Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1799
Title: Factors affecting teenage pregnancy and effectiveness of the Prevention and Alleviation of Teenage Pregnancy, Sexual  Transmitted Diseases, and Sexual Health Model Based on Sexual Health Protection System Development for Adolescents in Northeastern Thailand.    
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นและประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ และสุขภาวะทางเพศบนฐานการพัฒนาระบบการคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Authors: Jun Norkaew
จุน  หน่อแก้ว
Pissamai  Homchampa
พิศมัย หอมจำปา
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น; โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น; การพัฒนารูปแบบในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
Adolescent Pregnancy; Adolescent Sexually Transmitted Diseases; Developing a Model for the Prevention of Teen Pregnancy
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:    Factors affecting teenage pregnancy and effectiveness of the Prevention and Alleviation of Teenage Pregnancy, Sexual Transmitted Diseases, and Sexual Health Model Based on Sexual Health Protection System Development for Adolescents in Northeastern Thailand. The results revealed that the factors associated with unplanned pregnancies among adolescents aged 15-19 years. The relationship of each factor to pregnancy (Bivariate analysis). level of education having a girlfriend, partner or partner, academic performance, satisfaction with academic performance monthly expenses behavior with couples Age at the start of dating family factor parent's education level parents' occupation the adequacy of family income and the level of protection expectations There is a relationship with adolescent pregnancies. statistically significant at the 0.05 level . Multifactorial relationship to pregnancy (Multivariable analysis) by analyzing Conditional logistic regression found that having a boyfriend, partner or partner satisfaction with academic performance Age when starting dating family income adequacy and the level of social support There is a relationship with adolescent pregnancies. statistically significant at the 0.05 level. When comparing the mean score difference between the experimental group and the comparison group, it was found that the perception aspect and the practice of preventing sexually transmitted diseases Pregnancy is not ready in adolescence. and sexual health of youth aged 15-19 years in educational institutions before and after the model development There was a statistically significant difference at P-value 0.05 while the attitude aspect was not different. It was shown that this was due to the effectiveness of the model development program in the behavior modification that the researcher created. making the perceived score on sexual health And the practice to prevent pregnancy and STDs in the experimental group was clearly better than the comparison group.
  การศึกษาวิจัยเชิงพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น 2)ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ เจตคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในสถานศึกษา  3) พัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่นบนฐานการพัฒนาระบบการคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศในสถานศึกษาก่อนและหลังการได้รับรูปแบบ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยผสมวิธีแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินงาน 2 ระยะ คือระยะที่ 1 ระยะศึกษาปัญหาใช้รูปแบบการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ประชากร คือ วัยรุ่นหญิงที่มีอายุ 15-19 ปี ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 324 ราย ระยะที่ 2 พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ใช้แบบสอบถาม การพัฒนารูปแบบใช้โปรแกรม เซสโมเดล (SESS Model) สถิติที่ใช้ในการวิจัย ใช้สถิติเชิงพรรณนา Conditional logistic Regression adjust OR 95% CI of OR  Analysis of Covariance หรือ ANCOVA รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 10 เดือน สิงหาคม 2564 – 31 พฤษภาคม 2565 ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยต่อการตั้งครรภ์ (Bivariate analysis) โดยการวิเคราะห์ Conditional logistic regression  พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ระดับชั้นของการศึกษา การมีแฟนคู่นอนหรือคู่รัก  ผลการเรียน ความพึงพอใจกับผลการเรียน ค่าใช้จ่ายต่อเดือน  การปฏิบัติตัวกับคู่รัก อายุเมื่อเริ่มออกเดท ปัจจัยด้านครอบครัว ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง อาชีพของผู้ปกครอง  ความเพียงพอของรายได้ครอบครัว และ ระดับความคาดหวังในการป้องกัน  มีความสัมพันธ์ต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ความสัมพันธ์คราวละหลายปัจจัยต่อการตั้งครรภ์ (Multivariable analysis) โดยการวิเคราะห์ Conditional logistic regression  พบว่า การมีแฟนคู่นอนหรือคู่รัก  ความพึงพอใจกับผลการเรียน อายุเมื่อเริ่มออกเดท ความเพียงพอของรายได้ครอบครัว และระดับการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05  การศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ พบว่าระดับคะแนนเฉลี่ยด้านปัจจัยส่วนบุคค ในกลุ่มที่ตั้งครรภ์ตั้งครรภ์ และ กลุ่มที่ไม่ตั้งครรภ์ตั้งครรภ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 100.0 ทั้งสองกลุ่ม ปัจจัยด้านครอบครัว อยู่ในระดับปานกลางทั้งสองกลุ่ม ร้อยละ 62.1 และ  52.3 ปัจจัยด้านสังคมสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับสูงทั้งสองกลุ่ม ร้อยละ 71.3 และ  80.6 ด้านการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศ อยู่ในระดับสูงทั้งสองกลุ่ม  ร้อยละ 77.8 และ  81.0 ด้านความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มตั้งครรภ์ มีระดับคะแนนเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.6 และ กลุ่มไม่ตั้งครรภ์ อยู่ในระดับสูง ร้อยละ  78.8 ด้านการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม ในกลุ่มตั้งครรภ์ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.6 และ กลุ่มไม่ตั้งครรภ์ มีระดับคะแนนเฉลี่ย อยู่ในระดับสูง ร้อยละ  51.4  เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ  พบว่า ด้านการรับรู้ และด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และสุขภาวะทางเพศ ของเยาวชนอายุ 15 - 19 ปี ในสถานศึกษา ก่อนและหลังในการพัฒนารูปแบบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P-value .000 ส่วนด้านเจตคติไม่แตกต่างกัน   แสดงให้เห็นว่าเกิดจากประสิทธิผลของของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำให้คะแนนการรับรู้ด้านสุขภาวะทางเพศ และการปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติตต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มทดลองดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างชัดเจน 
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1799
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58011560002.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.