Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1786
Title: The Guidelines for Fire Prevention in The Old Town : A Case Study in The Old Town of Surin, Surin Province, Thailand
แนวทางป้องกันการเกิดอัคคีภัยบริเวณย่านเมืองเก่า:กรณีศึกษาเมืองเก่าสุรินทร์
Authors: Saitran Choowichai
สายธาร ชูวิชัย
Sakkarin Sapu
สักรินทร์ แซ่ภู่
Mahasarakham University. The Faculty of Architecture Urban Design and Creative Arts
Keywords: อัคคีภัย
ปัจจัยทางกายภาพที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดอัคคีภัย
เขตพื้นที่เมืองเก่าสุรินทร์
Fire
Physical factors at risk of fire
Surin old city area
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research are 1) to study physical factors that have an effect on fire occurrence, 2) to identify high-risk areas, 3) to suggest guidelines to prevent fire by studying physical factors: land use, transportation route, locations of fire hydrants, radius of the fire station, building use, types of buildings, the number of buildings’ floors, wall materials, and building density. Data was analyzed using factors’ weighted average with Overlay Analysis by Geographic Information System (GIS). The finding points out the greatest risk area 0.21 km2 (6.06%), high risk area 0.63 km2 (17.99%), moderate risk 0.90 km2 (25.61%), and low risk 1.99 km2 (56.39%). It can be seen that outside the old town areas are at low risk. Meanwhile, urban areas are at moderate to the greatest risk: walking street, commercial and traditional community areas, which buildings’ structures made from wood that can cause fire. Furthermore, in some community areas, fire trucks are unable to reach to handle the incidents because of alleys. Therefore, guidelines to prevent fire were recommended as follows: (1) Before the peril, risk of public danger management: define policies, measures and activities, especially land use planning and city planning control to build confidence in life and property; (2) During the peril, academic information, situation tendency and related regulations are needed; and (3) After the peril, a system of public utility and the communities’ ways of life should be developed and recovered, or enforce new laws to conserve valuable buildings, historical areas, and way of life and property in a sustainable way.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอัคคีภัย เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย และเสนอแนะแนวทางในการป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยศึกษาปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน เส้นทางคมนาคม ที่ตั้งหัวปะปาดับเพลิง รัศมีการให้บริการของสถานีดับเพลิง  การใช้ประโยชน์ของอาคาร ประเภทของอาคาร จำนวนชั้นของอาคาร วัสดุผนัง และความหนาแน่นของอาคาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีค่าถ่วงน้ำหนักของปัจจัย โดยการซ้อนทับข้อมูล (Overlay Analysis) ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) พบว่า พื้นที่เสี่ยงมากที่สุด 0.21 ตร.กม ร้อยละ 6.06 เสี่ยงมาก 0.63 ตร.กม ร้อยละ 17.99 เสี่ยงปานกลาง 0.90 ตร.กม ร้อยละ 25.61 และเสี่ยงน้อย 1.99 ตร.กม ร้อยละ 56.39 เห็นได้ว่า นอกเขตเมืองเก่ามีความเสี่ยงน้อย ในขณะพื้นที่เขตเมืองมีความเสี่ยงปานกลางถึงมากที่สุด พบบริเวณย่านการค้า พาณิชยกรรม และย่านชุมชนดังเดิม ซึ่งโครงสร้างอาคารใช้ประเภทไม้ที่เอื้อต่อการลุกไหม้ของไฟ และชุมชนบางแห่งรถดับเพลิงไม่สามารถเข้าระงับเหตุได้ เนื่องจากเส้นทางเป็นตรอก ซอก ซอย จึงพบแนวทางการป้องกันการเกิดอัคคีภัย ได้แก่ 1) ก่อนเกิดภัย กำหนดนโยบาย มาตรการหรือกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการควบคุมจัดวางผังเมือง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในชีวิตและทรัพย์สิน 2) ระหว่างเกิดภัย ควรมีข้อมูลวิชาการ แนวโน้มสถานการณ์ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง และ 3) หลังเกิดภัย ควรมีการปรับสภาพระบบสาธารณูปโภค และวิถีความเป็นอยู่ของชุมชนให้กลับสู่สภาวะปกติ หรือเกิดข้อกฎหมายขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่า พื้นที่ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และทรัพย์สินได้อย่างยั่งยืน
Description: Master of Architecture (M.Arch.)
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1786
Appears in Collections:The Faculty of Architecture Urban Design and Creative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011180007.pdf10.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.