Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1755
Title: The Program Development to Enhance Digital Leadership of the School Administrators under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
Authors: Piramon Suemkratok
ภิรมณ ซึมกระโทก
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
เสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัล
Development of the Program
Enhance a Digital Leadership
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to; 1) study current conditions, desirable conditions, and the needs to enhance digital leadership of school administrators 2) to develop the program to enhance digital leadership of school administrators. The research method was divided into 2 phases: Phase 1 was to study the current conditions, desirable conditions, and the needs to enhance digital leadership of school administrators. The samples were 297 school administrators and teachers under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 selected through the stratified random sampling. The research instrument was scaling questionnaire. Using Index of Item Objective Congruence, IOC ranged between 0.80 and 1.00, The discrimination level ranging of the current condition from .357-.853 and the desired condition from .358-.896, finding Cronbach's Alpha Coefficient has a confidence value of the current condition is .946 and the desired condition is .958 and Phase 2 was to develop a program to enhance digital leadership of school administrators under the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1. and evaluating the program by 5 experts selected through the purposive sampling technique. The research instruments were interview form and evaluation form on appropriateness and possibility of the Programs to Enhance a Digital Leadership of School Administrators. The data were analyzed by using mean, standard deviation and need index. The results showed that; 1. The current stage of the digital leadership of school administrators was overall in the moderate level. The highest average aspect was ethics and digital law. The desirable conditions of the digital leadership of school administrators was overall in the highest level. The highest average aspect was the digital age learning. The needs assessment to the development of the digital leadership of school administrators which ordered of the needs assessment from more to less were digital age learning, digital leadership of vision, technological performance and ethics and digital law. 2. The Programs to Enhance a digital Leadership of School Administrators in the Mahasarakham Primary Educational Service Area Office 1 consists of 1) Principle 2) Objectives 3) Content 4) Development method 5) Measurement and evaluation. The content consists of 4 modules: Module 1 digital age learning, Module 2 digital leadership of vision, Module 3 technological performance, and Module 4 ethics and digital law. The results of overall program evaluation were highest level appropriate and the possibilities are at the highest level.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำนวน 297 คน ได้มาโดยใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วน ซึ่งหาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม (Index of Item Objective Congruence, IOC) อยู่ในช่วง 0.80–1.00 มีค่าอำนาจจำแนกแบบสอบถามสภาพปัจจุบันตั้งแต่ระหว่าง .357-.853 และค่าอำนาจจำแนกแบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ตั้งแต่ .358- .896 จากนั้นนำมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’ Alpha Coefficient) มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของสภาพปัจจุบันเท่ากับ .946 และสภาพที่พึงประสงค์เท่ากับ .958 ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 และประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น   ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านจริยธรรม และกฎหมายการใช้ดิจิทัล สภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ วิถีการเรียนรู้เชิงดิจิทัล ส่วนความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ วิถีการเรียนรู้เชิงดิจิทัล วิสัยทัศน์ผู้นำทางดิจิทัล สมรรถนะทางเทคโนโลยี จริยธรรม และกฎหมายการใช้ดิจิทัล 2. โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ 4) วิธีการพัฒนา 5) การวัดและประเมินผล เนื้อหาสาระประกอบด้วย 4 Module ได้แก่ Module 1 วิถีการเรียนรู้เชิงดิจิทัล Module 2 วิสัยทัศน์ผู้นำดิจิทัล Module 3 สมรรถนะทางเทคโนโลยี และModule 4 จริยธรรม และกฎหมายการใช้ดิจิทัล ซึ่งผลการประเมินโปรแกรมโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1755
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010581042.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.