Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1849
Title: Learning Activity based Argument-Driven Inquiry to Enhance the Scientific Explanation Ability and Learning Achievement on Acid-Base of Mathayomsuksa 5 Students
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีโต้แย้งที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องกรด – เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Rattanawalee Saranburut
รัตนวลี สราญบุรุษ
Kanyarat Cojorn
กัญญารัตน์ โคจร
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: สืบเสาะร่วมกับกลวิธีโต้แย้ง
ความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Argument-Driven Inquiry
Scientific explanation ability
Learning achievement
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were 1) to develop lesson plans based Argument-Driven Inquiry that affect scientific explanations with a required efficiency of 70/70, 2) to compare scientific explanations ability of mathayomsuksa 5 students using Argument-Driven Inquiry with 70 percent criteria, and 3) to compare learning achievement on the topic of acid-base for mathayomsuksa 5 students through using Argument-Driven Inquiry with 70 percent criteria. The samples used in this study were 34 students of Mathayomsuksa 5 in the 2nd semester of 2021 academic year at Yangtaladwittayakarn School. The research instruments included 1) the lesson plans in topic of acid-base, 2) the scientific explanation ability test and 3) the achievement test. Statistics used in this study consist of percentage, mean, standard deviation and one sample t-test. The results were as follows: 1) The lesson plans development based Argument-Driven Inquiry that affect scientific explanations of the Mathayomsuksa 5 students had an efficiency (E1/E2) of 78.95/79.85, 2) Students who have been learning by using Argument-Driven Inquiry having higher scientific explanation ability than 70 percent criteria with statistically significant at the .05 level, 3) Students who have been learning by using Argument-Driven Inquiry having higher learning achievement than 70 percent criteria with statistically significant at the .05 level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีโต้แย้งที่มีผลต่อการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ที่ได้รับการจัดรูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีโต้แย้งกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียน เรื่อง กรด-เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีโต้แย้งกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบส 2) แบบทดสอบความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ และ3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน One sample t-test ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ผลการพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีโต้แย้งที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพกิจกรรม (E1/E2) = 78.95/79.85 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีโต้แย้ง มีความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีโต้แย้ง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1849
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010558028.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.