Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1801
Title: Development of a model for the prevention of malaria recurrence on border areas of Sisaket province
การพัฒนารูปแบบการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคมาลาเรียบริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา จังหวัดศรีสะเกษ
Authors: Sutthisak Noradee
สุทธิศักดิ์ นรดี
Choosak Nithikathkul
ชูศักดิ์ นิธิเกตุกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
ผู้ป่วยมาลาเรีย
การกลับเป็นซ้ำ
การป้องกัน
model development
malaria
malaria recurrence
prevention
Issue Date:  9
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Malaria is an infectious disease that is a significant problem in the world. The World Health Organization (WHO) has declared malaria one of four diseases requiring urgent treatment. Malaria drug resistance is a significant problem in the Greater Mekong Subregion (GMS), which remains a serious problem and requires urgent action. This research aims to study the malaria situation and trend in Si Sa Ket province, factors affecting to malaria infection and recurrence malaria, health beliefs behavioural on malaria prevention among people living in the border areas at Si Sa Ket Province, and to develop a model for preventing recurrence malaria. A data was conducted for one year, consisting of 2 phases: 1. analytical research. Systematic reviews were used for factors related to malaria infection and recurrence from the atmosphere. According to Si Sa Ket's situation, spatial analysis and a cross-sectional were conducted to determine factors contributing to malaria infection and multiple infections within a 12-month period. The descriptive statistics were number, percentage, mean, and Fisher's exact test, and multivariable logistic regression were used in the inferential analysis process. Interpolation techniques and overlay were used for the spatial analysis process. 2. quasi-experimental research. The strategic route map (SRM) process was applied to review and improve the prevention model for the prevention of malaria recurrence based on the community's needs. The experimental areas were Na Trao Sub-District Health Promoting Hospital, Phu Sing District, Si Sa Ket Province. Moreover, the comparison area was Huai Chan Sub-district Health Promoting Hospital, Khun Han District, Si Sa Ket Province. Participants' mean scores of knowledge attitude and practice (KAP) on malaria were compared before and after the experiments in the experimental areas within both groups. In addition, malaria incidence rates and the percentage of patients with more than one malaria infection were compared. The study result of Phase 1, the malaria situation in Si Sa Ket Province tends to decrease in the past five years. Geographical factors associated with malaria incidence were found that water stream was associated with malaria incidence (p<0.001). Factors associated with malaria were those aged 57 years old and older (OR : 0.13, 95%CI : 0.02 - 0.73, p-value = 0.021), high school level education (OR : 0.15, 95%CI : 0.03, 0.85, p-value = 0.032) hunter and labor (OR : 17.66, 95%CI : 3.1 - 100.49, p-value < 0.001) and (OR : 5.12, 95%CI : 1.27 - 20.59, p-value = 0.021). Furthermore, people who stay with an old malaria patient in the same household (OR: 18.03, 95%CI: 6.2 - 52.47, p-value < 0.001). Factors affecting malaria recurrence were found in people who stayed with an old malaria patient in the same household (OR: 5.71, 95%. CI: 1.71, 19.1, p-value: 0.005). The result of phase 2 development activities includes: establishing public awareness about malaria and malaria recurrence and applying the application Line to promote health awareness among people and patients with malaria. Encourage participation from stakeholders involved in managing recurrent malaria in the community. The community developed malaria centers. Moreover, malaria caregiver was trained. After the experiment, The average malaria KAP score of participants in experimental areas have higher than pre-trial. Moreover, the experimental area has a malaria incidence rate and a percentage of patients with more than one malaria infection per year lowest than pre-trial. When considering the experimental area and the comparison area, it was found that the mean score of the experimental area was higher than that of the comparison area.
มาลาเรียเป็นโรคติดเชื้อที่เป็นปัญหาสำคัญของโลก โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้โรคมาลาเรีย เป็น 1 ใน 4 โรคที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ปัญหามาลาเรียดื้อยาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ยังคงเป็นปัญหาสำคัญและต้องมีการดำเนินการที่เร่งด่วน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการกำจัดโรคมาลาเรียในอนาคต สำหรับงานวิจัยนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาสถานการณ์ของโรคมาลาเรีย, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อมาลาเรียและการติดเชื้อมาลาเรียมากกว่า 1 ครั้งต่อปี, พฤติกรรมตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อการป้องกันโรคมาลาเรียของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคมาลาเรียบริเวณชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ รวบรวมข้อมูลเป็นเวลา 10 เดือน ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ 1. การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ประกอบด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial analysis) และการศึกษาภาคตัดขวาง (Cross-sectional case control study) ทั้งนี้ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อมาลาเรียและการติดเชื้อมาลาเรียมากกว่า 1 ครั้งต่อปี สถิติเชิงบรรยาย คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สถิติเชิงวิเคราะห์ คือ  Fisher’s exact test และ multivariable logistic regression ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ใช้เทคนิคการประมาณค่า (Interpolation) และ การซ้อนทับ (Overlay) 2.การวิจัยกึ่งทดลอง ได้นำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ใช้ในการทบทวนและปรับปรุงร่างรูปแบบการป้องกันโรคมาลาเรียกลับเป็นซ้ำในชุมชน จากนั้นนำร่างรูปแบบไปทดลองใช้ในพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ทดลอง คือ พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพนาตราว ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ และส่วนพื้นที่เปรียบเทียบ คือ พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยจันทร์ ตำบลห้วยจันทร์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ เปรียบเทียบค่าคะแนนความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนต่อการป้องกันโรคมาลาเรีย เฉลี่ยของกลุ่มผู้ร่วมวิจัยทั้งก่อนและหลังการทดลองในพื้นที่ทดลอง และระหว่างพื้นที่ทดลองและพื้นที่เปรียบเทียบภายหลังการทดลอง นอกจากนั้นได้ทำการเปรียบเทียบอัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรีย และร้อยละของผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาลาเรียมากกว่า 1 ครั้งต่อปี ทั้งในพื้นที่ทดลองและพื้นที่เปรียบเทียบ  ผลการศึกษา ในระยะที่ 1 สถานการณ์ของโรคมาลาเรียจังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวม 5 ปีย้อนหลังมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2558 พบมากสุดที่อำเภอขุนหาญ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมาลาเรีย พบว่า ปริมาณพื้นที่แหล่งน้ำมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมาลาเรีย (p<0.001) นอกจากนี้ การศึกษาเชิงสำรวจปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการป่วยด้วยโรคมาลาเรีย ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 57 ปีขึ้นไป (OR : 0.13, 95%CI : 0.02 - 0.73, p-value : 0.021) การศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา (OR : 0.15, 95%CI : 0.03, 0.85, p-value : 0.032) ผู้ที่ประกอบอาชีพหาของป่า,ล่าสัตว์ และผู้ที่ประกอบอาชีพรับจ้าง (OR : 17.66, 95%CI : 3.1 - 100.49, p-value : 0.001) และ (OR : 5.12, 95%CI : 1.27 - 20.59, p-value : 0.021) นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่มีสมาชิกในครัวเรือนมีประวัติติดเชื้อมาลาเรียยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรียมากว่ากลุ่มอื่น (OR : 18.03, 95%CI : 6.2 - 52.47, p-value < 0.001) ต่อจากนั้นได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการติดเชื้อมาลาเรียมากกว่า 1 ครั้งต่อปี ซึ่งจากการศึกษา พบว่า ผู้ที่มีสมาชิกในครัวเรือนมีประวัติป่วยด้วยโรคมาลาเรียจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคมาลาเรียมากกว่า 1 ครั้งต่อปี (OR : 5.71, 95%CI : 1.71, 19.1, p-value: 0.005) การศึกษาในระยะที่ 2 ผลที่ได้จากการพัฒนารูปแบบการป้องกันผู้ป่วยมาลาเรียกลับเป็นซ้ำเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน กิจกรรมที่เกิดจากกระบวนการพัฒนาในครั้งนี้ ประกอบด้วย การส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคมาลาเรียและการกลับเป็นซ้ำของโรคมาลาเรีย ประยุกต์ใช้ Application Line เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรอบรู้ทางด้านสุขภาพแก่ประชาชนและผู้ป่วยโรคมาลาเรีย กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการกับโรคมาลาเรียกลับเป็นซ้ำในชุมชน, การสร้างศูนย์ข้อมูลโรคมาลาเรียในชุมชน และอบรม Caregiver โรคมาลาเรีย ซึ่งภายหลังการทดลอง ระดับคะแนนความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนต่อการป้องกันโรคมาลาเรียเฉลี่ยของผู้ร่วมวิจัย มีระดับคะแนนที่สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และเมื่อพิจารณาระหว่างพื้นที่ทดลองและพื้นที่เปรียบเทียบ พบว่า พื้นที่ทดลองมีคะแนนสูงกว่าพื้นที่เปรียบเทียบ นอกจากนี้ ภายหลังการทดลอง ยังพบว่า พื้นที่ทดลองมีอัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียและร้อยละของผู้ป่วยมาลาเรียที่ป่วยมากกว่า 1 ครั้งต่อปี ลดลงกว่าก่อนการทดลอง เช่นเดียวกัน เปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ทดลองและพื้นที่เปรียบเทียบ พบว่า พื้นที่ทดลองมีอัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียและร้อยละของผู้ป่วยมาลาเรียที่ป่วยมากกว่า 1 ครั้งต่อปี น้อยกว่าพื้นที่เปรียบเทียบ
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1801
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011562002.pdf7.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.