Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1747
Title: Development of Learning Resource Management Guidelines According to the Philosophy of Sufficiency Economy for Educational Institutions Kalasin Primary Educational Service Area District Office 1
การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1
Authors: Chadaporn Phonkun
ชฎาพร พลกุล
Thatchai Chittranun
ธัชชัย จิตรนันท์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: แนวทาง
การบริหารจัดการ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Guidelines
Management
Philosophy of Sufficiency Economy
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research had the objectives to 1) study the components and indicators of the management of learning resources according to the Sufficiency Economy Philosophy. for educational institutions Kalasin Primary Educational Service Area Office 1 2) to study the current condition Desirable conditions and necessities of learning resource management according to the philosophy of sufficiency economy for educational institutions Kalasin Primary Educational Service Area Office 1 3) to develop guidelines for management of learning resources according to the philosophy of sufficiency economy for educational institutions Kalasin Primary Educational Service Area District Office 1 It was divided into 3 phases: Phase 1 studied the components and indicators of the management of learning resources according to the Sufficiency Economy Philosophy. For educational institutions there were 5 respondents. The instrument used in the research was the Phase 2 assessment form, the study of current conditions. Desirable conditions and necessities of learning resources management according to the philosophy of sufficiency economy for educational institutions Kalasin Primary Educational Service Area Office 1 Academic supervisors and teachers in educational institutions under Kalasin Primary Educational Service Area Office 1, Academic Year 2021, consisted of 325 people. The researcher determined the sample size by comparing the total population with the Krejcie and Morgan ready-made tables and using random sampling techniques. Stratified Random Sampling The research instrument was a phase 3 questionnaire, the development of learning resource management guidelines according to the philosophy of sufficiency economy. For educational institutions Kalasin Elementary Education Service Area Office 1, the group of research respondents consisted of 5 experts, and the research instrument was interview form. The statistics used for data analysis were mean and standard deviation. The results showed that : 1. The results of a study on the components and indicators of the management of learning resources according to the philosophy of sufficiency economy for educational institutions Kalasin Primary Educational Service Area Office 1, as a whole, found that The appropriateness was at the highest level, consisting of 4 components, 47 indicators, namely 1) planning to promote the use of learning resources, 25 indicators, 2) data collection for the use of learning resources, 4 indicators 3 ) The practice guideline has 10 indicators and 4) the follow-up and evaluation has 8 indicators. 2. The current state of the management of learning resources according to the philosophy of sufficiency economy as a whole is at a moderate level. In order of average scores from least to greatest, they were 1) collecting data for implementing learning resources, 2) formulating guidelines, 3) monitoring and evaluation, and 4) planning to promote the use of learning resources. And desirable conditions for management of learning resources according to the philosophy of sufficiency economy Overall, it is at the highest level. In order of average scores from least to greatest, they were 1) planning to promote the use of learning resources, 2) monitoring and evaluation, 3) formulating practice guidelines, and 4) collecting data for implementing learning resources.   3. Guidelines for management of learning resources according to the philosophy of sufficiency economy for educational institutions Kalasin Elementary Education Service Area Office 1 consists of 4 components: 1) planning to promote the use of learning resources 2) collecting data for implementing learning resources 3) creating guidelines 4) follow-up evaluation Overall, the suitability was at a high level with x̅ = 4.13 and the likelihood was at a high level with x̅ = 3.73.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 3) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลมี 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมิน ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 325 คน ซึ่งผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตารางสำเร็จรูป Krejcie และ Morgan และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 โดยภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 47 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การวางแผนการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ มี 25 ตัวชี้วัด 2) การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ มี 4 ตัวชี้วัด 3) การจัดทำแนวปฏิบัติ มี 10 ตัวชี้วัด และ4) การติดตามประเมินผล มี 8 ตัวชี้วัด 2. สภาพปัจจุบันการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ 2) การจัดทำแนวปฏิบัติ 3) การติดตามประเมินผล และ 4) การวางแผนการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ และสภาพที่พึงประสงค์การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การวางแผนการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ 2) การติดตามประเมินผล 3) การจัดทำแนวปฏิบัติ และ 4) การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ 3. แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการวางแผนการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ 2) ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ 3) ด้านการจัดทำแนวปฏิบัติ 4) ด้านการติดตามประเมินผล โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่า x̅ = 4.13 และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก มีค่า x̅ = 3.73
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1747
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010581011.pdf5.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.