Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1841
Title: The Development of Learning Achievement and Analytical Reading using Six Thinking Hats on Thai Language for Prathomsueksa 4
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยการจัด การเรียนรู้แบบหมวกหกใบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Authors: Janejira Yolpol
เจนจิรา ยลพล
Sakorn Atthajakara
สาคร อัฒจักร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การอ่านเชิงวิเคราะห์
การจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ
The Development of Learning Achievement
Analytical Reading
Six Thinking Hats
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Reading is a necessary condition for human life and prosperity, especially analytical reading. This will help cultivate readers to use their minds, wisdom and perceptions to help solve problems in decision-making. In order to adapt to the changes. the researchers organized a Thai language learning activity to development of Learning achievement and analytical reading using six thinking hats on Thai Language for Prathomsueksa 4. This study aimed to 1) to study the effectiveness of learning management. Thai Language Department of Prathomsueksa 4 students using six thinking hats with a required efficiency of 80.80 2) to compare academic achievement of Prathomsueksa 4 students who have been dealt with six thinking hats learning between pre-test and post-test 3) to compare thai analytical readings of Prathomsueksa 4 students using six thinking hats arrangement pre-test and post-test 4) to study reading motivation of Prathomsueksa 4 students who have been dealt with six thinking hats. The samples was selected from 43 of Prathomsueksa 4/4 students in the second semester of the academic year of 2021, Bansiyaeksomdet School. Kalasin Primary Educational Service Area Office 3. Which were selected by using the cluster random sampling technique. The instruments used in the study were the Analytical Reading Learning Management Plan based on the six thinking hats, Thai Language Department. The instruments used in this study were 15 lesson plans. In each plan was spent 1 hour. total 15 hours. the test measures the academic achievement of Prathomsueksa 4 students as multiple choices 30–items, the discriminathing power (B) ranging at 0.23 to 0.81 difficulties (P) ranging at 0.23 to 0.91 and the reliability (r) was at 0.85, multiple choices 30–items of analytical reading ability test of Prathomsueksa 4 students, the discriminathing power (B) ranging at 0.21 to 0.91 difficulties (P) ranging at 0.21 to 0.91 and the reliability (r) was at 0.87. the reading motivation measure of Prathomsueksa 4 students. A five-level scale of 30-items with the discriminating ranging (B) at 0.23 to 0.81, and the reliability (r) was at 0.83, Statistical analysis data were mean, percentage, standard deviation and t–test (Dependent Samples) was employed for testing hypothesis. The results of the study were as follows : 1. The plan for Thai learning group learning management of Prathomsueksa 4 students who using six thinking hats arrangements according to the 80/80 criteria had efficiencies of 87.00/83.09 respectively. which is above the required threshold. 2. Comparison of academic achievements of Prathomsueksa 4 students who were dealt with six thinking hats post-test achievement was found to be statistically significantly higher than pre-test at .01 level of significance. 3. Comparison of Thai analytical readings of Prathomsueksa 4 students with six thinking hats post-test analytical reading results were found to be statistically significantly higher than pre-test at .05 level of significance. 4. Reading motivation study results of Prathomsueksa 4 students who were managed to learn in six thinking hats It found that students who were managed to learn in six thinking hats were motivated to read through the criteria of 80 percent or more.
การอ่านเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตและความเจริญในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านเชิงวิเคราะห์  ซึ่งจะช่วยฝึกให้ผู้อ่านได้ใช้ความคิด สติปัญญา และรอบรู้ต่อสิ่งที่ได้อ่าน มีความรอบคอบต่อการตัดสินใจ แก้ปัญหา ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ผู้วิจัยจึงได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อเปรียบเทียบการอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 จำนวน 43 คน ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านสี่แยกสมเด็จ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์ตามรูปแบบหมวกหกใบ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง ใช้เวลา 15 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.84 ค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.91 และมีค่าความเชื่อมั่น (r) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.87 ค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.91 และมีค่าความเชื่อมั่น (r) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 แบบวัดแรงจูงใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ใช้มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ อำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.91 และมีค่าความเชื่อมั่น (r) ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สูตร t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ ตามเกณฑ์ 80/80 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.00/83.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การอ่านเชิงวิเคราะห์ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. แรงจูงใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1841
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010585503.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.