Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1766
Title: The Development of Learning Activities in Biology that Promote a Growth Mindset and Achievement for Mathayomsuksa 4 Students: Mixed Method Research
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาที่ส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 : การวิจัยแบบผสานวิธี
Authors: Nurhidayah Kahong
โนรฮีดายะห์ กาโฮง
Tatsirin Sawangboon
ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: กรอบความคิดแบบเติบโต
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กิจกรรมการเรียนรู้
การวิจัยแบบผสานวิธี
Growth mindset
Achievement
Learning Activities
Mixed Method Research
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims 1) to develop learning activities in biology that promote a growth mindset and achievement for mathayomsuksa 4 students. 2) To compare the growth mindset and learning achievement between students taught with learning activities that promote growth mindset and learning achievement versus traditional teaching. 3) To study the characteristics of students with different growth mindset and learning achievement. The qualitative sample obtained from purposive sampling consisted of 3 growth mindset experts, 4 students and 4 parents with the specified conditions. The quantitative sample group consisted mathayomsuksa four students who studied of the academic year 2021. The participants were divided into two groups, adopting cluster random sampling selection and simple random selection methods to assign an experimental group and a control group. The experimental group consisted 30 was instructed under the promote a growth mindset and achievement, while the control group consisted 32 received a traditional instruction. The research tools include 1) 5 lesson plans to enhance the growth mindset and achievement and 5 lesson plans following traditional instruction. 2) The academic achievement test which constructed 30 items and had the quality in content validity. The item discrimination ranged between 0.22-0.73 and the overall reliability was 0.91 3) Checklist to measure the growth mindset. The item discrimination ranged between 0.34-0.74 and the overall reliability was 0.92. The data were analyzed using mean, standard deviation and Hotelling T2 The following are the results of the study. 1) Learning activities in biology that promote a growth mindset and learning achievement consisted of 4 steps: ensuring that intelligence is changeable; participatory quest, summarizing and reflection on learning outcomes. 2) Students instructed under the promote a growth mindset and achievement with traditional instruction have the growth mindset and learning achievement were significantly different at the .05 level. Students are taught through developed learning activities have a growth mindset and academic achievement higher than students who received normal learning management. 3) The study of characteristics of students with different levels of growth mindset and learning achievement found that students with low growth mindset and learning achievement and students with a low-growth but high-achieving mindset have similar characteristics or beliefs, believe that their abilities are limited. They don't set goals for learning, their efforts depend on their motivation, when they encounter obstacles, they become discouraged. If given advice, they will listen but not use it to improve or improve themselves. Students with high growth mindset but low academic achievement and students with high growth mindset, high academic achievement have the same belief in self-improvement, believing that they can become better. They have a goal of learning, love to learn new things, never give up on obstacles. Although both students' beliefs in self-improvement were similar, their behaviors were different during class. High-achieving students tend to focus on every activity that occurs during class, and if they have questions or don't understand, immediately ask their teachers to check their answers. This happens with students who are organized to learn with developed teaching methods. The characteristics of this group of students are mutual learning behaviors, enjoy exchanging ideas in class and value knowledge over grades. Students with low academic achievement had the opposite trait. Therefore, it can be seen that the developed four-stage learning management can promote a growth mindset and higher student achievement.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาที่ส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบกรอบความคิดแบบเติบโตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ 3) เพื่อศึกษาลักษณะของนักเรียนที่มีระดับกรอบความคิดแบบเติบโตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน กลุ่มเป้าหมายสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านกรอบความคิดแบบเติบโต จำนวน 3 คน นักเรียนที่มีลักษณะตามเงื่อนไขที่กำหนด จำนวน 4 คน และผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 4 คน กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนชะอวด ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 2 ห้องเรียน แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 5 แผน และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 5 แผน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.22 - 0.73 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 3) แบบวัดกรอบความคิดแบบเติบโต จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.34 - 0.74 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย Hotelling T2 ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) กิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยาที่ส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโต และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นสร้างความเชื่อมั่น ขั้นสืบเสาะแบบมีส่วนร่วม ขั้นสรุป และขั้นสะท้อนผลการเรียนรู้ 2) นักเรียนที่ได้รับการสอนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติมีกรอบความคิดแบบเติบโตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่ได้รับการสอนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีกรอบความคิดแบบเติบโตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 3) การศึกษาลักษณะของนักเรียนที่มีระดับกรอบความคิดแบบเติบโตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน พบว่า นักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และนักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตต่ำแต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีลักษณะหรือความเชื่อคล้ายคลึงกัน โดยเชื่อว่าความสามารถของตนมีอย่างจำกัด ไม่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ นักเรียนไม่มีการตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้ ความพยายามที่มีจะไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับแรงจูงใจ เมื่อเจออุปสรรคจะบั่นทอนกำลังใจ และเกิดความย่อท้อได้ง่าย หากได้รับข้อแนะนำหรือคำวิพากษ์วิจารณ์ จะรับฟังแต่ก็มิได้นำไปใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนาตนให้ดีขึ้น สำหรับนักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตสูงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และนักเรียนที่มีกรอบความคิดแบบเติบโตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีความเชื่อในด้านการพัฒนาตนเองไม่แตกต่างกัน จะมีความเชื่อว่าสามารถพัฒนาตนเองให้เก่งขึ้นได้ มีการตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้อย่างชัดเจน ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่ย่อท้อแม้ว่าจะพบเจออุปสรรค หากทำผิดจะรีบหาข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น แม้ว่าความเชื่อในการพัฒนาตนเองของนักเรียนทั้งสองคล้ายกัน แต่มีพฤติกรรมระหว่างเรียนแตกต่างกัน โดยนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีความตั้งใจ มีสมาธิจดจ่อกับทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างเรียน หากมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจจะรีบซักถามครูผู้สอนเพื่อตรวจสอบคำตอบที่ตนมีอยู่โดยไม่รู้สึกเขินอายแม้ว่าจะเป็นคำตอบที่ผิด ตรงกันข้ามกับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ซึ่งลักษณะเช่นนี้มักจะพบในกลุ่มของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยลักษณะของนักเรียนกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมช่วยกันเรียน สนุกกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน และให้ความสำคัญกับความรู้มากกว่าคะแนนที่ได้รับ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมกรอบความคิดแบบเติบโตและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นจริง
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1766
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010585004.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.