Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1810
Title: Guidelines for development Sin E - san Klong Yao Preferment Style
แนวทางการพัฒนารูปแบบการแสดงวงกลองยาวศิลป์อีสาน
Authors: Rukbancha Phimprajun
รักบรรชา พิมพระจันทร์
Thanaporn Bhengsri
ธนภร เพ่งศรี
Mahasarakham University. College of Music
Keywords: แนวทางการพัฒนา
รูปแบบการแสดง
วงกลองยาว
ศิลป์อีสาน
development guidelines
show style
long drum
Sin E - san
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to 1) the style and development of Isaan LongItudin drum band 2) The approach to developing and creating the long-art drum band performance style, with preliminary studies based on research. And collect academic papers, textbooks, reports. Concepts, theories and articles from journals related to long drum circles This study, the point of the study, is to the context of the Isaan Long Drum Circle, The College of Music. In addition, the researchers conducted studies based on field data collection from knowledge groups, practitioners, and individual groups. The results showed that 1. The style and development of Isaan Long Drum Band In terms of form, it consists of: Musical instruments used in Isaan art bands Long drum calibration How to play the desired sound Putting a bran drummer on Ramana A ceremony to pay respects to teachers. Dress Code Isaan Art Long Drumming Patterns and Techniques In terms of the development of the Long Drum Band, Isaan consists of 1) LongWapi Drum Festival, winners 2011, 2014, 2015, 2020, 2021, and runner-up prizes 2009, 2010, 2012, 2013, 2017 2). Bun Bung Fai Phutoey Award Winner 2052 2018 3) Promoting Culture Ministry of Culture Winner 2013 4) Institute of Physical Education Maha Sarakham Campus Winners 2007 2. Guidelines for developing and creating a Klong Yao band performance style The substance is divided into 2 forms: 1) Long drum band display format. Ancient Drum Beats Before the isaan long drum show, The band's opening song  New Sud Sanan of Autissa Molam band and Lai Mak Gab Gab Lam Plearn. Tempo of 2/4 mixed with tempo of 4/4 and followed by an ancient drum rhythm based on the rhythm of an existing Isaan art long drum. 2) Klong Yao band performance style, applied rhythm consists of Lai Soy TangUbon,Tang Wai and Sing , with a staggering pattern of master Tongsai Tubtanon, and applied in combination with a Lai Wai and Keyboard Lamsing use structure of Lai Lam Plearn. The bass keyboard uses scale Cm and use Rod Ta Lo song of Sanuk SingMat and Jod Mai Samsong version of The Kanongna Kalasin, which is a melody interspersed with Indian dance music. Tempo of 2/4 and 4/4. Finally, acrobatics show is Buatoom Buaban and three layer. which is applied from the continuation of the Kenyan people.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รูปแบบและพัฒนาการของวงกลองยาวศิลป์อีสาน 2)แนวทางการพัฒนาและสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงวงกลองยาวศิลป์ โดยมีการศึกษาเบื้องต้น จากการศึกษาค้นคว้า และรวบรวมเอกสารทางวิชาการตำรารายงาน แนวความคิด ทฤษฎี และบทความจากวารสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงกลองยาว การศึกษาครั้งนี้ประเด็นของการศึกษา คือ เพื่อบริบทของวงกลองยาวศิลป์อีสานวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจากการเก็บข้อมูลภาคสนาม จากกลุ่มผู้รู้  กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มบุคคลทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบและพัฒนาการของวงกลองยาวศิลป์อีสาน ในด้านรูปแบบประกอบด้วย เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงศิลป์อีสาน การเทียบเสียงกลองยาว วิธีการบรรเลงให้เกิดเสียงที่ต้องการ การวางมือตีกลองรำมะนา พิธีไหว้ครู การแต่งกาย รูปแบบและเทคนิคการตีกลองยาวศิลป์อีสาน ในด้านการพัฒนาของวงกลองยาวศิลป์อีสานประกอบด้วย 1) งานกลองยาววาปี รางวัลชนะเลิศ 2554, 2557, 2558, 2563, 2564  และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ2552, 2553, 2555, 2556, 2560  2) งานบุญบั้งไฟพุเตย รางวัลชนะเลิศ 2595 2561  3) ส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม รางวัลชนะเลิศ 2556  4) สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตมหาสารคาม รางวัลชนะเลิศ 2550 2. แนวทางการพัฒนาและสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงวงกลองยาวศิลป์ สารมารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการแสดงวงกลองยาว จังหวะกลองโบราณ โดยก่อนเข้ากางแสดงกลองยาวศิลป์อีสาน เพลงเปิดวงได้นำเพลงนิวสุดสะแนน ของวงออทิตสาหมอลำเเบนด์และลายหมากกั๊บแก๊บลำเพลิน ในอัตราจังหวะ 2/4 ผสม อัตราจังหวะ4/4 และต่อด้วยจังหวะกลองโบราณโดยยึดจังหวะของกลองยาวศิลป์อีสานที่มีอยู่แล้ว มาเรียงรูปแบบจังหวะใหม่ 2) รูปแบบการแสดงวงกลองยาว จังหวะประยุกต์ ประกอบด้วย ลายสร้อยทางอุบลออกตังหวายออกซิ่ง โดยนำลายสุดสะแนนทางอาจารย์ทองใส ทับถนน มาประยุกต์ผสมกับลายตังหวาย ต่อด้วยคีย์บอร์ดลำซิ่ง โดยยึดโครงสร้างลายลำเพลินในการบรรเลง คีย์บอร์ด เบส จะใช้บันไดเสียง Cm และได้นำเพลงรถตาโล่ของสนุก สิงห์มาตร และเพลงจดหมายสามซอง ฉบับคะนองนากาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นทำนองเพลงสลับลำมาประยุกต์เข้ากับเพลงนาฏศิลป์อินเดีย ฉบับจ๊ะนงผณี จะใช้อัตราจังหวะ 2/4 อัตราจังหวะ 4/4 ในการบรรเลงแล้วนักดนตรีจะแปลแถวเป็นรูปตัววีพร้อมกับกลองยาวและฉาบ สามคู่หน้า จะเป็นการตบประผาบขึ้นต่อตัวสองชั้น สุดท้ายเป็นการต่อตัวแบบบัวตูมบัวบานและต่อตัวแบบสามชั้น ชึ่งประยุกค์มาจากการต่อตัวของชาวเคนย่า
Description: Master of Music (M.M.)
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1810
Appears in Collections:College of Music

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61012080008.pdf15.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.