Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1820
Title: Hypoglycemic and Estrogenic activity of Dioscorea alata L. tuber extract in ovariectomized rats with diabetic type II induction
ฤทธิ์ต้านเบาหวานและฤทธิ์เอสโตรเจนิกของสารสกัดหัวมันเสา Dioscorea alata L. ในหนูตัดรังไข่ที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2
Authors: Chanapon Khunwong
ชนาภร คุณวงศ์
Wilawan Promprom
วิลาวัณย์ พร้อมพรม
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: มันเสา, ฤทธิ์ต้านเบาหวาน, ฤทธิ์เอสโตรเจนิก, เบาหวานชนิดที่ 2
Dioscorea alata Hypoglycemia Estrogenic Type 2 Diabetes
Issue Date:  29
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research was hypoglycemic activity, estrogenic activity and phytochemisty study and biological activity of tuber extract of Dioscorea alata L. The result from hypoglycemic activity showed that the ovariectomized rats with diabetic type II induction fed by 1,000 mg/Kg bw. of plant tuber extract had increase body weight and insulin level, but the blood glucose was decreased. Estrogenic activity showed that had a relative of uterus weight, vagina and mammary gland that were increased. From histological studies of pancrease and uterus showed that increase of Islets of Langerhans, and thickness of endometrium and myometrium.  The result from phytochemical study showed that the total phenolic content was shown at 310.30 mgGAE.g-1 /g and total flovonoid content was shown at 323.05 mgQE.g-1 /g the plant extract and total anthocyanin content was shown at 10.26 µg / ml.  Free radical scavenging activity of extract was revealed as IC50 at 4.90 µg / ml for DPPH assay. The reducing power of extract as FRAP assay value was and 61.27 mmol FeSO4 /g. The α-amylase and α-glucosidase with IC50 of D. alata . tuber extract was 1,251.44 and 401.52 µg / ml respectively. These results suggest that D. alata tuber extract has a potential which might used as a functional food and nutraceutical for diabetic type II therapy.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวาน ฤทธิ์การเป็นเอสโตรเจนิก การศึกษาสารพฤกษเคมี (ฟีนอลิก และแอนโทไซยานิน) และฤทธิ์ทางชีวภาพ ( ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส และการยับยั้เอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส) ของสารสกัดหัวมันเสา (Dioscorea alata L.) ผลการศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวาน พบว่าหนูตัดรังไข่ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับสารสกัดหัวมันเสาขนาด 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว มีน้ำหนักตัว ระดับอินซูลินเพิ่มขึ้น และระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ส่วนผลการศึกษาฤทธิ์การเป็นเอสโตรเจนิก พบว่าสารสกัดจากหัวมันเสาทำให้มีน้ำหนักสัมพัทธ์มดลูก ช่องคลอด เต้านม เพิ่มขึ้น  ด้านการศึกษากายวิภาคของเนื้อเยื่อตับอ่อนและมดลูกพบว่าทำให้มีขนาดของไอเลสออฟลองเกอฮานส์เพิ่มขึ้น และมีความหนาของเนื้อเยื่อชั้น endometrium และ myometrium นอกจากนี้ผลการทดสอบสารพฤกษเคมี พบว่าสารสกัดหัวมันเสามีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมคือ 310.30 มิลลิกรัมของแกลลิกต่อกรัมสารสกัดหัวมันเสา ปริมาณฟลาโวนอดย์รวมคือ 323.05 มิลลิกรัมของเคอซิตินต่อกรัมสารสกัดหัวมันเสา และปริมาณสารประกอบแอนโทไซยานินคือ 10.26 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ความสามารถในการจับอนุมูลอิสระพบค่า IC50 เท่ากับ 4.90 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรเมื่อทดสอบด้วย DPPH assay ความสามารถในการให้อิเล็กตรอนเมื่อทดสอบด้วย FRAP  assay มีค่าเท่ากับ 61.27 มิลลิโมลเฟอรัสซัลเฟต สารสกัดหัวมันเสาสามารถยับยั้งเอนไซม์อะไมเลสและเอนไซม์แอฟฟากลูโคซิเดสได้ดี (IC50 เท่ากับ1,251.44 และ 401.52 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ) จากผลที่ได้ชี้ให้เห็นว่าสารสกัดจากหัวมันเสามีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนเภสัชในการบำบัดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ 
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1820
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010256001.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.