Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1804
Title: A Study on Appropriate Ratio of Organic Waste and Grease Waste for Soil Improvement Materials: A Case Study in Rong Kham Municipality, Rong Kham District, Kalasin Province
การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของขยะอินทรีย์และกากไขมันสำหรับผลิตวัสดุปรับปรุงดิน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 
Authors: Thantip Jongphasom
ธารทิพย์ จงผสม
Sunantha Laowansiri
สุนันทา เลาวัณย์ศิริ
Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies
Keywords: กากไขมัน
ขยะอินทรีย์
เทศบาลตำบลร่องคำ
วัสดุปรับปรุงดิน
อัตราส่วนที่เหมาะสม
grease waste
organic waste
Rong Kham municipality
soil improvement materials
appropriate ratios
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research has an objective to study the current conditions of solid waste and wastewater management of Rong Kham municipality, and study the appropriate ratios of organic waste and grease waste to produce soil improvement materials, a case study in Rong Kham municipality, Rong Kham district, Kalasin province.  The study on appropriate ratio of organic waste and grease waste for soil improvement materials. The ratios studied consisted of organic waste (fresh garbage to dry leaf debris at 1:1 by weight) to grease waste were 0:100, 20:80, 40:60, 50:50, 60:40, 80:20, and 100:0 respectively, by weight fermented in 90 days. The result of this research was found that the solid waste and wastewater management was under the responsibility of Cleaning Unit under Public Health and Environment Division, with an area in responsibility 21.271 kilometer squares, total residents 6,086 heads, 3 waste trucks, one being a rear-compression whereas the two being open-side. The daily volume of the solid waste incurred in an average 4,120 kilograms/day, and average solid waste rate at 0.68 kilogram/person/day.  The average bulk density of the solid waste was 0.15 kilogram/liter, most elements composing plastic and foam accounting 26.612%, followed by fabric 16.680%, grease waste in grease traps indicating grease waste rate incurred 0.0012 kg/person/day. The result of the appropriate ratio of organic waste to grease waste for producing soil improvement materials was found every ratio studied gaining pH values ranging 5.8-11.3, electrical conductivity values 10.45-13.03 dS/m, the highest total nitrogen incurred in the ratio of organic waste to grease waste was 20:80 accounting 0.00051%, followed by the ratio of organic waste to grease waste was 40:60 accounting 0.00045%.  The available phosphorus for soil improvement materials found that the ratio of organic waste to grease waste was 60:40 as highest available phosphorus accounting 0.03394% followed by the ratio of organic waste to grease waste was 100:0 accounting 0.03056%. The highest available potassium incurred in the ratio of organic waste to grease waste were 0:100, 60:40 and 80:20 accounting 0.02059%, 0.01975% and 0.01804%, respectively. The highest organic matter incurred in the ratio of organic waste to grease waste was 40:60 accounting 2.1388% followed by the ratio of organic waste to grease waste was 60:40 accounting 1.9777%. The organic carbon of soil improvement materials found that the ratio of organic waste to grease waste was 40:60 as highest organic carbon accounting 1.2406% followed by the ratio of organic waste to grease waste was 60:40 accounting 1.1472%. This research studied soil improvement materials at the ratios of organic waste to grease waste with every ratio below the organic fertilizer standard of Department of Agriculture (2005), but the experiment yielded macronutrients in the soil improvement material at these ratios enough be used as soil improvement material, as to help decrease chemicals use in agriculture and also encourage communities in Rong Kam municipality to produce soil improvement material from the waste and utilize it in daily life in the future
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการมูลฝอยและการจัดการน้ำเสียของเทศบาลตำบลร่องคำ และศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของขยะอินทรีย์และกากไขมัน สำหรับผลิตวัสดุปรับปรุงดิน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ การศึกษาอัตราส่วนเหมาะสมของขยะอินทรีย์และกากไขมันในการผลิตวัสดุปรับปรุงดิน อัตราส่วนของมูลฝอยอินทรีย์ (อัตราส่วนขยะสดต่อเศษใบไม้แห้งที่ 1:1 โดยน้ำหนัก)  ต่อกากไขมัน ที่อัตราส่วน เท่ากับ 0:100,  20:80,  40:60,  50:50,  60:40, 80:20 และ 100:0 ตามลำดับ โดยน้ำหนัก ระยะเวลาในการหมักวัสดุปรับปรุงดิน 90 วัน ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการมูลฝอยและการจัดการน้ำเสียของเทศบาลตำบลร่องคำ พบว่าการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลร่องคำอยู่ในความรับผิดชอบของงานรักษาความสะอาด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 21.271 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 6,089 คน มีรถเก็บขนมูลฝอยทั้งหมด 3 คัน เป็นรถบรรทุกขยะแบบอัดท้าย จำนวน 1 คัน และรถบรรทุกขยะแบบเปิดข้างเทท้าย จำนวน 2 คัน ปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยเฉลี่ยวันละ 4,120 กิโลกรัมต่อวัน และอัตราการเกิดมูลฝอยเฉลี่ย 0.68 กิโลกรัม/คน/วัน ความหนาแน่นของมูลฝอยปกติเฉลี่ย 0.15 กิโลกรัม/ลิตร องค์ประกอบของมูลฝอยที่เกิดส่วนใหญ่เป็นพลาสติกและโฟม ร้อยละ 26.612 รองลงมาเป็นผ้า ร้อยละ 16.680  กากไขมันในถังดักไขมัน พบว่าอัตราการผลิตกากไขมัน เท่ากับ 0.0012 กิโลกรัม/คน/วัน ผลการศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของขยะอินทรีย์ต่อกากไขมันสำหรับผลิตวัสดุปรับปรุงดิน พบว่าอัตราส่วนวัสดุปรับปรุงดินของขยะอินทรีย์ต่อกากไขมันทุกอัตราส่วน มีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 5.8 - 11.3 และมีค่าการค่าการนำไฟฟ้า อยู่ในช่วง 10.45 - 13.03 เดซิซีเมน/เมตร ไนโตรเจนทั้งหมดมากที่สุด คืออัตราส่วนขยะอินทรีย์ต่อกากไขมันที่ 20:80 มีค่าร้อยละไนโตรเจนทั้งหมด เท่ากับ 0.00051 รองลงมาคืออัตราส่วนขยะอินทรีย์ต่อกากไขมัน 40:60 มีค่าร้อยละไนโตรเจนทั้งหมด เท่ากับ 0.00045 ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชของวัสดุปรับปรุงดิน พบว่าที่อัตราส่วนขยะอินทรีย์ต่อกากไขมัน 60:40 มีค่าร้อยละฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด เท่ากับ 0.03394 รองลงมาคืออัตราส่วนขยะอินทรีย์ต่อกากไขมัน 100:0 มีค่าร้อยละฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเท่ากับ 0.03056 โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด ที่อัตราส่วนขยะอินทรีย์ต่อกากไขมัน 0:100, 60:40 และ 80:20 มีค่าร้อยละโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เท่ากับ 0.02059, 0.01975 และ 0.01804 ตามลำดับ อินทรีย์วัตถุสูงสุดของวัสดุปรับปรุงดินที่อัตราส่วนขยะอินทรีย์ต่อกากไขมัน 40:60 มีค่าร้อยละอินทรีย์วัตถุเท่ากับ 2.1388 รองลงมาคือที่อัตราส่วน 60:40 มีค่าร้อยละอินทรีย์วัตถุ เท่ากับ 1.9777 อินทรีย์คาร์บอนของวัสดุปรับปรุงดินที่อัตราส่วนขยะอินทรีย์ต่อกากไขมัน มีค่าอินทรีย์คาร์บอนมากที่สุด ที่อัตราส่วน 40:60 มีค่าร้อยละอินทรีย์คาร์บอนเท่ากับ 1.2406 รองลงมา คือที่อัตราส่วนอินทรีย์ต่อกากไขมัน 60:40 มีค่าร้อยละอินทรีย์คาร์บอนเท่ากับ 1.1472 โดยงานวิจัยนี้ศึกษาการผลิตวัสดุปรับปรุงดินที่อัตราส่วนขยะอินทรีย์ต่อกากไขมันเกือบทุกอัตราส่วนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร (2548) แต่ผลการทดลองธาตุอาหารหลักของวัสดุปรับปรุงดินที่อัตราส่วนขยะอินทรีย์ต่อกากไขมันก็สามารถเป็นวัสดุปรับปรุงดินได้ เพื่อเป็นการลดใช้สารเคมีในการทำเกษตรและเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลร่องคำ ได้ผลิตวัสดุปรับปรุงดินใช้ในชีวิตประจำวันได้ในอนาคต
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1804
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011785002.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.