Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1763
Title: Development of Creative in Science of Primary 3 student by 6E Learing on Steam education  
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการออกแบบ 6E (The 6E Learning by Design) ตามแนวคิดสตีม (STEAM EDUCATION)
Authors: Pattama Jongluecha
ปัทมา จงลือชา
Wittaya Worapun
วิทยา วรพันธุ์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
การสร้างสรรค์ผลงาน
6E
STEAM
6E
scientific creativity
STEAM
Process skills
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were 1) to compare academic achievement of grade 3 students learning with 6E learning by design based on STEAM education with the criteria of 70%, 2) to compare the scientific creativity of grade 3 students before and after learning with 6E learning by design based on STEAM education, and 3) to study the creative abilities of grade 3 students. The sample was 16 grade 3 students in Ban Na Pong School, Mukdahan Province in the second semester of the academic year 2021, obtained by a cluster sampling. Plan for learning activities by design (6E) based on Steam appreach. Research instruments consisted of plans for 6E learning by design based on STEAM education, Academic achievement test, Scientific Creativity test and creative abillity evaluation. Data were analyzed using the statistics, including Mean, Standard Deviation, Percentage and The Wilcoxon Match Pair Signed-Ranks Test (Nonparametic-Tests).    The results of this study indicated that                                                                            1) The academic achievement of the sample after learning with 6E learning by design based on STEAM education was 74.38%, which was greater than the set criteria at 70%.        2) The scientific creativity score of the sample after learning with 6E learning by design based on STEAM education was higher than before with a statistical significance level of .05.        3) The sample after learning with 6E learning by design based on STEAM education had the overall creative ability at a good level (Mean = 11.37, S.D. = 0.27).
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย  1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการออกแบบ (6E) ตามแนวคิดสตีม กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการออกแบบ (6E) ตามแนวคิดสตีม และ 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านนาป่ง จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 16 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการออกแบบ (6E) ตามแนวคิดสตีม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ เเละสถิติ The Wilcoxon Signed Rank Test (Nonparametic-Tests)                     ผลการศึกษาพบว่า                                                                                                  1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการออกแบบ (6E) ตามแนวคิดสตีม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 74.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70        2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการออกแบบ (6E) ตามแนวคิดสตีมมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05        3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานโดยรวมอยู่ในระดับ ดี (ค่าเฉลี่ย = 11.37, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.27) 
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1763
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010582016.pdf3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.