Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1814
Title: Thewa PhupraAngkan : The Creative Contemporary Dance from Battlements'Wat Khao Pra Angkhan, Buri ram Province
เทวะ ภูพระอังคาร : การสร้างสรรค์นาฏกรรมร่วมสมัยจากใบเสมา วัดเขาพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์
Authors: Tanyanan Naowarat
ธัญญนันท์ เนาวรัตน์
Pattamawadee Chansuwan
ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: เทวะ
การสร้างสรรค์
นาฏกรรมร่วมสมัย
ใบเสมา
วัดเขาพระอังคาร
Thewa
Creative
Battlements
Wat Khao Pra Angkhan
Contemporary Dance
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:      This research aimed to study about Sema art at Khao Phra Angkhan Temple in Buriram, and to create contemporary art performances from divine person in Sema at Khao Angkhan Temple in Buriram. This is a qualitative study based on research and field data from a group of 30 people using a non-probability sampling method. Six enlightened persons, six practitioners, and twenty general people were the sample groups. The in-depth interview method, questionaries, non-participant observation, structured and unstructured interview forms were used as instruments in this research. The results revealed that historical evidence of Sema art at Khao Phra Angkhan Temple in Buriram was beginning to be devalued and useless when isolated from its cultural context, indicating that this art cannot live on its own without a relationship to the community. As cultural overlap was discovered during transmission in this area, there was a varied cultural art history, leading in the establishment of contemporary art performances with identity and integrity, which can reflect the community's identity. Sema's contemporary art performances at Khao Phra Angkhan Temple in Buriram discovered that "art performances" may solidify the area's importance in the community as a holy and memory landmark that can leading to increased tourism. Along with continuing to grow the local economy and recognizing the importance of the community's resources, it represents wisdom, conceptual ideas, and creativeness and also one of the tourisms promoting features.
         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและศิลปกรรมบนใบเสมา วัดเขาพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อสร้างสรรค์นาฏกรรมร่วมสมัยจากภาพทิพยบุคคลใน ใบเสมาที่วัดเขาพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์  งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยและข้อมูลภาคสนาม จากประชากรจำนวน 30 คน โดยใช้วิธีสุ่มเลือกแบบไม่เจาะจง กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้รู้ จำนวน 6 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 6 คน และกลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสำรวจ  แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม  แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง         ผลการศึกษา พบว่า ศิลปกรรมที่พบในใบเสมา วัดเขาพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เริ่มถูกลดคุณค่าและหมดความหมาย เมื่อถูกถอดถอนจากบริบททางวัฒนธรรม ซึ่งศิลปะนี้ไม่อาจดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยปราศจากการยึดโยงจากชุมชน รวมทั้งการถ่ายทอดส่งต่อกันมา บนพื้นที่แห่งนี้พบการทับซ้อนทางวัฒนธรรมก่อให้เกิดประวัติศาสตร์ศิลป์ ส่งผลให้เกิดทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย นำมาสู่การสร้างสรรค์นาฏกรรมร่วมสมัยให้มีอัตลักษณ์และมีความสมบูรณ์ โดยสามารถสะท้อนความเป็นตัวตนของชุมชนนั้นได้ การสร้างสรรค์นาฏกรรมร่วมสมัยจากใบเสมา วัดเขาพระอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า “นาฏกรรม” สามารถยึดโยงความสำคัญของพื้นที่ในชุมชนให้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพื้นที่แห่งความทรงจำสามารถรองรับการท่องเที่ยวได้อย่างมีคุณค่า ควบคู่กับไปการต่อยอดเศรษฐกิจในชุมชนและเห็นคุณค่าของทรัพยากรชุมชนนั้น เป็นจุดขายอย่างหนึ่งทางด้านการท่องเที่ยวที่สะท้อนองค์ความรู้ รูปแบบแนวคิด และกระบวนการสร้างสรรค์
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1814
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010683003.pdf19.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.