Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1740
Title: Learning Activity based EIMA Instructional Model to Enhance the Scientific Explanation Ability and Analytical Thinking of Mathayomsuksa 5 Students
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Jiraphat Sriraudom
จิรภัทร ศรีระอุดม
Kanyarat Cojorn
กัญญารัตน์ โคจร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA
ความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
การคิดวิเคราะห์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
EIMA instructional model
Scientific explanation ability
Learning achievement
Analytical thinking
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to compare scientific explanation ability of mathayomsuksa 5 students through using EIMA instructional model with the criterion of 70 percent 2) to compare analytical thinking of mathayomsuksa 5 students through using EIMA instructional model with the criterion of 70 percent and 3) to compare learning achievement on the topic of acid-base of mathayomsuksa 5 students through using EIMA instructional model with the criterion of 70 percent. The samples used in this study were 34 students of mathayomsuksa 5/3 in the 2nd semester of 2021 academic year at Yangtaladwittayakarn school. The research instruments included 1) the lesson plans by using EIMA instructional model in topic of acid-base 2) the scientific explanation ability test 3) the analytical thinking test and 4) the learning achievement test. Statistics values used in this study consist of means, percentage, standard deviation and one sample t-test. The results were as follows: 1) Students who have been learning by using EIMA instructional model having higher scientific explanation ability than 70 percent criteria with statistically significant at the .05 level. 2.) Students who have been learning by using EIMA instructional model having higher analytical thinking than 70 percent criteria with statistically significant at the .05 level.  3) Students who have been learning by using EIMA instructional model having higher learning achievement than 70 percent criteria with statistically significant at the .05 level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรายวิชาเคมี เรื่อง กรด-เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA เรื่อง กรด-เบส 2) แบบวัดความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบวัดการคิดวิเคราะห์และ 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กรด-เบส สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ One sample t-test ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA มีความสามารถในสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์จำแนกตามองค์ประกอบและโดยรวมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA มีการคิดวิเคราะห์จำแนกรายด้านและโดยรวมสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ EIMA มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1740
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010558022.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.