Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1795
Title: Oral Health Care Process Development Students in Grades 4-6 at Ban Lao Tio School Bo Phan Khan Subdistrict Suvarnabhumi District Roi Et Province
การพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนชั้น ป.4 – 6 ในโรงเรียนบ้านเหล่าติ้วตำบลบ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Pennapa Pakdee
เพ็ญนภา ปากดี
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การดูแลสุขภาพช่องปาก
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
การพัฒนากระบวนการ
oral health care
grade 4-6 students
process development
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: In this study The purpose of this study was to study the demographics, knowledge, behaviors in oral health care and dental health of Prathomsuksa 4-6 students at Ban Lao Tew School. Bo Phan Khan Subdistrict Suvarnabhumi District 45 people in Roi Et Province. The tools used in the study were Questionnaire and record of dental health examination The statistics used are Frequency Distribution Percentage Mean Standard Deviation Minimum Value Maximum Value. The results of the study found that 57.8% female, 11 years old, 39.1% studying in primary school, 44.4% caring for students, 46.7% father or mother. Most of the parents' education was at the level. Primary education, 57.8%, who engaged in agriculture the most, 57.8%, had moderate knowledge, 71.1%, followed by good knowledge, 20.0% 88.9% had knowledge of teeth and gums, 93.3% had knowledge of oral diseases, and 91.1% had knowledge of oral health care. and 52.2% of dental practice was at moderate level, followed by At a good level, 42.0%. The results of the dental health status survey of students found that the students had the most plaque at 60.0%, decay of permanent teeth 57.8%, gingivitis 57.8%, and extracted permanent teeth 57.8%. The results of this study show that students still have knowledge. and improper practice have a problematic dental health condition Therefore, those involved should have activities to promote knowledge, namely, dental health education in schools by public health personnel and dental health practice among students on an ongoing basis. To have an activity to brush teeth after lunch and no sweets and soft drinks are sold in the school district. There is ongoing dental treatment for students with dental health problems. In summary, the process of developing this service system This was achieved through the adjustment of the development of knowledge in Oral health care for grades 4-6 students at Ban Lao Tio School in Bo Phan Khan Subdistrict Suvarnabhumi Roi Et Province Emphasis on the process of activities that are integrated into the whole system Emphasis on working in connection with community participation and local networks. There is a good support mechanism of service units and care team both inside and outside the service facility.
ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาทางประชากร ความรู้ พฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากและสภาวะทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนบ้านเหล่าติ้ว ตำบลบ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามและบันทึกการตรวจสภาวะทันตสุขภาพ สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ผลการศึกษา พบว่า เพศหญิง ร้อยละ 57.8 อายุ 11 ปี ร้อยละ 39.1 กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 44.4 ผู้ดูแลเด็กนักเรียน คือ พ่อหรือแม่ ร้อยละ 46.7 การศึกษาของผู้ปกครองส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 57.8 ซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด ร้อยละ 57.8  มีความรู้ในระดับปานกลาง ร้อยละ71.1 รองลงมาความรู้ในระดับดี ร้อยละ 20.0 เป็นความรู้เรื่องฟันและเหงือก ร้อยละ 88.9 เป็นความรู้เรื่องโรคในช่องปาก ร้อยละ 93.3 และความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในช่องปาก ร้อยละ 91.1  การปฏิบัติด้านทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.2  รองลงมาอยู่ในระดับดี ร้อยละ 42.0  ผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีหินปูนมากที่สุด ร้อยละ 60.0  การผุของฟันแท้ ร้อยละ 57.8 เหงือกอักเสบ ร้อยละ 57.8  และฟันแท้ที่ถอน ร้อยละ 57.8 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านักเรียนยังมีความรู้ และการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง มีสภาวะทันตสุขภาพที่เป็นปัญหา ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ คือ ให้ทันตสุขศึกษาตามโรงเรียนโดยบุคลากรด้านสาธารณสุขและการปฏิบัติด้านทันตสุขภาพในนักเรียนอย่างต่อเนื่องคือ ให้มีการจัดกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและไม่มีขายขนมและน้ำอัดลมในเขตโรงเรียน มีการรักษาทางทันตกรรมอย่างต่อเนื่องสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทันตสุขภาพ โดยสรุป กระบวนการพัฒนาระบบบริการครั้งนี้  เป็นผลสำเร็จจากการปรับการพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 –  6 โรงเรียนบ้านเหล่าติ้ว ในตำบลบ่อพันขัน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เน้นกระบวนการกิจกรรมที่ครบวงจรทั้งระบบ เน้นการทำงานแบบเชื่อมโยงมีส่วนร่วมกับชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่ โดยมีกลไกการสนับสนุนที่ดีของหน่วยบริการและทีมผู้ดูแลทั้งในและนอกสถานบริการ
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1795
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011480014.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.