Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1749
Title: Developing a Program to Strengthen Strategic Leadership of Secondary School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Authors: Nattawat Tesaputr
ณัฐวัฒน์ เทศบุตร
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: โปรแกรม
ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
Program
Strategic Leadership
Secondary School Administrator
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed: 1) to explore existing situations, desirable situations, and needs to develop the strategic leadership of secondary school administrators under the secondary educational service area office mahasarakham; and 2) to develop the program to strengthen strategic leadership of secondary school administrators. Mixed methods research was employed. The research divided into two phases: The 1st phase was exploring the existing situations, desirable situations, and needs to develop the strategic leadership of secondary school administrators. Data were collected from the samples, consist of 314 secondary school administrators and teachers under the secondary educational service area office Mahasarakham through stratified random sampling technique; and 2nd phase was developing a program to strengthen strategic leadership of secondary school administrators. The program was evaluated to find propriety and feasibility by 5 experts. The research instruments were existing and desirable situations questionnaire, interview form, and the program evaluation form. Statistics used in analyzing data were mean, standard deviation, and modified priority needs index.   The research results were as follows: 1. The existing situations of strategic leadership of secondary school administrators in overall was at a low level, when each aspect was considered, it was found that there were 3 aspects at moderate level, that is high order of thinking and understanding; gathering multiple inputs to formulate strategy; revolutionary thinking; and 2 aspects were at a low level, that is anticipating and creating a future; and creating a vision. While the desirable situations in overall and each aspect were at a high level.  Priority needs to develop from high to low were creating a vision, anticipating and creating a future, gathering multiple inputs to formulate strategy, revolutionary thinking, and high order of thinking and understanding respectively. 2. The program to strengthen strategic leadership of secondary school administrators under the secondary educational service area office mahasarakham consists of 1) Rationale: 2) Objectives; to develop secondary school administrators to be higher strategic leadership degree: 3) content consists of 5 modules; Module 1 high order of thinking and understanding, Module 2 gathering multiple inputs to formulate strategy,  Module 3 revolutionary thinking, Module 4 anticipating and creating a future, and Module 5 creating a vision;  4) methods and development activities comprising three steps; Step 1 develop awareness by outstanding of strategic leadership school administrator, and school visit; Step 2 develop understanding and knowledge by self-learning and training; Step 3 develop through on the job learning by sharing experiences, creating professional learning community, and mentoring: and 5) assessment including test, participants sharing and reflection.
การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม และ 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้บริหาร และครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม จำนวน 314 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา และประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โดยรวม อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ได้แก่ ความคิดความเข้าใจระดับสูง ความสามารถนำปัจจัยต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ การคิดเชิงปฏิบัติ และอยู่ในระดับน้อย 2 ด้าน ได้แก่ ความคาดหวังและการสร้างโอกาสแห่งอนาคต และการกำหนดวิสัยทัศน์ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน  และลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์จากมากไปหาน้อยดังนี้คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ ความคาดหวังและสร้างโอกาสแห่งอนาคต ความสามารถนำปัจจัยต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ การคิดเชิงปฏิวัติ และความคิดความเข้าใจระดับสูง ตามลำดับ 2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาให้มีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์สูงขึ้น 3) เนื้อหาสาระ ประกอบด้วย 5 โมดูล (Module) ได้แก่ Module 1: ความคิดความเข้าใจระดับสูง Module 2: ความสามารถนำปัจจัยต่าง ๆ มากำหนดกลยุทธ์ Module 3: ความคาดหวังและการสร้างโอกาสแห่งอนาคต Module 4: การคิดเชิงปฏิวัติ และ Module 5: การกำหนดวิสัยทัศน์ 4) กิจกรรมและวิธีการพัฒนา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสร้างความตระหนัก โดยเชิญผู้บริหารมาเล่าประสบการณ์ความสำเร็จในการนำเชิงกลยุทธ์ และการศึกษาดูงานในสถานศึกษาที่ผู้บริหารมีความโดดเด่นในด้านการนำเชิงกลยุทธ์ ขั้นที่ 2 การพัฒนาความรู้ความเข้าใจ โดยการศึกษาด้วยตนเอง (Self-learning) และการฝึกอบรม (Training) ขั้นที่ 3 การพัฒนาโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (On the Job Learning) โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Sharing Experiences) การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) และการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) และ 5) การประเมินผล โดยการทดสอบ การแลกเปลี่ยนและการสะท้อนผลของผู้เข้าร่วมพัฒนา
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1749
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010581019.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.