มที่ ซึ่งเริ่มจากลำดับขั้นตอนที่ซับซ้อนน้อยไปสู่ซับซ้อนมาก 5 ขั้นตอน ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกความอดทน ความเพียรพยายาม รู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ เกิดความภาคภูมิใจเมื่อตนเองสามารถปฏิบัติทักษะการเป่าโหวดได้ และที่สำคัญคือส่งผลให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติทักษะการเป่าโหวดได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้นั่นคือ การเป่าโหวดบรรเลงเพลง ลายโปงลาง ลายเต้ยโขง และลายนกไซบินข้ามทุ่ง ได้ถูกต้องสมบูรณ์ และชำนาญ
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1738
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010585510.pdf8.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.