Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1798
Title: Effects of Using Health Care Program for Elderly in Spreading of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
ผลของการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019
Authors: Padol Juntaprom
ภาดล จันทพรม
Sumattana Glangkarn
สุมัทนา กลางคาร
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การดูแลผู้สูงอายุ
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
Caring for the elderly
Spreading of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Caring for the elderly who must stay at home during the Covid-19 epidemic situation may deteriorate their body and brain. This quasi-experimental research aimed to study the effect of caring for the elderly in the home-bound group, according to the 5 key domains (food, exercise, emotion, relaxed and away from society outside the home). The samples of 70 elderly people were divided into 35 of an experimental group and 35 of a group. The experimental group received a health promotion program and conducted in 10 weeks. A comparative analysis of the results of the t-test was used. The results showed that the experimental group had a statistically significant higher mean scores on the health promotion knowledge and behavior after the experiment than before the experiment (p-value < 0.001) and had better health behaviors after the experiment than before the experiment statistically significant (p-value < 0.001). When compared after the experiment between the experimental group and the comparison group. It was found that the experimental group had statistically significant higher scores on knowledge and health behaviors of the elderly than the comparison group (p-value < 0.001). Knowledge of health promotion and behavior of the elderly after the experiment the mean scores was higher than before the experiment (p<0.05). The difference was statistically significant (p-value < 0.05). After the experiment of the experimental group, the mean health behavior scores in the elderly after the trial were greater than before (p<0.05) and the difference was statistically significant (p-value < 0.05).
การดูแลผู้สูงอายุติดบ้านในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อป้องการติดเชื้อ อาจทำให้ผู้สูงอายุเกิดการถดถอยของร่างกายและสมองเนื่องจากการเก็บตัวอยู่บ้านเป็นเวลานาน การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ตามหลัก 5 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ เอนกายพักผ่อน และออกห่างสังคมนอกบ้าน)  กลุ่มตัวอย่างที่คือ ผู้สูงอายุติดบ้าน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์  การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการทดลองใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและการปฏิบัติตัวหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และมีพฤติกรรมสุขภาพหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) เมื่อเปรียบเทียบหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนภายหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลอง (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) 2. พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ภายหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุภายหลังการทดลองมากกว่าก่อนการทดลอง (p<0.05) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1798
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63011481002.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.