Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1802
Title: The Effects of Physical Activity Promotion Program by Applying Self-Efficacy Theory Among Elderly Person in Ban Nong Na Sang Health Promotion Hospital Nuea Mueang Subdistrict, Mueang District, Roi Et Province
ผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองสำหรับผู้สูงอายุ ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองนาสร้าง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
Authors: Pannapa Raikang
พรรณนภา ไร่กลาง
Ranee Wongkongdech
ราณี วงศ์คงเดช
Mahasarakham University. The Faculty of Medicine
Keywords: ผู้สูงอายุ
กิจกรรมทางกาย
การรับรู้ความสามารถของตนเอง
โปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
Elderly person
physical activity
self-efficacy
physical activity program
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research is a quasi-experimental research. The objective of this study was to study the effect of a physical activity promotion program by applying the self-efficacy theory. in the elderly living in the area of ​​Ban Nong Na Sang Subdistrict Health Promoting Hospital and Ban Nong Chik Sub-district Health Promoting Hospital Roi Et Province. The age of participants was 60-69 years old, so 70 of learn were divided. The 35 experimental group was intervention by the program for 8 weeks. The program consisted of: educating building self-efficacy building expectations on results and physical activity analyze personal data using descriptive statistics Comparing the difference in program outcome scores within the group using dependent t-test and between groups using independent t-test, the level of significance was set at 0.05. The results showed that: both groups had a higher mass body index greater than the accept normal and a waist circumference of 72.9 percent of the women higher than the accept normal, without any underlying disease. In the group, there were predominantly comorbidities, diabetes and high blood disorder. Before received the intervention, it was found that the experimental group had moderate of knowledge score, the self-efficacy score at a good level, the expectation of outcome had good level, the physical activity level was low and the physical fitness level was normal. when comparing the new score between the experimental and non-experimental group and pre and post intervention  found that: the knowledge scores, self awareness expectation of outcome, physical activity and physical fitness higher than before the intervention and higher than the comparison group statistically significant (P value < 0.05) likely, this intervention equal expectations in outcomes, increase physical activity and affected physical performance. Therefore, It should be applyed for the elderly who have health facilities that are conducive to promoting such activities.
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ที่มีการวัดผลก่อนและหลังการทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในผู้สูงอายุที่อาศัยในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองนาสร้าง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองจิก จังหวัดร้อยเอ็ด อายุระหว่าง 60-69 ปีที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง  ที่ได้รับกิจกรรมตามโปรแกรม และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับกิจกรรมกลุ่มละ 35 คน  ดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์  โปรแกรมประกอบด้วย การให้ความรู้ การสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเอง การสร้างความคาดหวังต่อผลลัพธ์ และการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนผลการใช้โปรแกรมภายในกลุ่มใช้สถิติ dependent t-test และ ระหว่างกลุ่มใช้สถิติ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05   ผลการวิจัยพบว่า ทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยของค่า BMI เกินเกณฑ์ และมีเส้นรอบเอวในผู้หญิงสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 72.9 ไม่มีโรคประจำตัว ในกลุ่มมีโรคประจำตัวส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ก่อนทำการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเองในระดับดี ค่าเฉลี่ยความคาดหวังต่อผลลัพธ์ในระดับดี ค่าเฉลี่ยกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ ค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายอยู่ในระดับปกติ เมื่อได้รับโปรแกรมพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ การมีกิจกรรมทางกาย และสมรรถภาพทางกาย มากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value<0.05) ยกเว้นความคาดหวังในผลลัพธ์ จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมนี้ สามารถเพิ่มกิจกรรมทางกายและส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายได้ จึงควรนำไปใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีสถานะสุขภาพที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมดังกล่าว 
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1802
Appears in Collections:The Faculty of Medicine

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63011551001.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.