Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1757
Title: The Program Development to Enhance Teamwork of the Heads of Learning Substances under the Secondary Education Service Area Office Mahasarakham
การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระ การเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Authors: Vachakorn Boonsit
วชากร บุญสิทธิ์
Suwat Junsuwan
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาโปรแกรม
การทำงานเป็นทีม
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
Program Development
Teamwork
Heads of Learning Substances
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to investigate the current state, desirable state, and the needs and to develop the program enhancing teamwork of the heads of learning substances under the Secondary Education Service Area Office Mahasarakham. The research methodology was divided into two phases. Phase 1 is to study the current states, desirable states and the model of teamwork development of the heads of learning substances. The research sample was 324 school administrators and teachers. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan Formula which the confidence interval was 95% and a 5% error rate was acceptable (Srisa-ard and others, 2010). Then, the number was compared through the Rule of Three. The sample was selected by stratified random sampling according to the school size and then determined by the population size, respectively. The research instrument used to collect the data was the questionnaire. The data was analyzed by statistical analysis which provided information in the form of frequencies, percentage, mean, standard deviation, and priority needs index. Additionally, phase 2 is to develop a program enhancing teamwork of the heads of learning substances. The informants of the study were 5 qualified professionals. The research instrument used to collect the data was the evaluation form. The statistics used to analyze the data were mean and standard deviation. The research findings were as follows: 1. The overall result of the current state towards the teamwork among the heads of learning substances was at a medium level. Having considered each aspect, most of them were at a medium level. The overall result of the desirable state towards the teamwork among the heads of learning substances was at the highest level. Having considered each aspect, the aspect with the highest mean score was the aspect of goal determination. Arranging the priority needs by descending order revealed the priority needs, namely the creative communication and the good relationship from the outside organization, the positive working environment, the cooperation and the participation, the trustworthiness, the duty and responsibility determination, the appropriate leadership and followership, and the goal determination, respectively. 2. The result towards the program development enhancing the teamwork among the heads of learning substances under the Secondary Education Service Area Office Mahasarakham concerned 5 components, namely 1) the goals of the program, 2) the principles of the program, 3) the structure and the delimitation of the program, 4) program development processes which were divided into 5 processes: 4.1) the team goals, 4.2) the role of the leaders and followers, 4.3) the understanding and relationship in the team, 4.4) the responsibility determining, and 4.5) the team strengths building, 5) the measurement and the evaluation which revealed through the appropriateness and possibility assessment of the program assessed by the qualified professionals that the overall level of the appropriateness and the possibility was at the highest level.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น และพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 324 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อน 5% (บุญชม ศรีสะอาด และคณะ, 2553) แล้วทำการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นชั้นในการสุ่ม จากนั้นกำหนดสัดส่วนตามจำนวนของประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. สภาพปัจจุบันของการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง  ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการกำหนดเป้าหมาย และลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์และสัมพันธภาพที่ดีภายนอก การสร้างบรรยากาศที่ดีภายในทีม การให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วม ความไว้วางใจ กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามที่เหมาะสม และการกำหนดเป้าหมาย ตามลำดับ 2. ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ที่ได้พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) ความมุ่งหมายของโปรแกรม 2) หลักการของโปรแกรม 3) โครงสร้าง ขอบข่ายเนื้อหา 4) วิธีดำเนินการหรือวิธีพัฒนา แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 4.1) เป้าหมายหมายของทีม 4.2) บทบาทผู้นำและผู้ตาม 4.3) ความเข้าใจกันและความสัมพันธ์ในทีม 4.4) การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 4.5) การสร้างความเข็มแข็งของทีม 5) การวัดและประเมินผล โดยผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1757
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010581046.pdf7.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.